วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สรุปงานวิจัย:ศึกษาความต้องการและความพึงพอใจต่อการมาใช้บริการคลินิกกาญจนาทันตแพทย์ อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู

การวิจัยเรื่องการศึกษาความต้องการและความพึงพอใจต่อการมาใช้บริการ คลินิกกาญจนาทันตแพทย์ อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู การวิจัยครั้งนี้ ใช้วิธีสุ่มเลือกประชาชน จำนวนประชากรในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ทั้งหมด 180,092 คน โดยสุ่มเลือกประชากร ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ในการวิจัยครั้งนี้ กับประชากรทุกเพศทุกวัย

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาความพึงพอใจ และ ความต้องการของผู้มาใช้บริการ คลินิกกาญจนาทันตแพทย์ อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้มาใช้บริการ ภายในอำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู
3. เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนบริการ หรือดำเนินโครงการสุขภาพช่องปาก ทั้งระยะสั้นและระยะยาว











ในการวิจัยเรื่อง ความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการ คลินิกกาญจนาทันตแพทย์ อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการเชิงสำรวจ ( Survey Research ) โดยดำเนินการวิจัยตามลำดับขั้น
1. การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ใช้วิธีสุ่มเลือกประชาชน จำนวนประชากรใน เขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ทั้งหมด 180,092 คน
โดยสุ่มเลือกประชาชนโดยง่าย คือ
1.1 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีเปรียบเทียบจากตารางสำเร็จของ เครอซีและเมอร์แกนเมื่อจำนวนประชากร เท่ากับ 180,092 คน จำนวนตัวอย่างควรจะเป็น จำนวนไม่ต่ำกว่า 384 คน ( อ้างอิงจาก เพ็ญแข แสงแก้ว, 2541:60-61 )
1.2 พิจารณากลุ่มประชากรในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู เพื่อให้การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างมีความสมดุลและสอดคล้องกับการกำหนดกลุ่มตัวอย่างของเครอซีและเมอร์แกน จึงใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ในการวิจัยครั้งนี้
1.3 ทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายกับประชากร ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู กับประชากรทุกวัย
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม เป็นแบบชนิดตรวจรายการมาตรปรมาณค่า และแบบปลายเปิด โดยทั้งหมดประกอบด้วย 3 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป มีจำนวน 5 ข้อ
ตอนที่ 2 ความต้องการของผู้มาใช้ทันตกรรมเป็นอย่างไร
ตอนที่ 3 ความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการคลินิกกาญจนาทันตแพทย์ อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู แบ่งออกได้ 5 ด้าน ดังนี้
1. ด้านคุณภาพการรักษา
2. ด้านการให้บริการคำแนะนำ
3. ด้านเวลา
4. ด้านราคาและอุปกรณ์ในการรักษา
5. ด้านสถานที่
การจัดทำข้อมูล กำหนด ( Code ) ลงในช่องท้ายข้อความคำถามโดยกำหนดเป็นค่าน้ำหนักในแต่ละระดับคำตอบในส่วนข้อคำถามที่เป็นแบบประมาณค่า โดยมีเกณฑ์ดังนี้
พอใจมากที่สุด มีค่าเท่ากับ 5
พอใจมาก มีค่าเท่ากับ 4
พอใจปานกลาง มีค่าเท่ากับ 3
พอใจน้อย มีค่าเท่ากับ 2
ไม่พอใจอย่างมาก มีค่าเท่ากับ 1
3. วิธีการสร้างเครื่องมือในการวิจัย
การสร้างเครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1. ศึกษาแนวคิด ทฤษีและหลักการจากเอกสารงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับความคิดเห็นของนักเรียน นักศึกษา ข้าราชการ และประชาชนทั่วไป ในเขตอำเภอเมือง และใกล้เคียงจังหวัดหนองบัวลำภู ที่มีความพึงพอใจในบริการของคลินิกกาญจนาทันตแพทย์
2. กำหนดกกรอบ เนื้อหา ความคิด และขอบข่ายในการสร้างเครื่องมือ จัดเป็นโครงสร้างของเครื่องมือ เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุปรสงค์
3. สร้างเครื่อมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม 2 ตอน
4. นำแบบสอบถาม เสนอผู้เชี่ยวชาญ ตรวจแก้ไขความเหมาะสม ความตรงของเนื้อหา โครงสร้างสำนวนภาษาที่ใช้เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข
5. นำแบบสอบถมไปทดลองใช้กับนักเรียน นักศึกษา ข้าราชการ และประชาชนทั่วไป ในเขตอำเภอเมือง และใกล้เคียง จังหวัดหนองบัวลำภู
6. นำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงแก้ไข ด้านสำนวนที่ใช้เพื่อให้นักเรียน นักศึกษาได้เข้าใจยิ่งขึ้น
7. ปรับปรุงแก้ไขแบบสอบถาม เพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษาวิจัยต่อไป


4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้เกบรวบรวมข้อมูลโดยใช้ผู้ช่วยวิจัย จำนวน 2 ท่าน โดยผู้วิจัยควบบคุมการเก็บรวบรวมข้อมูลทุกขั้นตอน โดยนำแบบสอบถามให้กับนักเรียน นักศึกษา ข้าราช และประชาชนทั่วไป ในเขตอำเภอเมือง และใกล้เคียง จังหวัดหนองบัวลำภู ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างได้กรอกและรอรับในวันเดียวกัน รวมเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล 4 สัปดาห์ โดยผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน
5. การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ วิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปเพื่อหาค่าสถิติ ดังต่อไปนี้
1. ข้อมูลที่จากแบบสอบถามเกี่ยวกับ ข้อมูลส่วนตัวของนักเรียน นักศึกษา ข้าราชการ และประชาชนทั่วไป แบบตรวจสอบรายการ นำมาแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ
2. ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามความคิดเห็นของ นักเรียน นักศึกษา ข้าราชการ และประชาชนทั่วไปในเขตอำเภอเมือง และใกล้เคียง จังหวัดหนองบัวลำภู นำมาแจกแจงความถี่ และหาเฉลี่ยร้อยละ
3. ข้อมูลที่ด้จากแบบสอบถามความพึงพอใจในบริการ ของคลินิกกาญจนาทันตแพทย์ แบบประมาณค่า วิเคราะห์ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
4. ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม ความต้องการของลูกค้าที่ต้องการจากทางร้าน ที่มีลักษณะแบบปลายเปิด รวบรวมและสรุปคววามคิดเห็น
6. การแปลความหมายค่าเฉลี่ย
ผู้วิจัยตั้งเกณฑ์ในการแปลความหมายค่าเฉลี่ยของคะแนนความพึงพอใจในบริการของคลินิกกาญจนาทันตแพทย์ ระดับความพึงพอใจ ดังนี้
1. คะแนนเฉลี่ย 1.00 – 1.49 หมายถึง มีระดับความพึงพอใจน้อยมาก
2. คะแนนเฉลี่ย 1.50 – 2.49 หมายถึง มีระดับความพึงพอใจน้อย
3. คะแนนเฉลี่ย 2.50 -3.49 หมายถึง มีระดับความพึงพอใจปานกลาง
4. คะแนนเฉลี่ย 3.50 – 4.49 หมายถึง มีระดับความพึงพอใจมาก
5. คะแนนเฉลี่ย 4.50 – 5.00 หมายถึง มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด


7. สถิติในการประมาลผลการวิจัย
ใช้โปรแปรม SPSS For Window เป็นสถิติประเภทร้อยละ และ ค่าเฉลี่ย


























สรุปผลการวิจัย
คิดเป็น ร้อยละ 100 มีเพศหญิงมาใช้บริการมากกว่าเพศชาย อายุของผู้มาใช้บริการมากที่สุด คือ อายุระหว่าง 16 – 26 ปี ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ส่วนใหญ่มีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาท
ประชากรส่วนใหญ่ไม่เคยไปพบทันตแพทย์ในรอบปี ความต้องการในการรักษาส่วนใหญ่ คือ การอุดฟัน ส่วนใหญ่ไม่เคยใช้บริการคลินิกทันตกรรมเอกชนเพราะมีค่าใช้จ่ายที่สูงและไม่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ ปัจจัยที่ประชาชนใช้บริการคลินิกกาญจนาทันตแพทย์ มากที่สุด คือ มีค่าใช้จ่ายและราคาที่เหมาะสม มีผู้แนะนำให้มาใช้บริการ การปฏิบัติระหว่างทันตแพทย์กับผู้ใช้บริการมีการปฏิบัติเป็นอย่างดี สาเหตุที่ประชนไม่ได้ไปพบทันตแพทย์ คือ ไม่มีเวลา สิทธ์ในการใช้บัติเบิกค่ารักษาพยาบาล พบว่า มีสิทธิ์ในการเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ เพราะส่วนใหญ่เป็นครอบครัวราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการ คลินิกกาญจนาทันตแพทย์ สูงสุดเป็นอันดับ 1 คือ อุปกรณ์และเครื่องมือมีความสะอาด ทันสมัย น่าเชื่อถือ ความพึงพอใจรองลงมา คือ ทันตแพทย์มีความยิ้มแย้มแจ่มใสและเป็นกันเอง ส่วนสถานที่ตั้งคลินิกกาญจนาทันตแพทย์ หาง่าย สะดวก เพราะอยู่ใกล้กับหน่วยงาน ร้านวีดีโอคนรักหนังและศูนย์บริการเอไอเอส
ความพึงพอใจในผลการรักษาแต่ละครั้ง พบว่า มีความพึงพอใจระดับปานกลาง ความพึงพอใจในที่จอดรถเพียงพอปลอดภัย มีพึงพอใจระดับปานกลางเพราะทางคลินิกกาญจนาทันตแพทย์ ไม่มีที่จอดรถสำหรับลูกค่าโดยเฉพาะ เช่นเดียวกับ ระดับความพึงพอใจในสนามหรือของเล่นให้เด็กเล่นระหว่างรอใช้บริการด้านทันตกรรม
ผู้ช่วยทันตแพทย์ให้การบริการด้วยความเต็มใจและย้มแย้มแจ่มใส มีความพึงพอใจระดับปานกลาง อาคาร สถานที่ สะอาด สวยงาม และเป็นระเบียบพอใช้ มีการจัดส่งเสริมการขายเป็นระยะและมีส่วนลดให้ในการใช้บริการ

วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ชื่อเรื่อง พฤติกรรมการใช้ hi5 ของนักเรียน นักศึกษาในเขตเทศบาลนครอุดรธานี

ความเป็นมา ในยุคโลกาภิวัฒน์ การสื่อสารย่อมไม่มีขอบเขตจำกัด มนุษย์สามารถเลือกช่องทางการสื่อสารได้หลากหลาย ทั้งในเวลาและสถานที่ ในการแสวงหาความบันเทิง และแสวงหาข่าวสารให้เลือกให้ตักตวงอย่างเสรี ผู้ที่มีความกระตือรือร้น ใฝ่รู้แสวงหาความรู้ และเทคโนโลยีย่อมได้เปรียบและมีโอกาสที่ได้ครอบครองข่าวสารมากกว่าใคร โดยเฉพาะสิ่งที่เป็นความรู้ ข่าวที่เป็นประโยชน์จะช่วยนำไปเป็นการพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้า

วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ hi5 ของนักเรียน นักศึกษา ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี
2.เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการรับข้อมูลข่าวสารจาก hi5
3.เพื่อศึกษาปัญหาและผลกระทบในการรับข้อมูลผ่าน hi5

วิธีการดำเนินการวิจัย
1. ประชากรสุ่มตัวอย่าง คือ เป็นการศึกษาพฤติกรรมการใช้ hi5 ของนักเรียน นักศึกษา ในเขตเทศบาลอุดรธานี โดยการศึกษาจะทำการสอบถามข้อมูลจากจำนวนนักเรียน นักศึกษาในเขตเทศบาลอุดรธานี มีจำนวนทั้งหมด 35,364 คน เป็นนักเรียนชาย 7,432 คน เป็นนักเรียนหญิง 10,896 คน เป็นนักศึกษาชาย 11,746 คน และเป็นนักศึกษาหญิง 5,290 คน


2. เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย คือ แบบสอบถามเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล โดยแบ่งเป็นตอน คือ
ตอนที่ 1 สถานภาพทั่วไปของผู้กรอกแบบสอบถาม
ตอนที่ 2 พฤติกรรมในการใช้ hi5
ตอนที่ 3 ความพึงพอใจในการใช้ hi5
ตอนที่ 4 อิทธิพลและผลกระทบของ hi5
ตอนที่ 5 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ hi5
3. การเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล คือ ผู้วิจัยจะเป็นคนแจกและเก็บแบบสอบถามเองอย่างถูกต้องครบถ้วน พร้อมเก็บนำแบบสอบถามมาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูป
สำหรับการวิจัยทางสังคม โดยมีวิธีการวิเคราะห์สถิติแบบเป็นร้อยละและความถี่เพื่ออธิบายข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์สถิติเป็นการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเพื่ออธิบายความพึงพอใจ ผลกระทบและอิทธิพลของ hi5 ที่มีต่อนักเรียน นักศึกษาในเขตเทศบาลนครอุดรธานี การเปลี่ยนแปลงความหมายเพื่อเปลี่ยนระดับความพึงพอใจที่ได้จากแบบสอบถาม


ประโยชน์
1. เป็นประโยชน์ในการทราบถึงพฤติกรรมของนักเรียน นักศึกษาในการเปิดใช้ hi5
2. เป็นประโยชน์ในการดำเนินการให้สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียนนักศึกษาที่มีต่อ hi5
3. ทำให้ทราบถึงความสนใจในการรับฟังข่าวสารจาก hi5





สรุป
1. ข้อมูลส่วนตัวของกลุ่มตัวอย่าง จากจำนวนกลุ่มตัวอย่าง เพศหญิงจะใช้บริการ hi5 มากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะหญิงมีจำนวน 305 คน คิดเป็นร้อยละ 76.3 และเพศชายมีจำนวน 95 คน คิดเป็นร้อยล่ะ 23.8 มีวุฒิการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 38.5 อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 16 – 18 ปี คิดเป็นร้อยละ 40.5 มีรายได้มากที่สุดคือ 3,500 บาทขึ้น คิดเป็นร้อยละ 35.3
2. ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้ hi5โดยรวมจะมีผู้เปิดใช้ hi5 ถึง 318 คน ของนักเรียน นักศึกษา คิดเป็นร้อยละ 79.5 มีการเปิดรับ hi5 ที่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 40.0 มีช่วงการเปิด hi5 เวลานานๆ คิดเป็นร้อยละ 32.5 ในช่วงเวลา 19.00 – 21.00 น. คิดเป็นร้อยละ 39.3 เพราะสามารถติดต่อสื่อสารกับเพื่อน คิดเป็นร้อยละ 64.5
3. ข้อมูลความพึงพอใจของการใช้ hi5 คือมีความสนใจด้านโปรแกรมทำโปรไฟว์ ของ hi5 ให้มีความพึงพอใจต่อสีสันของ hi5 คิดเป็นร้อยละ 4.17 รองลงมาก็จะเป็นความหลากหลายและความพึงพอใจในด้านฟังก์ชั่น
4. อิทธิพลและผลกระทบของ hi5 คือ ผลกระทบมากที่สุดจึงทำให้เด็กติดอินเตอร์เน็ต คิดเป็นร้อยละ 3.84 รองลงมา คือการใช้ภาษาที่เปลี่ยนไป คิดเป็นร้อยละ 3.77

วิจัย : พฤติกรรมและความพึงพอใจ ในการรับฟังรายการวิทยุกระจายเสียง ของนักเรียน นักศึกษา ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี

ชื่อเรื่อง
พฤติกรรมและความพึงพอใจ ในการรับฟังรายการวิทยุกระจายเสียง ของนักเรียน นักศึกษา ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี

ความเป็นมาของวิจัย
ปัจจุบันสื่อมวลชนมีบทบาทและมีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง ความเจริญทางเทคโนโลยี และความก้าวหน้าทางการสื่อสาร ช่วยให้สื่อมวลชนสามารถแพร่ กระจายเข้าถึงประชาชนทุกระดับ ทุกองค์กรได้อย่างรวดเร็ว คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญต่อบทบาทและหน้าที่ของสื่อมวลชนอย่างเห็นได้ชัดจนเกือบจะกล่าวได้ว่า ไม่มีมนุษย์กลุ่มใดที่ไม่เคยสัมผัสข่าวสารจากสื่อมวลชน
การสื่อสารด้วยวิทยุกระจายเสียง นับว่าเป็นเครื่องมือที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและในด้านการศึกษา วิทยุกระจายเสียงยังมีบทบาทในการเสริมสร้างความรู้ ความคิดของผู้ฟังได้อย่างรวดเร็ว และทั่วถึง
วิทยุกระจายเสียงเป็นสื่อมวลชนที่มีอิทธิพลมากในปัจจุบัน มีรัศมีคลื่นความถี่ส่งครอบคลุมพื้นที่ไปได้ไกลทำให้ประชาชนทราบข่าวสารต่างๆ จากการรับฟังวิทยุ วิทยุกระจายเสียงสามารถเข้าถึงประชาชนได้ทุกชั้น ทุกเพศ ทุกวัย และทุกสภาพท้องถิ่นที่มีวิทยุกระจายเสียงสามารถส่งคลื่นไปถึงได้ วิทยุกระจายเสียงจึงเข้าถึงประชาชนได้ดีกว่าสื่อประเภทอื่นๆ

วัตถุประสงค์
การวิจัยเรื่อง “พฤติกรรมและความพึงพอใจ ในการรับฟังรายการวิทยุกระจายเสียง
ของนักเรียน นักศึกษา ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี” มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ
1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับฟังรายการวิทยุกระจายเสียงของ นักเรียน นักศึกษา ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี
2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการรับฟังรายการวิทยุกระจายเสียง ของนักเรียน นักศึกษา ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี

วีธีการดำเนินการวิจัย
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาถึงความคิดเห็นของนักเรียน นักศึกษาในเขตเทศบาลนครอุดรธานีที่มีต่อรายการวิทยุกระจายเสียงในจังหวัดอุดรธานี โดยการใช้แบบสอบถามประเภทให้กลุ่มเป้าหมายตอบเอง เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีกลุ่มนักเรียน นักศึกษาในเขตเทศบาลนครอุดรธานีที่ทำการศึกษา คือ โรงเรียนสตรีราชินูทิศ โรงเรียนดอนบอสโกวิทยา โรงเรียนเทศบาล 6 ไลออนอุทิศ โรงเรียนประจักษ์ศิลปาคม วิทยาลัยอาชีวะอุดรธานี วิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยสันตพล และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี รวมจำนวน 400 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล แบบร้อยละและค่าเฉลี่ย เพื่ออธิบายลักษณะทางประชากรของกลุ่มตัวอย่าง พฤติกรรมการเปิดรับฟังรายการวิทยุกระจายเสียงในจังหวัดอุดรธานี และความพึงพอใจในการรับฟังรายการวิทยุกระจายเสียงในจังหวัดอุดรธานีของนักเรียน นักศึกษาในเขตเทศบาลนครอุดรธานี

สรุปผลการวิจัย
จากการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 16-18 ปี มีการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) กลุ่มตัวอย่างจำนวนนี้มีพฤติกรรมการรับฟังดังนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เปิดฟังวิทยุกระจายเสียงทุกวันและฟังโดยตั้งใจ จะรับฟังที่บ้าน และจะรับฟังในช่วงเวลา 19.00-21.00 น. มากที่สุด ส่วนสถานีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดจากกลุ่มตัวอย่างก็คือ สถานีวิทยุ 1 ปณ.อุดรธานี โดยประเภทรายการที่ชอบฟังมากที่สุดก็คือ รายการบันเทิง ซึ่งส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างจะมีส่วนร่วมกับสถานีวิทยุกระจายเสียงโดยการโทรศัพท์ขอเพลง และประโยชน์ที่ได้รับจากการฟังวิทยุกระจายเสียงในจังหวัดอุดรธานีที่มากที่สุด ก็คือ ได้รับความบันเทิง
ในส่วนของความพึงพอใจเมื่อพิจารณาจากผลวิจัย สามารถสรุปรายละเอียดของความต้องการที่จะได้รับจากการฟังรายการวิทยุกระจายเสียงในจังหวัดอุดรธานีของนักเรียน นักศึกษาในเขตเทศบาลนครอุดรธานี ได้ประเด็นต่างๆ ต่อไปนี้ โดยเฉลี่ยแล้ว นักเรียน นักศึกษามีความพึงพอใจกับการรับฟังรายการวิทยุกระจายเสียงในจังหวัดอุดรธานีมาก คือ ได้พักผ่อนและคลายเครียด ได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดต่อสถานการณ์ในปัจจุบันที่เกิดขึ้น
ดังนั้น จากผลการวิจัยจะเห็นได้ว่า ปัจจุบันสื่อวิทยุมีอิทธิพลต่อกลุ่มผู้ฟังเป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถรับสื่อได้กว้างขึ้น ทำให้นักเรียน นักศึกษาในเขตเทศบาลนครอุดรธานี มีโอกาสในการรับฟังวิทยุกระจายเสียงได้หลากหลายและเพิ่มมากขึ้น จากการสำรวจพบว่า นักเรียน นักศึกษาในเขตเทศบาลนครอุดรธานี เลือกฟังรายการวิทยุทางสถานีวิทยุ 1 ป.ณ.อุดรธานี จะเห็นได้ว่า นักศึกษาสนใจที่จะรับข่าวสารความเคลื่อนไหวในด้านบันเทิง ทั้งนักร้อง เพลง รวมไปถึงข้อมูลข่าวสาร ข้อคิด คติธรรมต่างๆ ซึ่งในประเด็นนี้ทำให้รายการวิทยุกระจายเสียงคลื่นต่างๆต้องปรับตัวเพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายให้กลับมาฟังรายการของตนเองมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าการรับฟังรายการของนักเรียน นักศึกษานั้นฟังด้วยความตั้งใจและนิยมฟังในช่วง 19.00 – 21.00 น. ซ่งเป็นช่วงที่ว่างจากการทำภารกิจต่างๆ ส่วนด้านความต้องการนั้น พบว่านักศึกษามีความพึงพอใจในรายการซึ่งส่วนใหญ่เห็นว่ามากอยู่แล้ว ที่ควรปรับปรุงก็คือด้านนักจัดรายการที่ควรพูดให้น้อยลง และใช้ภาษาให้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเห็นว่านักจัดรายการไม่ควรพูดแทรกแพลงเพราะจะทำให้เสียอรรถรสในการฟังเพลง ในส่วนการมีส่วนร่วมนั้น การโทรศัพท์เข้ามาร่วมในรายการเป็นสิ่งที่นักเรียน นักศึกษา ทำมากที่สุดเพราะสามารถติดต่อได้ง่าย ไม่เสียค่าใช้จ่ายมากและสะดวกรวดเร็ว ทั้งนี้เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างนักเรียน นักศึกษากับผู้จัดรายการ รายการวิทยุกระจายเสียงในจังหวัดอุดรธานี มีอิทธิพลต่อนักเรียน นักศึกษาในเขตเทศบาลนครอุดรธานี และยังมีอิทธิพลต่อรูปแบบรายการวิทยุกระจายเสียงในจังหวัดอุดรธานีอีกด้วย

ประโยชน์ของวิจัย
ประโยชน์การวิจัยเรื่อง “พฤติกรรมและความพึงพอใจ ในการรับฟังรายการวิทยุกระจายเสียง ของนักเรียน นักศึกษา ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี”
1. ช่วยให้เราได้รับรู้ถึงพฤติกรรมและความพึงพอใจการเปิดรับฟังสื่อวิทยุกระจายเสียงของนักเรียน นักศึกษาในเขตเทศบาล
2. ช่วยให้เราได้รับรู้ถึงความต้องการของการรับฟังวิทยุกระจายเสียงในรูปแบบรายการต่างๆ
3. ใช้เป็นกรณีศึกษาในการที่จะขยายหรือทำกิจการเกี่ยวกับวิทยุกระจายเสียง
4. ฝึกให้เราได้คิดและศึกษางานอย่างเป็นระบบ มีเหตุมีผล สามารถหาข้ออ้างอิงได้



******************************

นางสาวอัมฑิกา ศิระสิริกุล นิเทศศาสตร์(ประชาสัมพันธ์)4/3

พฤติกรรมการใช้ hi5 ของนักเรียน นักศึกษาในเขตเทศบาลอุดรธานี


การเปิดรับสื่อความรู้ ที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาโลกร้อนของประชากรในเขตอำเภอเมือง ในจังหวัดอุดรธานี

เรื่อง การเปิดรับสื่อความรู้ ที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาโลกร้อนของประชากรในเขตอำเภอเมือง ในจังหวัดอุดรธานี

วัตถุประสงค์
1. เพื่อการเปิดรับข่าวสาร ที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาโลกร้อนของประชากรในเขตอำเภอเมือง ในจังหวัดอุดรธานี
2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการเปิดรับสื่อความรู้ของประชากร ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดอุดรธานี ที่เกี่ยวกับปัญหาโลกร้อน
3. เพื่อศึกษาการยอมรับข่าวสาร และผลกระทบเกี่ยวกับปัญหาโลกร้อนของประชากร ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดอุดรธานี

วิธีการดำเนินงานวิจัย
ในงานวิจัยเรื่อง การเปิดรับสื่อความรู้ ที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาโลกร้อนของประชากรในเขตอำเภอเมือง ในจังหวัดอุดรธานี ผู้ทำการวิจัยได้กำหนดวิธีการดำเนินงานวิจัยดังนี้
- ประชากร และกลุ่มเป้าหมายตัวอย่าง
- การสร้างเครื่องมือในการวิจัย
- เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย
- การเก็บรวบรวมข้อมูล
- การวิเคราะห์ข้อมูล

1.ประชากร และกลุ่มเป้าหมายตัวอย่าง
1.1 ประชากร
จำนวนประชากรในเขตอำเภอเมืองจังหวัดอุดรธานีมีจำนวนทั้งหมด 142,004 คน ( ข้อมูลได้จากสำนักบริหารงานทะเบียน การปกครองจังหวัดอุดรธานี พ.ศ 2551 )

1.2 กลุ่มตัวอย่าง
ประชากรในเขตอำเภอเมืองจังหวัดอุดรธานี ทั้งเพศชาย และเพศหญิง ที่ประกอบอาชีพที่แตกต่างกัน โดยกำหนดค่าเป็น 0.05 ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 จำนวน 400 คน


1.3 วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง
ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วน
จำนวนประชากรในเขตอำเภอเมืองจังหวัดอุดรธานีมีจำนวนทั้งหมด 142,004 คน
เป็นชาย 69606 คน เป็นหญิง 72398 คน

2. การสร้างเครื่องมือในการวิจัย
2.1 ศึกษาเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเปิดรับสื่อความรู้ที่แก้ไขปัญหาโลกร้อนในเขตอำเภอเมืองจังหวัดอุดรธานี
2.2 กำหนดกรอบความคิดในการทำวิจัย
2.3 สร้างเครื่องมือในการทำวิจัย
2.4 เสนอเครื่องมือให้อาจารย์ผู้สอนในรายวิชาตรวจสอบลักษณะทั่วไป เพื่อแก้ไขตลอดจนความเหมาะสมของภาษาและการใช้ถ้อยคำ
2.5 นำแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบแล้วไปทดสอบความเชื่อมั่น โดยใช้กับประชากร จำนวน 20 ชุด
2.6 นำแบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบแล้วมาใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลต่อไป

3. เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย
3.1 สอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
3.2 แบบสอบถามความคิดเห็นของการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการแก้ใขปัญหาโลกร้อนในเขตอำเภอเมืองจังหวัดอุดรธานี
3.3 แบบสอบถามในการเปิดรับสื่อประเภทต่างๆที่เกี่ยวกับการแก้ไข
3.4 แบบสอบถามในการยอมรับ และผลกระทบของประชากรต่อการเปิดรับสื่อที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาโลกร้อน

4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4.1 นำแบบสอบถามให้กลุ่มตัวอย่างออกความคิดเห็น และให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาโลกร้อน
4.2 ตรวจสอบความถูกต้อง และนำข้อมูลไปวิเคราะห์

5. การวิเคราะห์ข้อมูล
5.1 ทำการวิเคราะห์ค่าสถิติเป็นค่าร้อยละของความถี่ เพื่ออธิบายข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง
5.2 ทำการวิเคราะห์ค่าสถิติเป็นการหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่ออธิบายความพึงพอใจในการเปิดรับสื่อความรู้

สรุปผลการวิจัย
คำว่า “ภาวะโลกร้อน (global warming)” เป็นคำที่ได้ยินกันบ่อย คงจะมีน้อยคนที่ไม่รู้จักคำนี้ เนื่องจากมีการนำเสนอเรื่องราวของภาวะโลกร้อน ผ่านสื่อต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นสื่อทางโทรทัศน์ วิทยุ หรือ สื่อสิ่งพิมพ์ที่เป็นหนังสือ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงสื่อรูปแบบใหม่ของคนยุคปัจจุบัน ได้แก่ ข้อมูลข่าวสารจากสื่ออินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นแหล่งรวมข้อมูลข่าวสารที่สามารถค้นหาความรู้ได้อย่างทันท่วงที โดยไม่จำกัดด้วยเวลาและสถานที่ เนื่องจากการที่มีการนำเสนอเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน ในสื่อหลายๆทาง ทำให้รู้สึกได้ถึงความสำคัญของความจำเป็นที่จะต้องรู้ถึงเรื่องราวเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนว่าคืออะไร และมีผลต่อมนุษย์และสิ่งต่างๆ อย่างไรบ้าง
จะเห็นได้ว่าปัจจุบันโลกกำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ภาวะโลกร้อน ซึ่งมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการดำรงชีวิตของมนุษย์ ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงมากขึ้น ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นสะท้อนกลับมาสู่มนุษย์เอง ทำให้มีการดำรงชีวิตที่ยากลำบากมากยิ่งขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป การเกิดภัยพิบัติต่างๆ เกิดภาวะความอดอยากแห้งแล้ง เป็นต้น ซึ่งการที่จะบรรเทาความรุนแรงที่เกิดจากภาวะโลกร้อนจึงจำเป็นที่จะต้องแก้ไขที่ต้นเหตุ โดยการมีส่วนร่วมกันของมนุษย์ทุกคนในการช่วยกันลดภาวะโลกร้อน ด้วยการประหยัดพลังงาน ลดการทำให้เกิดมลพิษ ปลูกต้นไม้ทดแทน และอื่น ๆ สำหรับห้องสมุดซึ่งเป็นศูนย์กลางความรู้ของสังคม จึงต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการลดภาวะโลกร้อน รวมทั้งยังมีหน้าที่สำคัญในการส่งเสริม สนับสนุนให้ทุกคนมีส่วนรวมในการลดภาวะโลกร้อนด้วย เพื่อเป็นแรงผลักดันให้โลกของเรา ผ่านพ้นวิกฤตการณ์นี้ไปได้

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- ทำให้ทราบถึงพฤติกรรมของประชากรในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานีเกี่ยวกับการเปิดรับสื่อความรู้ในการแก้ไข และป้องกันปัญหาโลกร้อน
- ทำให้ประชากรในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานีสร้างจิตสำนึกที่ดีในการช่วยป้องกัน แก้ไขปัญหาโลกร้อน
- ทำให้ทราบถึงความพึงพอใจของประชากรในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ต่อการเปิดรับสื่อประเภทต่างๆ

วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของผู้ฟังรายการวิทยุชุมชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี

โดย
นางสาวลักขณา วงษ์ชาลี 50040002102
นิเทศศาสตร์ RTV 4/2
สรุปวิจัย เรื่องการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของผู้ฟังรายการวิทยุชมชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี

ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา
วิทยุกระจายเสียงถือว่าเป็นสื่อที่สำคัญไม่แพ้สื่ออื่นๆ อย่างวิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ตที่ถือว่าเป็นสื่อสำคัญของโลกปัจจุบันและอนาคต และสื่อเหล่านี้ถือว่าเป็นตัวกำหนดแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนามนุษย์และสังคมทุกระดับ จากข้อความหลากหลายของรายการวิทยุกระจายเสียง ที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต และการทำงานของมนุษย์ ช่วยลดความเลื่อมล้ำของการติดตามข่าวสารและบันเทิง ทำให้เกิดสังคมยุคสารสนเทศขึ้น นั้นคือ ยุคของข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเป็นยุคที่มุ้งเน้นคุณค่าของข้อมูล มีการใช้ประโยชน์และการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ตามเทคโนโลยีที่ก้าวไปทุกวัน เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารใหม่ๆ อย่างรวดเร็วตลอดเวลาให้สนองทันต่อความต้องการของประชาชน

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับฟังรายการจากวิทยุชุมชนของประชาชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี
2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการรับฟังวิทยุชุมชนของประชาชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี

ขอบเขตของการวิจัย
1. ขอบเขตด้านประชากร ผู้วิจัยได้กำหนดประชากรที่จะทำการศึกษา คือ ประชาชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี
2. ขอบเขตด้านเนื้อหา ศึกษาการใช้ประโยชน์ความพึงพอใจของผู้รับฟังรายการวิทยุชุมชนของประชาชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี
3. ขอบเขตระยะเวลา ได้กำหนดระยะเวลาในการทำการวิจัยดั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน 2549 ถึง 31 ตุลาคม 2549




การดำเนินการวิจัย

ผู้วิจัยได้กำหนดวิธีการและเงื่อนไข และการดำเนินการต่างๆ ในเรื่องของการวิจัยดั้งนี้
1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชากรในเขตเทศบาลนครอุดรธานี จำนวน 142,897 คน แยกชาย-หญิง ประชากรหญิง จำนวน 72,951 คนประชากรชาย 69,946 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างเพื่อการศึกษาจำนวน 400 คน
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
- แบบสอบถามข้อมูลเบื้องต้นและการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของผู้รับฟังรายการวิทยุกระจายเสียงชุมชน เป็นข้อคำถามเกี่ยวกับเพศ อายุ อาชีพ วุฒการศึกษา และการรับฟังวิทยุ
-แบบวัดความพึงพอใจการรับฟังวิทยุชุมชน เป็นเครื่องที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้น แบบมาตราส่วนประมวลค่า 5 ระดับ คือ มาก มากที่สุด ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด โดยแบบสอบถามแต่ละฉบับจะมีจำนวลฉบับละ 400 ชุด เพื่อแจกจ่ายให้กับกลุ่มประชาชน โดยจะสรุปการสอบถามได้ดังนี้
1. ผู้ฟังได้รับประโยชน์จากการรับฟังวิทยุกระจายเสียงชุมชนในจังหวัดอุดรธานี ส่วนใหญ่ จะมีการรับฟังวิทยุชุมชนเพื่อความเพลิดเพลินมากที่สุด
รองลงมา คือ ทำให้รู้ว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น
อันดับที่ 3 คือ ทำให้รู้สิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อน
อันดับ 4 คือ มีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต
อันดับที่ 5 คือ เป็นประโยชน์ต่ออาชีพการงาน
อันดับที่ 6 คือเสนอแนะวิธีแก้ปัญหา
อันดับที่ 7 อื่นๆ

ผลกระทบจากการจัดตั้งวิทยุกระจายเสียงชุมชน
ผลกระทบจากการจัดตั้งวิทยุชุมชนผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่บอกว่า ผลกระทบที่เกิดมากที่สุดคือ เรื่องของคลื่นวิทยุรบกวนโทรทัศน์ รองลงมาคือ คลื่นวิทยุชุมชนเบียดกันทำให้เกิดความไม่ชัดเจนในการรับฟังข่าวสารต่างๆ และรบกวนคลื่นวิทยุหลักด้วย





สรุปว่าเหตุผลส่วนใหญ่ในความพึงพอใจในการรับฟังวิทยุชุมชน

ผู้ฟังรายการส่วนใหญ่ได้ให้คำตอบที่ชัดเจนว่า รายการวิทยุชุมชนมีรูปแบบที่แตกต่างจากรายการที่เคยฟังอยู่ และมีเนื้อหาที่น่าสนใจ โดยเฉพาะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับท้องถิ่น ซึ่งคำตอบเหล่านี้ได้สะท้อนให้เห็นว่ารายการดังกล่าวได้เดินตามหลักของการจัดรายการวิทยุชุมชน คือ มุ่งเน้นไปที่กลุ่มเป้าหมายที่มีความต้องการที่แท้จริง นั้นเนื้อหาที่ผู้ฟังสนใจเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวและเกี่ยวข้องกับตัวเอง กับงาน อาชีพ ซึ่งก่อให้เกิดการติดตามรับฟังอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังแสดงความคิดเห็น และสอบถามปัญหาต่างๆผ่านทางรายการได้

สิ่งที่ได้รับจากงานวิจัยชิ้นนี้
1. ได้ทราบหลักการของวิทยุชุมชน
2. ทราบถึงความพอใจของประชาชนที่มีต่อวิทยุชุมชน
3. รู้บทบาทและการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของวิทยุชุมชน
4. ได้ทราบว่าประชาชนส่วนใหญ่ชอบรายการอะไร เพราะอะไร
5. ความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่คืออะไร
6. ทราบถึงประวัติความเป็นมาของวิทยุชุมชน
7. จะนำกลักการความรู้ที่ได้ศึกษานี้ไปเป็นแบบอย่างในการทำวิจัยครั้งต่อไปได้
8. เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้แบบรอบด้านและรอบตัว

ความเครียดและวิธีการกำจัดความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัยมสารคาม นางสาววิภาพรเนืองแก้ว 50040001119 วารสาร 4/1

ชื่อเรื่อง
ความเครียดและวิธีการกำจัดความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัยมสารคาม
วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาระดับความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัยสารคาม
2.เพื่อศึกษาสาเหตุของความเครียดและวิธีการจัดการความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัยสารคาม
วิธีการวิจัย
แบบสอบถามและการศึกษาจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความเครียดและวิธีการกำจัดความเครียด
วิธีการดำเนินการวิจัย
การวิจัย ความเครียดและวิธีการกำจัดความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัยสารคามผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาตามขั้นตอนต่างๆดังนี้
1.ประชากรกลุ่มตัวอย่าง
2.เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
3.การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
4.การเก็บรวบรวมข้อมูล
5.การจัดกระทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล
6.สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

สิ่งที่ได้จากการศึกษางานวิจัย
การวิจัยเรื่องความเครียดและวิธีการกำจัดความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัยสารคามทำให้ทราบรายละเอียดของความเครียดสาเหตุของความเครียดและวิธีการจักการความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัยสารคาม
ซึ่งผลการวิจัยพบว่า
1. นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ระบบปกติ ศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะการบัญชีและการจัดการ บิดา-มารดา อยู่ด้วยกัน และมีอาชีพเกษตรกรรม นิสิตส่วนใหญ่พักอยู่หอพักเอกชน รายได้ต่อเดือนพอใช้จ่ายขณะอยู่ในมหาวิทยาลัยพอใช้จ่าย จำนวน 3000-4999 บาท
2. นิสิตมหาวิทยาลัยสารคามส่วนใหญ่มีความเครียดระดับปกติ รองลงมามีความเครียดระดับรุนแรง ความเครียดระดับต่ำ และความเครียดระดับเรื้อรัง
3. นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามส่วนใหญ่ มีสาเหตุความเครียดโดยภาพรวมและรายด้าน 3 ด้านพบว่า
3.1นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามมีสาเหตุความเครียดด้านการเรียนโดยรวมอยู่ในระดับน้อย และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ จากมากไปน้อย 3 ระดับ คือ เรียนไม่เข้าใจทำให้รู้ศึกอึดอัดและกังวลเรื่องผลการเรียน รองลงมา เตรียมตัวไม่พร้อมก่อนสอบ และอาจารย์ผู้สอนให้การบ้านมากและมีความกังวลกลัวส่งงานไม่ทันเนื่องจากเวลาที่มีจำกัด
3.2 นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามมีสาเหตุของความเครียดด้านสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัย โดยรวมอยู่ในระดับน้อย และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ จากมากไปน้อย 3 ระดับ คือ เพื่อนข้างห้องส่งเสียงดัง รองลงมาหอพักไม่มีความปลอดภัย มีการลักขโมย และหอพักที่อยู่อาศัยคับแคบและเสียงดังทำให้ไม่มีสมาธิในการอ่านหนังสือ
3.3นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามมีสาเหตุของความเครียดด้านส่วนตัวและสังคมส่วนรวมอยู่ในระดับน้อย และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ จากมากไปน้อย 3 ลำดับ คือ กังวลใจเรื่องค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นแต่มีรายได้เท่าเดิม รองลงมา เกิดความกลัวว่าสิ่งที่คาดหวังยังไม่สำเร็จ และ ไม่มีเงินเพียงพอในการใช้พักผ่อนหย่อนใจ
4.การจัดการความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ส่วนมากที่ปฏิบัติเป็นประจำ คือ การพยายามระบายความเครียดหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยการฟังเพลง/เล่นเกมส์/ดูหนัง ที่ปฏิบัติเป็นบางครั้ง คือ ทำอะไรก็ได้เพื่อให้ปัญหาผ่านพ้นไป ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าจะได้ผล และเตรียมพร้อมที่จะรับสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด และที่ไม่เคยปฏิบัติ คือ พยายามระบายความเครียดหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยการร้องไห้คนเดียว















เกณฑ์ในการแปลผลค่าเฉลี่ย
ค่าเฉลี่ย ( x ) ระดับความเครียด
4.51 – 5.00 มากที่สุด
3.51 – 4.50 มาก
2.51 – 3.50 ปานกลาง
1.51 – 2.50 น้อย
1.00 – 1.50 น้อยที่สุด

ผลการศึกษา
จากการศึกษา เรื่อง ความเครียดและวิธีการจัดการความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัย
มหาสารคาม โดยศึกษาระดับความเครียดและ สาเหตุความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัย
มหาสารคาม 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการเรียน ด้านสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัย ด้านส่วนตัวและ
สังคม และวิธีการจัดการกับความเครียด สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้

ส่วนที่ 1 ข้อมูลสถานภาพทั่วไป
จากการศึกษาข้อมูลสถานภาพทั่วไปของนิสิต จำนวน 1,087 คน มีผลการศึกษา ดังนี้
1. เมื่อพิจารณาเพศ และ ระดับการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 69.40)
เพศชาย (ร้อยละ 30.36) ศึกษาในระบบปกติมากที่สุด (ร้อยละ 76.54) และระบบพิเศษ
(ร้อยละ 23.50) เป็นนิสิตชั้นปีที่ 2 มากที่สุด (ร้อยละ 29.44 )รองลงมา ชั้นปีที่ 3 (ร้อยละ 28.52)
ชั้นปีที่ 4 (ร้อยละ 24.10) และ ชั้นปีที่ 1 (ร้อยละ 17.94) ส่วนใหญ่เป็นนิสิตจากคณะการบัญชีและ
การจัดการ (ร้อยละ 22.82) รองลงมา วิทยาลัยการเมืองการปกครอง (ร้อยละ 12.42 ) และ
คณะวิทยาการสารสนเทศ (ร้อยละ 10.67 )
2. เมื่อพิจารณาถึงสถานภาพของบิดา-มารดา /ผู้ปกครอง และอาชีพของบิดา-มารดา
พบว่า ส่วนใหญ่ บิดา-มารดา อยู่ด้วยกัน (ร้อยละ 83.81) รองลงมาหย่าร้าง (ร้อยละ 7.08) บิดาเสียชีวิต (ร้อยละ 5.43) อาชีพบิดา ส่วนใหญ่ เป็นเกษตรกรรม (ร้อยละ46.27) รองลงมารับราชการ/
รัฐวิสาหกิจ (ร้อยละ 26.40) รับจ้าง (ร้อยละ 11.41) อาชีพมารดา ส่วนใหญ่ เป็นเกษตรกรรม
(ร้อยละ 47.56) รองลงมารับราชการ/รัฐวิสาหกิจ (ร้อยละ 17.94) และค้าขาย (ร้อยละ 15.18)
3. เมื่อพิจารณาถึงที่พักอาศัย และรายได้ต่อเดือนเพื่อใช้จ่ายขณะอยู่ในมหาวิทยาลัย
มหาสารคาม พบว่า ส่วนใหญ่อยู่หอพักเอกชน(ร้อยละ 36.80) รองลงมา หอพักมหาวิทยาลัย
(ร้อยละ 29.07) และหอพักเครือข่าย (ร้อยละ27.14 ) มีรายได้ต่อเดือนเพื่อใช้จ่ายขณะอยู่ใน
มหาวิทยาลัย 3,001 - 4,999 บาท มากที่สุด (ร้อยละ 57.96) รองลงคือ 5,000 - 9,999 บาท
(ร้อยละ 20.79) และน้อยกว่า 3,000 บาท (ร้อยละ 18.31) และ 10,000 บาทขึ้นไป (ร้อยละ 2.48)
ส่วนที่ 2 ระดับความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
จากการศึกษาระดับความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม สามารถสรุปผล
ได้ดังนี้
นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ส่วนใหญ่มีความเครียดอยู่ในระดับปกติ (ร้อยละ 69.80)
รองลงมา คือ ความเครียดระดับรุนแรง (ร้อยละ26.80) ความเครียดระดับต่ำ (ร้อยละ 3.10) และ
ความเครียดระดับเรื้อรัง (ร้อยละ 0.20)
ส่วนที่ 3 สาเหตุของความเครียด
จากการศึกษาสาเหตุของความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยจำแนกตาม
สาเหตุของความเครียดเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการเรียน ด้านสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัย
และด้านส่วนตัวและสังคม สามารถสรุปผลได้ดังนี้
3.1 ด้านการเรียน นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีความเครียดด้านการเรียนโดยรวม
อยู่ในระดับน้อย ( x = 2.50) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มี 5 ข้อที่เป็นสาเหตุให้นิสิตมี
ความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ เรียนไม่เข้าใจทำให้รู้สึกอึด
อัดและกังวลเรื่องผลการเรียน ( x = 2.98 ) รองลงมาคือ เตรียมตัวไม่พร้อมก่อนสอบ (x= 2.92)
อาจารย์ผู้สอนให้การบ้านมากและมีความกังวลกลัวส่งงานไม่ทันเนื่องจากเวลามีจำกัด ( x = 2.81)
เรียนไม่ทันเพื่อน ทำให้รู้สึกหนักใจ ( x = 2.76 ) และหนังสือหรือเอกสารประกอบการเรียนบาง
วิชามีน้อยทำให้รู้สึกหนักใจในการเตรียมตัวสอบ ( x = 2.61 ) และมี 6 ข้อ เป็นสาเหตุให้นิสิต
มีความเครียดอยู่ในระดับน้อย เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ไม่มีทางออกเมื่อเจอปัญหาเรื่อง
เรียน (x = 2.33) รองลงมาคือ ไม่สามารถเลือกเรียนบางรายวิชาตามที่ต้องการได้ ( x = 2.29)
อุปกรณ์เครื่องมือในห้องเรียนไม่ค่อยมีคุณภาพ ( x = 2.27) ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับการเรียน
แต่ละวิชาได้ ( x= 2.25) ไม่กล้าปรึกษาอาจารย์ผู้สอน ( = 2.22) และ เสียงโทรศัพท์
ดังทำให้รบกวนสมาธิในการเรียน ( x = 2.09)
3.2 ด้านสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัย นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
มีความเครียดด้านสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัย โดยรวมอยู่ในระดับน้อย ( x = 2.33 )
และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มี 2 ข้อ ที่เป็นสาเหตุให้นิสิตมีความเครียดระดับปานกลาง
เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ เพื่อนข้างห้องส่งเสียงดัง ( x= 2.66) และ หอพักไม่มี
ความปลอดภัยมีการลักขโมย ( x= 2.51) และมี 9 ข้อ เป็นสาเหตุให้นิสิตมีความเครียดอยู่ใน
ระดับน้อย เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ หอพัก/ที่อยู่อาศัย คับแคบและเสียงดังทำให้ไม่มี
สมาธิในการอ่านหนังสือ ( x = 2.49) รองลงมา ที่อ่านหนังสือไม่ค่อยมีต้นไม้ ( x= 2.42)
อาคารเรียนห่างไกลกันทำให้รู้สึกกังวลเวลาไม่สบาย ( x = 2.33) สถานพยาบาลอยู่ไกลทำให้รู้สึก
กังวลเวลาไม่สบายและสถานที่ออกกำลังกายภายในมหาวิทยาลัยมีน้อย เท่ากัน ( x = 2.30) มีที่นั่ง
อ่านหนังสือบริเวณตึกเรียนมีน้อย ( x = 2.26) ไม่มีที่พักผ่อนหย่อนใจเป็นส่วนตัวในบริเวณหอพัก
( x= 2.23) เพื่อนข้างห้องไมมีความเป็นมิตร ( x = 2.17) และชมรมมีน้อยไม่มีความหลากหลายตามความสนใจของนิสิต ( x= 1.94)
3.3 ด้านส่วนตัวและสังคม นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีความเครียดด้านส่วนตัว
และสังคม โดยรวมอยู่ในระดับน้อย ( x = 2.30) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มี 3 ข้อ ที่เป็น
สาเหตุให้นิสิตมีความเครียดระดับปานกลาง เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย กังวลใจเนื่องจาก
ค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นแต่มีรายได้เท่าเดิม ( x= 3.25) เกิดความกลัวว่าสิ่งที่คาดหวังยังไม่สำเร็จ
( x = 2.71) และ ไม่มีเงินเพียงพอในการใช้เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ ( x = 2.59) และมี 10 ข้อ
เป็นสาเหตุให้นิสิตมีความเครียดอยู่ในระดับน้อย เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ รู้สึกตัวเอง
บุคลิกไม่ดีไม่มีเสน่ห์ ( x = 2.37) รู้สึกประหม่าเมื่อต้องเข้าสังคมกับคนจำนวนมาก ( x = 2.30)
รู้สึกเป็นกังวลเนื่องจากป่วยบ่อยครั้งทำให้ต้องขาดเรียน ถูกกดดันให้ออกจากกลุ่มเพื่อน และเกิด
ความขัดแย้งระหว่างตนเองและครอบครัว เท่ากัน ( x = 2.24) ตื่นสายเข้าเรียนไม่ทันเป็นประจำ
( x = 2.17) รู้สึกรุ่นพี่ไม่ชอบหน้าและหมั่นไส้ ( x= 1.97) ไม่เป็นที่รู้จักของอาจารย์ผู้สอนหรือ
อาจารย์ที่ปรึกษา ( x= 1.96) ไม่ได้รับความไว้วางใจจากเพื่อนให้ทำหน้าที่หัวหน้ากลุ่ม
( x = 1.95) ไม่ได้รับความไว้วางใจจากรุ่นพี่ให้ทำหน้าที่หัวหน้ากลุ่ม ( x= 1.90)


ส่วนที่ 4 การจัดการกับความเครียด
จากการศึกษาการจัดการกับความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรียงลำดับ
จากมากไปหาน้อย 3 อันดับ สามารถสรุปผลได้ดังนี้
นิสิตจัดการกับความเครียดเป็นประจำเมื่อเกิดปัญหา อันดับที่ 1 พยายามระบายความเครียดหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยการฟังเพลง /เล่นเกมส์ / ดูหนัง อันดับที่ 2 ปรึกษาพ่อ-แม่
และอันดับที่ 3 พยายามระบายความเครียดหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยการเดินตลาดนัด ช็อปปิ้ง
นิสิตจัดการกับความเครียดเป็นบาง ครั้ง เมื่อเกิดปัญหา อันดับที่ 1 ทำอะไรก็ได้
เพียงเพื่อให้ปัญหาผ่านพ้นไป ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าจะได้ผล เตรียมพร้อมที่จะรับสถานการณ์ที่เลวร้าย
ที่สุด อันดับ 2 สร้างความเชื่อมั่นให้กับตนเอง และอันดับ 3 พยายามมองปัญหาอย่างรอบคอบ
ปราศจากอคติ

วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สรุปงานวิจัยความเครียดและวิธีการกำจัดความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัยมสารคาม

ชื่อเรื่อง
ความเครียดและวิธีการกำจัดความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัยมสารคาม
วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาระดับความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัยสารคาม
2.เพื่อศึกษาสาเหตุของความเครียดและวิธีการจัดการความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัยสารคาม
วิธีการวิจัย
แบบสอบถามและการศึกษาจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความเครียดและวิธีการกำจัดความเครียด
วิธีการดำเนินการวิจัย
การวิจัย ความเครียดและวิธีการกำจัดความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัยสารคามผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาตามขั้นตอนต่างๆดังนี้
1.ประชากรกลุ่มตัวอย่าง
2.เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
3.การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
4.การเก็บรวบรวมข้อมูล
5.การจัดกระทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล
6.สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

สิ่งที่ได้จากการศึกษางานวิจัย
การวิจัยเรื่องความเครียดและวิธีการกำจัดความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัยสารคามทำให้ทราบรายละเอียดของความเครียดสาเหตุของความเครียดและวิธีการจักการความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัยสารคาม
ซึ่งผลการวิจัยพบว่า
1. นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ระบบปกติ ศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะการบัญชีและการจัดการ บิดา-มารดา อยู่ด้วยกัน และมีอาชีพเกษตรกรรม นิสิตส่วนใหญ่พักอยู่หอพักเอกชน รายได้ต่อเดือนพอใช้จ่ายขณะอยู่ในมหาวิทยาลัยพอใช้จ่าย จำนวน 3000-4999 บาท
2. นิสิตมหาวิทยาลัยสารคามส่วนใหญ่มีความเครียดระดับปกติ รองลงมามีความเครียดระดับรุนแรง ความเครียดระดับต่ำ และความเครียดระดับเรื้อรัง
3. นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามส่วนใหญ่ มีสาเหตุความเครียดโดยภาพรวมและรายด้าน 3 ด้านพบว่า
3.1นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามมีสาเหตุความเครียดด้านการเรียนโดยรวมอยู่ในระดับน้อย และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ จากมากไปน้อย 3 ระดับ คือ เรียนไม่เข้าใจทำให้รู้ศึกอึดอัดและกังวลเรื่องผลการเรียน รองลงมา เตรียมตัวไม่พร้อมก่อนสอบ และอาจารย์ผู้สอนให้การบ้านมากและมีความกังวลกลัวส่งงานไม่ทันเนื่องจากเวลาที่มีจำกัด
3.2 นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามมีสาเหตุของความเครียดด้านสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัย โดยรวมอยู่ในระดับน้อย และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ จากมากไปน้อย 3 ระดับ คือ เพื่อนข้างห้องส่งเสียงดัง รองลงมาหอพักไม่มีความปลอดภัย มีการลักขโมย และหอพักที่อยู่อาศัยคับแคบและเสียงดังทำให้ไม่มีสมาธิในการอ่านหนังสือ
3.3นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามมีสาเหตุของความเครียดด้านส่วนตัวและสังคมส่วนรวมอยู่ในระดับน้อย และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ จากมากไปน้อย 3 ลำดับ คือ กังวลใจเรื่องค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นแต่มีรายได้เท่าเดิม รองลงมา เกิดความกลัวว่าสิ่งที่คาดหวังยังไม่สำเร็จ และ ไม่มีเงินเพียงพอในการใช้พักผ่อนหย่อนใจ
4.การจัดการความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ส่วนมากที่ปฏิบัติเป็นประจำ คือ การพยายามระบายความเครียดหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยการฟังเพลง/เล่นเกมส์/ดูหนัง ที่ปฏิบัติเป็นบางครั้ง คือ ทำอะไรก็ได้เพื่อให้ปัญหาผ่านพ้นไป ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าจะได้ผล และเตรียมพร้อมที่จะรับสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด และที่ไม่เคยปฏิบัติ คือ พยายามระบายความเครียดหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยการร้องไห้คนเดียว















เกณฑ์ในการแปลผลค่าเฉลี่ย
ค่าเฉลี่ย ( x ) ระดับความเครียด
4.51 – 5.00 มากที่สุด
3.51 – 4.50 มาก
2.51 – 3.50 ปานกลาง
1.51 – 2.50 น้อย
1.00 – 1.50 น้อยที่สุด

ผลการศึกษา
จากการศึกษา เรื่อง ความเครียดและวิธีการจัดการความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัย
มหาสารคาม โดยศึกษาระดับความเครียดและ สาเหตุความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัย
มหาสารคาม 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการเรียน ด้านสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัย ด้านส่วนตัวและ
สังคม และวิธีการจัดการกับความเครียด สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้

ส่วนที่ 1 ข้อมูลสถานภาพทั่วไป
จากการศึกษาข้อมูลสถานภาพทั่วไปของนิสิต จำนวน 1,087 คน มีผลการศึกษา ดังนี้
1. เมื่อพิจารณาเพศ และ ระดับการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 69.40)
เพศชาย (ร้อยละ 30.36) ศึกษาในระบบปกติมากที่สุด (ร้อยละ 76.54) และระบบพิเศษ
(ร้อยละ 23.50) เป็นนิสิตชั้นปีที่ 2 มากที่สุด (ร้อยละ 29.44 )รองลงมา ชั้นปีที่ 3 (ร้อยละ 28.52)
ชั้นปีที่ 4 (ร้อยละ 24.10) และ ชั้นปีที่ 1 (ร้อยละ 17.94) ส่วนใหญ่เป็นนิสิตจากคณะการบัญชีและ
การจัดการ (ร้อยละ 22.82) รองลงมา วิทยาลัยการเมืองการปกครอง (ร้อยละ 12.42 ) และ
คณะวิทยาการสารสนเทศ (ร้อยละ 10.67 )
2. เมื่อพิจารณาถึงสถานภาพของบิดา-มารดา /ผู้ปกครอง และอาชีพของบิดา-มารดา
พบว่า ส่วนใหญ่ บิดา-มารดา อยู่ด้วยกัน (ร้อยละ 83.81) รองลงมาหย่าร้าง (ร้อยละ 7.08) บิดาเสียชีวิต (ร้อยละ 5.43) อาชีพบิดา ส่วนใหญ่ เป็นเกษตรกรรม (ร้อยละ46.27) รองลงมารับราชการ/
รัฐวิสาหกิจ (ร้อยละ 26.40) รับจ้าง (ร้อยละ 11.41) อาชีพมารดา ส่วนใหญ่ เป็นเกษตรกรรม
(ร้อยละ 47.56) รองลงมารับราชการ/รัฐวิสาหกิจ (ร้อยละ 17.94) และค้าขาย (ร้อยละ 15.18)
3. เมื่อพิจารณาถึงที่พักอาศัย และรายได้ต่อเดือนเพื่อใช้จ่ายขณะอยู่ในมหาวิทยาลัย
มหาสารคาม พบว่า ส่วนใหญ่อยู่หอพักเอกชน(ร้อยละ 36.80) รองลงมา หอพักมหาวิทยาลัย
(ร้อยละ 29.07) และหอพักเครือข่าย (ร้อยละ27.14 ) มีรายได้ต่อเดือนเพื่อใช้จ่ายขณะอยู่ใน
มหาวิทยาลัย 3,001 - 4,999 บาท มากที่สุด (ร้อยละ 57.96) รองลงคือ 5,000 - 9,999 บาท
(ร้อยละ 20.79) และน้อยกว่า 3,000 บาท (ร้อยละ 18.31) และ 10,000 บาทขึ้นไป (ร้อยละ 2.48)
ส่วนที่ 2 ระดับความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
จากการศึกษาระดับความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม สามารถสรุปผล
ได้ดังนี้
นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ส่วนใหญ่มีความเครียดอยู่ในระดับปกติ (ร้อยละ 69.80)
รองลงมา คือ ความเครียดระดับรุนแรง (ร้อยละ26.80) ความเครียดระดับต่ำ (ร้อยละ 3.10) และ
ความเครียดระดับเรื้อรัง (ร้อยละ 0.20)
ส่วนที่ 3 สาเหตุของความเครียด
จากการศึกษาสาเหตุของความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยจำแนกตาม
สาเหตุของความเครียดเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการเรียน ด้านสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัย
และด้านส่วนตัวและสังคม สามารถสรุปผลได้ดังนี้
3.1 ด้านการเรียน นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีความเครียดด้านการเรียนโดยรวม
อยู่ในระดับน้อย ( x = 2.50) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มี 5 ข้อที่เป็นสาเหตุให้นิสิตมี
ความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ เรียนไม่เข้าใจทำให้รู้สึกอึด
อัดและกังวลเรื่องผลการเรียน ( x = 2.98 ) รองลงมาคือ เตรียมตัวไม่พร้อมก่อนสอบ (x= 2.92)
อาจารย์ผู้สอนให้การบ้านมากและมีความกังวลกลัวส่งงานไม่ทันเนื่องจากเวลามีจำกัด ( x = 2.81)
เรียนไม่ทันเพื่อน ทำให้รู้สึกหนักใจ ( x = 2.76 ) และหนังสือหรือเอกสารประกอบการเรียนบาง
วิชามีน้อยทำให้รู้สึกหนักใจในการเตรียมตัวสอบ ( x = 2.61 ) และมี 6 ข้อ เป็นสาเหตุให้นิสิต
มีความเครียดอยู่ในระดับน้อย เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ไม่มีทางออกเมื่อเจอปัญหาเรื่อง
เรียน (x = 2.33) รองลงมาคือ ไม่สามารถเลือกเรียนบางรายวิชาตามที่ต้องการได้ ( x = 2.29)
อุปกรณ์เครื่องมือในห้องเรียนไม่ค่อยมีคุณภาพ ( x = 2.27) ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับการเรียน
แต่ละวิชาได้ ( x= 2.25) ไม่กล้าปรึกษาอาจารย์ผู้สอน ( = 2.22) และ เสียงโทรศัพท์
ดังทำให้รบกวนสมาธิในการเรียน ( x = 2.09)
3.2 ด้านสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัย นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
มีความเครียดด้านสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัย โดยรวมอยู่ในระดับน้อย ( x = 2.33 )
และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มี 2 ข้อ ที่เป็นสาเหตุให้นิสิตมีความเครียดระดับปานกลาง
เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ เพื่อนข้างห้องส่งเสียงดัง ( x= 2.66) และ หอพักไม่มี
ความปลอดภัยมีการลักขโมย ( x= 2.51) และมี 9 ข้อ เป็นสาเหตุให้นิสิตมีความเครียดอยู่ใน
ระดับน้อย เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ หอพัก/ที่อยู่อาศัย คับแคบและเสียงดังทำให้ไม่มี
สมาธิในการอ่านหนังสือ ( x = 2.49) รองลงมา ที่อ่านหนังสือไม่ค่อยมีต้นไม้ ( x= 2.42)
อาคารเรียนห่างไกลกันทำให้รู้สึกกังวลเวลาไม่สบาย ( x = 2.33) สถานพยาบาลอยู่ไกลทำให้รู้สึก
กังวลเวลาไม่สบายและสถานที่ออกกำลังกายภายในมหาวิทยาลัยมีน้อย เท่ากัน ( x = 2.30) มีที่นั่ง
อ่านหนังสือบริเวณตึกเรียนมีน้อย ( x = 2.26) ไม่มีที่พักผ่อนหย่อนใจเป็นส่วนตัวในบริเวณหอพัก
( x= 2.23) เพื่อนข้างห้องไมมีความเป็นมิตร ( x = 2.17) และชมรมมีน้อยไม่มีความหลากหลายตามความสนใจของนิสิต ( x= 1.94)
3.3 ด้านส่วนตัวและสังคม นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีความเครียดด้านส่วนตัว
และสังคม โดยรวมอยู่ในระดับน้อย ( x = 2.30) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มี 3 ข้อ ที่เป็น
สาเหตุให้นิสิตมีความเครียดระดับปานกลาง เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย กังวลใจเนื่องจาก
ค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นแต่มีรายได้เท่าเดิม ( x= 3.25) เกิดความกลัวว่าสิ่งที่คาดหวังยังไม่สำเร็จ
( x = 2.71) และ ไม่มีเงินเพียงพอในการใช้เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ ( x = 2.59) และมี 10 ข้อ
เป็นสาเหตุให้นิสิตมีความเครียดอยู่ในระดับน้อย เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ รู้สึกตัวเอง
บุคลิกไม่ดีไม่มีเสน่ห์ ( x = 2.37) รู้สึกประหม่าเมื่อต้องเข้าสังคมกับคนจำนวนมาก ( x = 2.30)
รู้สึกเป็นกังวลเนื่องจากป่วยบ่อยครั้งทำให้ต้องขาดเรียน ถูกกดดันให้ออกจากกลุ่มเพื่อน และเกิด
ความขัดแย้งระหว่างตนเองและครอบครัว เท่ากัน ( x = 2.24) ตื่นสายเข้าเรียนไม่ทันเป็นประจำ
( x = 2.17) รู้สึกรุ่นพี่ไม่ชอบหน้าและหมั่นไส้ ( x= 1.97) ไม่เป็นที่รู้จักของอาจารย์ผู้สอนหรือ
อาจารย์ที่ปรึกษา ( x= 1.96) ไม่ได้รับความไว้วางใจจากเพื่อนให้ทำหน้าที่หัวหน้ากลุ่ม
( x = 1.95) ไม่ได้รับความไว้วางใจจากรุ่นพี่ให้ทำหน้าที่หัวหน้ากลุ่ม ( x= 1.90)


ส่วนที่ 4 การจัดการกับความเครียด
จากการศึกษาการจัดการกับความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรียงลำดับ
จากมากไปหาน้อย 3 อันดับ สามารถสรุปผลได้ดังนี้
นิสิตจัดการกับความเครียดเป็นประจำเมื่อเกิดปัญหา อันดับที่ 1 พยายามระบายความเครียดหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยการฟังเพลง /เล่นเกมส์ / ดูหนัง อันดับที่ 2 ปรึกษาพ่อ-แม่
และอันดับที่ 3 พยายามระบายความเครียดหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยการเดินตลาดนัด ช็อปปิ้ง
นิสิตจัดการกับความเครียดเป็นบาง ครั้ง เมื่อเกิดปัญหา อันดับที่ 1 ทำอะไรก็ได้
เพียงเพื่อให้ปัญหาผ่านพ้นไป ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าจะได้ผล เตรียมพร้อมที่จะรับสถานการณ์ที่เลวร้าย
ที่สุด อันดับ 2 สร้างความเชื่อมั่นให้กับตนเอง และอันดับ 3 พยายามมองปัญหาอย่างรอบคอบ
ปราศจากอคติ

วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การเปิดรับสื่อโทรทัศน์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้า ของ เยาวชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี

รายงาน งานวิจัย
น.ส. อรพินท์ นราพิทยาธร
รหัส 50040001128 ปี 4/1(วารสาร)

งาน วิจัย
การเปิดรับสื่อโทรทัศน์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้า
ของ เยาวชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี

วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาการเปิดรับสื่อโทรทัศน์ของเยาวชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี
2. เพื่อศึกษาสภาพการตัดสินใจซื้อสินค้าของเยาวชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี
3. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาอุปสรรคในการรับสื่อโทรทัศน์ของเยาวชนในเขตเทศบาลนคร อุดรธานี

วิธีการดำเนินงานวิจัย
1. ประชากร
เยาวชนในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 22,255 คน ที่มีอายุตั้งแต่ 16-23 ปีขึ้นไป

2. กลุ่มตัวอย่าง
จะเก็บโดยพิจารณาขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ถ้าจำนวนเยาวชน 22,255 คน จำนวนเยาวชนของกลุ่มตัวอย่างจะอยู่ที่ 377 คน

3. วิธีการสุ่มตัวอย่าง
- สถาบันการศึกษา แบ่งออกเป็น
กลุ่มมัธยมศึกษาตอนปลาย 4 สถาบัน
กลุ่มปวช./ปวส. 4 สถาบัน
กลุ่มมหาวิทยาลัย 2 สถาบัน
- ทำการสุ่มตัวอย่าง โดยใช้การประมวลผล จากโปรแกรม Microsoft Excel

4.กรอบแนวคิดในการวิจัย
ในเขตเทศบาลมีการเปิดรับสื่อโทรทัศน์เกี่ยวกับการตัดสินใจซื้อสินค้า ในลักษณะของการมีอิทธิพลของสื่อในการตัดสินใจซื้อสินค้าของเยาวชนในเขต เทศบาลนครอุดรธานี

5. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
แบบสอบถาม โดยแบ่งออกเป็น 4 ตอน
ตอนที่ 1 เกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตอน ที่ 2 เกี่ยวกับพฤติกรรมการรับสื่อโทรทัศน์
ตอนที่ 3 เกี่ยวกับทัศนคติต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากโทรทัศน์
ตอนที่ 4 เกี่ยวกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการตัดสินใจซื้อสินค้า

6. ความน่าเชื่อถือของเครื่องมือ
นำแบบสอบถามที่ได้เรียบเรียงแล้วไปให้นักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ ตรวจสอบ แล้วนำไปทดสอบใช้กับกลุ่มประชาชนทั่วไป เพื่อทดสอบว่าคำถามแต่ละข้อสามารถสื่อความหมายได้ตรงตามที่ต้องการหรือไม่

7. การเก็บรวบรวมข้อมูล
ขอให้โปรแกรมวิชาออกหนังสือขอความอนุเคราะห์ในการให้ความร่วมมือตอบแบบสอบ ถาม

8. การประมวลผลข้อมูล
หลังจากเก็บรวบรวมข้อมูลเรียบร้อยแล้ว จะทำการลงรหัสข้อมูล และนำผลที่ได้ไปประมวลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์

9. วิเคราะห์ข้อมูล
นำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์ โดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูป


สรุป ผลการวิจัย
1. สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 18-19 ปี
2. พฤติกรรมการรับชมสื่อโทรทัศน์
- ส่วนใหญ่รับชมที่บ้าน
- เวลาที่ใช้ในการรับชม สื่อโทรทัศน์ 1-2 ชม.
- สถานีโทรทัศน์ที่ชื่นชอบมากที่สุด คือ ช่อง 3
3. ทัศนคติต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากโทรทัศน์
- ความพึงพอใจต่อข้อมูลสินค้าในรายการโทรทัศน์ ปานกลาง
- การตัดสินใจซื้อสินค้าจากสื่อโทรทัศน์ ปานกลาง
- ความน่าเชื่อถือของสินค้าในโฆษณา ปานกลาง
- การนำนักแสดงมาเป็นพีเซ็นเตอร์สินค้า มาก
- ภาพลักษณ์ของสินค้าที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ มาก
- ราคาสินค้ามีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า มาก


สิ่งที่ได้รับ จากงานวิจัย
- ทำให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าของเยาวชนในเขต เทศบาลนครอุดรธานี
- ทำให้ทราบพฤติกรรมการรับชมสื่อโทรทัศน์ของเยาวชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี

วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553

นางสาวสุภาภรณ์ เคนมิ่ง
รหัส 50040002141 ห้อง4/2
สรุปการวิจัย

เรื่อง พฤติกรรมการเปิดรับเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตและความพึงพอใจของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

- เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตของนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี
- เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมในการใช้อินเตอร์เน็ตของนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

สิ่งที่ได้รับจากงานวิจัย

- ทราบถึงพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตของนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี
- ทราบถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมในการใช้อินเตอร์เน็ตของนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

วิธีการดำเนินงาน

เก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ในปี 2552 จำนวน 400 คน


สรุปผลการดำเนินงาน

พฤติกรรมการเปิดรับเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตและความพึงพอใจของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถาม จำนวน 400 ชุด ผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถามด้วยตัวเองโดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ ดังนี้
1 คำนวนหาค่าเฉลี่ย ของข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามและพฤติกรรมการการใช้เทคโนโลยี อินเตอร์เน็ตโดยรวมเป็นรายข้อ
2 คำนวนหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัญหาการใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตและความพึงพอใจของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี โดยรวมเป็นรายด้าน
โดยผลการวิจัยเป็นดังนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 21-25 ปี รองลงมาคือ อายุมากกว่า 26 ปี ส่วนใหญ่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นปีที่ 3 และปีที่ 2 โดยส่วนใหญ่ศึกษาคณะวิทยาการจัดการ รองลงมาคือ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะเทคโนโลยี และคณะครุศาสตร์ส่วนใหญ่มีการสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ช่วงเวลาวันหยุด (เสาร์-อาทิตย์) รองลงมมาคือ ทุกวัน/เกือบทุกวัน โดยเวลาสืบค้นข้อมูลคือช่วงวันหยุด(เสาร์-อาทิตย์) เวลา 08.00 น. – 15.59 น . และเวลา 16.00 น. -23.59 น. ส่วนใหญ่ใช้ระยะเวลาในการสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต 1-2 ชั่วโมง และ 5 ชั่วโมงขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์ในการสืบค้นข้อมูล คือ ค้นหารายวิชาที่เปิดสอนเพื่อลงทะเบียน และ ค้นคว้าหาข้อมูลประกอบการทำรายงาน/วิจัย/โครงการ ส่วนสถานที่ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีที่สืบค้นข้อมูลส่วนใหญ่ คือ สำนักวิทยบริการ และ ศูนย์คอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังนิยมใช้สถานที่ในการสืบค้นข้อมูลที่หอพัก
ระดับความพึงพอใจในการใช้อินเตอร์เน็ตของผู้ตอบแบบสอบถามแบ่งความพึงพอใจออกเป็น 6 ด้าน โดยมีการแปรผลดังนี้

ความพึงพอใจในการใช้อินเตอร์เน็ตด้านการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ของผู้ตอบแบบสอบถามใน 3 ลำดับแรก ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการดาวน์โหลดคลิบวีดีโอ จัดอยู่ในเกณฑ์มากรองลงมาคือ การดาวน์โปรแกรมมาใช้งานจัดอยู่ในเกณฑ์มาก และการสื่อสารผ่านทาง E-mail จัดอยูในเกณฑ์มากเช่นกัน
ความพึงพอใจในการใช้อินเตอร์เน็ตด้านฮาร์ดแวร์ ของผู้ตอบแบบสอบถามใน 3 ลำดับแรก ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในความเพียงพอของเครื่องคอมพิวเตอร์ในร้านที่ไปใช้บริการ จัดอยู่ในเกณฑ์มาก รองลงมาคือ ความทันสมัยของเครื่องคอมพิวเตอร์ จัดอยู่ในเกณฑ์มาก และความเพียงพอของอุปกรณ์เสริมในร้านไปใช้บริการ จัดอยู่ในเกณฑ์มากเช่นกัน
ความพึงพอใจในการใช้อินเตอร์เน็ตด้านซอฟต์แวร์ ของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในความหลากหลายของโปรแกรมที่ติดตั้งประจำของแต่ละเครื่องในร้านที่ไปใช้บริการ จัดอยู่ในเกณฑ์มากเช่นกัน
ความพึงพอใจในการใช้อินเตอร์เน็ตด้านระบบการสื่อสาร ของผู้ตอบแบบสอบถามใน 3 ลำดับแรก ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในความเร็วของการดาวน์โหลดข้อมูล จัดอยู่ในเกณฑ์มาก รองลงมาคือ ความเร็วในการสื่อมัลติมีเดีย จัดอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง และความเร็วในการสนทนา(chat) จัดอยู่ในเกณฑ์ปานกลางเช่นกัน
ความพึงพอใจในการใช้อินเตอร์เน็ตด้านสภาพแวดล้อม ของผู้ตอบแบบสอบถามใน 3 ลำดับแรก ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในสถานที่ตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ในร้านที่ท่านไปใช้บริการจัดอยู่ในเกณฑ์มาก รองลงมาคือ ระดับแสงสว่างในร้านที่ท่านไปใช้บริการ จัดอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง และการจัดพื้นที่สัญจรไปมาในร้านที่ท่านไปใช้บริการ จัดอยู่ในเกณฑ์ปานกลางเช่นกัน
ความพึงพอใจในการใช้อินเตอร์เน็ตด้านบริการ ของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการติดตั้งกล้องวงจรปิด จัดอยู่ในเกณฑ์มาก รองลงมาคือ การเปิด-ปิดของร้านที่ให้บริการ จัดอยู่ในเกณฑ์มาก

บทความ

บทความ