วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สรุปงานวิจัยความเครียดและวิธีการกำจัดความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัยมสารคาม

ชื่อเรื่อง
ความเครียดและวิธีการกำจัดความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัยมสารคาม
วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาระดับความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัยสารคาม
2.เพื่อศึกษาสาเหตุของความเครียดและวิธีการจัดการความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัยสารคาม
วิธีการวิจัย
แบบสอบถามและการศึกษาจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความเครียดและวิธีการกำจัดความเครียด
วิธีการดำเนินการวิจัย
การวิจัย ความเครียดและวิธีการกำจัดความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัยสารคามผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาตามขั้นตอนต่างๆดังนี้
1.ประชากรกลุ่มตัวอย่าง
2.เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
3.การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
4.การเก็บรวบรวมข้อมูล
5.การจัดกระทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล
6.สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

สิ่งที่ได้จากการศึกษางานวิจัย
การวิจัยเรื่องความเครียดและวิธีการกำจัดความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัยสารคามทำให้ทราบรายละเอียดของความเครียดสาเหตุของความเครียดและวิธีการจักการความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัยสารคาม
ซึ่งผลการวิจัยพบว่า
1. นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ระบบปกติ ศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะการบัญชีและการจัดการ บิดา-มารดา อยู่ด้วยกัน และมีอาชีพเกษตรกรรม นิสิตส่วนใหญ่พักอยู่หอพักเอกชน รายได้ต่อเดือนพอใช้จ่ายขณะอยู่ในมหาวิทยาลัยพอใช้จ่าย จำนวน 3000-4999 บาท
2. นิสิตมหาวิทยาลัยสารคามส่วนใหญ่มีความเครียดระดับปกติ รองลงมามีความเครียดระดับรุนแรง ความเครียดระดับต่ำ และความเครียดระดับเรื้อรัง
3. นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามส่วนใหญ่ มีสาเหตุความเครียดโดยภาพรวมและรายด้าน 3 ด้านพบว่า
3.1นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามมีสาเหตุความเครียดด้านการเรียนโดยรวมอยู่ในระดับน้อย และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ จากมากไปน้อย 3 ระดับ คือ เรียนไม่เข้าใจทำให้รู้ศึกอึดอัดและกังวลเรื่องผลการเรียน รองลงมา เตรียมตัวไม่พร้อมก่อนสอบ และอาจารย์ผู้สอนให้การบ้านมากและมีความกังวลกลัวส่งงานไม่ทันเนื่องจากเวลาที่มีจำกัด
3.2 นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามมีสาเหตุของความเครียดด้านสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัย โดยรวมอยู่ในระดับน้อย และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ จากมากไปน้อย 3 ระดับ คือ เพื่อนข้างห้องส่งเสียงดัง รองลงมาหอพักไม่มีความปลอดภัย มีการลักขโมย และหอพักที่อยู่อาศัยคับแคบและเสียงดังทำให้ไม่มีสมาธิในการอ่านหนังสือ
3.3นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามมีสาเหตุของความเครียดด้านส่วนตัวและสังคมส่วนรวมอยู่ในระดับน้อย และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ จากมากไปน้อย 3 ลำดับ คือ กังวลใจเรื่องค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นแต่มีรายได้เท่าเดิม รองลงมา เกิดความกลัวว่าสิ่งที่คาดหวังยังไม่สำเร็จ และ ไม่มีเงินเพียงพอในการใช้พักผ่อนหย่อนใจ
4.การจัดการความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ส่วนมากที่ปฏิบัติเป็นประจำ คือ การพยายามระบายความเครียดหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยการฟังเพลง/เล่นเกมส์/ดูหนัง ที่ปฏิบัติเป็นบางครั้ง คือ ทำอะไรก็ได้เพื่อให้ปัญหาผ่านพ้นไป ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าจะได้ผล และเตรียมพร้อมที่จะรับสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด และที่ไม่เคยปฏิบัติ คือ พยายามระบายความเครียดหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยการร้องไห้คนเดียว















เกณฑ์ในการแปลผลค่าเฉลี่ย
ค่าเฉลี่ย ( x ) ระดับความเครียด
4.51 – 5.00 มากที่สุด
3.51 – 4.50 มาก
2.51 – 3.50 ปานกลาง
1.51 – 2.50 น้อย
1.00 – 1.50 น้อยที่สุด

ผลการศึกษา
จากการศึกษา เรื่อง ความเครียดและวิธีการจัดการความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัย
มหาสารคาม โดยศึกษาระดับความเครียดและ สาเหตุความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัย
มหาสารคาม 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการเรียน ด้านสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัย ด้านส่วนตัวและ
สังคม และวิธีการจัดการกับความเครียด สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้

ส่วนที่ 1 ข้อมูลสถานภาพทั่วไป
จากการศึกษาข้อมูลสถานภาพทั่วไปของนิสิต จำนวน 1,087 คน มีผลการศึกษา ดังนี้
1. เมื่อพิจารณาเพศ และ ระดับการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 69.40)
เพศชาย (ร้อยละ 30.36) ศึกษาในระบบปกติมากที่สุด (ร้อยละ 76.54) และระบบพิเศษ
(ร้อยละ 23.50) เป็นนิสิตชั้นปีที่ 2 มากที่สุด (ร้อยละ 29.44 )รองลงมา ชั้นปีที่ 3 (ร้อยละ 28.52)
ชั้นปีที่ 4 (ร้อยละ 24.10) และ ชั้นปีที่ 1 (ร้อยละ 17.94) ส่วนใหญ่เป็นนิสิตจากคณะการบัญชีและ
การจัดการ (ร้อยละ 22.82) รองลงมา วิทยาลัยการเมืองการปกครอง (ร้อยละ 12.42 ) และ
คณะวิทยาการสารสนเทศ (ร้อยละ 10.67 )
2. เมื่อพิจารณาถึงสถานภาพของบิดา-มารดา /ผู้ปกครอง และอาชีพของบิดา-มารดา
พบว่า ส่วนใหญ่ บิดา-มารดา อยู่ด้วยกัน (ร้อยละ 83.81) รองลงมาหย่าร้าง (ร้อยละ 7.08) บิดาเสียชีวิต (ร้อยละ 5.43) อาชีพบิดา ส่วนใหญ่ เป็นเกษตรกรรม (ร้อยละ46.27) รองลงมารับราชการ/
รัฐวิสาหกิจ (ร้อยละ 26.40) รับจ้าง (ร้อยละ 11.41) อาชีพมารดา ส่วนใหญ่ เป็นเกษตรกรรม
(ร้อยละ 47.56) รองลงมารับราชการ/รัฐวิสาหกิจ (ร้อยละ 17.94) และค้าขาย (ร้อยละ 15.18)
3. เมื่อพิจารณาถึงที่พักอาศัย และรายได้ต่อเดือนเพื่อใช้จ่ายขณะอยู่ในมหาวิทยาลัย
มหาสารคาม พบว่า ส่วนใหญ่อยู่หอพักเอกชน(ร้อยละ 36.80) รองลงมา หอพักมหาวิทยาลัย
(ร้อยละ 29.07) และหอพักเครือข่าย (ร้อยละ27.14 ) มีรายได้ต่อเดือนเพื่อใช้จ่ายขณะอยู่ใน
มหาวิทยาลัย 3,001 - 4,999 บาท มากที่สุด (ร้อยละ 57.96) รองลงคือ 5,000 - 9,999 บาท
(ร้อยละ 20.79) และน้อยกว่า 3,000 บาท (ร้อยละ 18.31) และ 10,000 บาทขึ้นไป (ร้อยละ 2.48)
ส่วนที่ 2 ระดับความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
จากการศึกษาระดับความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม สามารถสรุปผล
ได้ดังนี้
นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ส่วนใหญ่มีความเครียดอยู่ในระดับปกติ (ร้อยละ 69.80)
รองลงมา คือ ความเครียดระดับรุนแรง (ร้อยละ26.80) ความเครียดระดับต่ำ (ร้อยละ 3.10) และ
ความเครียดระดับเรื้อรัง (ร้อยละ 0.20)
ส่วนที่ 3 สาเหตุของความเครียด
จากการศึกษาสาเหตุของความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยจำแนกตาม
สาเหตุของความเครียดเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการเรียน ด้านสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัย
และด้านส่วนตัวและสังคม สามารถสรุปผลได้ดังนี้
3.1 ด้านการเรียน นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีความเครียดด้านการเรียนโดยรวม
อยู่ในระดับน้อย ( x = 2.50) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มี 5 ข้อที่เป็นสาเหตุให้นิสิตมี
ความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ เรียนไม่เข้าใจทำให้รู้สึกอึด
อัดและกังวลเรื่องผลการเรียน ( x = 2.98 ) รองลงมาคือ เตรียมตัวไม่พร้อมก่อนสอบ (x= 2.92)
อาจารย์ผู้สอนให้การบ้านมากและมีความกังวลกลัวส่งงานไม่ทันเนื่องจากเวลามีจำกัด ( x = 2.81)
เรียนไม่ทันเพื่อน ทำให้รู้สึกหนักใจ ( x = 2.76 ) และหนังสือหรือเอกสารประกอบการเรียนบาง
วิชามีน้อยทำให้รู้สึกหนักใจในการเตรียมตัวสอบ ( x = 2.61 ) และมี 6 ข้อ เป็นสาเหตุให้นิสิต
มีความเครียดอยู่ในระดับน้อย เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ไม่มีทางออกเมื่อเจอปัญหาเรื่อง
เรียน (x = 2.33) รองลงมาคือ ไม่สามารถเลือกเรียนบางรายวิชาตามที่ต้องการได้ ( x = 2.29)
อุปกรณ์เครื่องมือในห้องเรียนไม่ค่อยมีคุณภาพ ( x = 2.27) ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับการเรียน
แต่ละวิชาได้ ( x= 2.25) ไม่กล้าปรึกษาอาจารย์ผู้สอน ( = 2.22) และ เสียงโทรศัพท์
ดังทำให้รบกวนสมาธิในการเรียน ( x = 2.09)
3.2 ด้านสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัย นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
มีความเครียดด้านสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัย โดยรวมอยู่ในระดับน้อย ( x = 2.33 )
และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มี 2 ข้อ ที่เป็นสาเหตุให้นิสิตมีความเครียดระดับปานกลาง
เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ เพื่อนข้างห้องส่งเสียงดัง ( x= 2.66) และ หอพักไม่มี
ความปลอดภัยมีการลักขโมย ( x= 2.51) และมี 9 ข้อ เป็นสาเหตุให้นิสิตมีความเครียดอยู่ใน
ระดับน้อย เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ หอพัก/ที่อยู่อาศัย คับแคบและเสียงดังทำให้ไม่มี
สมาธิในการอ่านหนังสือ ( x = 2.49) รองลงมา ที่อ่านหนังสือไม่ค่อยมีต้นไม้ ( x= 2.42)
อาคารเรียนห่างไกลกันทำให้รู้สึกกังวลเวลาไม่สบาย ( x = 2.33) สถานพยาบาลอยู่ไกลทำให้รู้สึก
กังวลเวลาไม่สบายและสถานที่ออกกำลังกายภายในมหาวิทยาลัยมีน้อย เท่ากัน ( x = 2.30) มีที่นั่ง
อ่านหนังสือบริเวณตึกเรียนมีน้อย ( x = 2.26) ไม่มีที่พักผ่อนหย่อนใจเป็นส่วนตัวในบริเวณหอพัก
( x= 2.23) เพื่อนข้างห้องไมมีความเป็นมิตร ( x = 2.17) และชมรมมีน้อยไม่มีความหลากหลายตามความสนใจของนิสิต ( x= 1.94)
3.3 ด้านส่วนตัวและสังคม นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีความเครียดด้านส่วนตัว
และสังคม โดยรวมอยู่ในระดับน้อย ( x = 2.30) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มี 3 ข้อ ที่เป็น
สาเหตุให้นิสิตมีความเครียดระดับปานกลาง เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย กังวลใจเนื่องจาก
ค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นแต่มีรายได้เท่าเดิม ( x= 3.25) เกิดความกลัวว่าสิ่งที่คาดหวังยังไม่สำเร็จ
( x = 2.71) และ ไม่มีเงินเพียงพอในการใช้เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ ( x = 2.59) และมี 10 ข้อ
เป็นสาเหตุให้นิสิตมีความเครียดอยู่ในระดับน้อย เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ รู้สึกตัวเอง
บุคลิกไม่ดีไม่มีเสน่ห์ ( x = 2.37) รู้สึกประหม่าเมื่อต้องเข้าสังคมกับคนจำนวนมาก ( x = 2.30)
รู้สึกเป็นกังวลเนื่องจากป่วยบ่อยครั้งทำให้ต้องขาดเรียน ถูกกดดันให้ออกจากกลุ่มเพื่อน และเกิด
ความขัดแย้งระหว่างตนเองและครอบครัว เท่ากัน ( x = 2.24) ตื่นสายเข้าเรียนไม่ทันเป็นประจำ
( x = 2.17) รู้สึกรุ่นพี่ไม่ชอบหน้าและหมั่นไส้ ( x= 1.97) ไม่เป็นที่รู้จักของอาจารย์ผู้สอนหรือ
อาจารย์ที่ปรึกษา ( x= 1.96) ไม่ได้รับความไว้วางใจจากเพื่อนให้ทำหน้าที่หัวหน้ากลุ่ม
( x = 1.95) ไม่ได้รับความไว้วางใจจากรุ่นพี่ให้ทำหน้าที่หัวหน้ากลุ่ม ( x= 1.90)


ส่วนที่ 4 การจัดการกับความเครียด
จากการศึกษาการจัดการกับความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรียงลำดับ
จากมากไปหาน้อย 3 อันดับ สามารถสรุปผลได้ดังนี้
นิสิตจัดการกับความเครียดเป็นประจำเมื่อเกิดปัญหา อันดับที่ 1 พยายามระบายความเครียดหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยการฟังเพลง /เล่นเกมส์ / ดูหนัง อันดับที่ 2 ปรึกษาพ่อ-แม่
และอันดับที่ 3 พยายามระบายความเครียดหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยการเดินตลาดนัด ช็อปปิ้ง
นิสิตจัดการกับความเครียดเป็นบาง ครั้ง เมื่อเกิดปัญหา อันดับที่ 1 ทำอะไรก็ได้
เพียงเพื่อให้ปัญหาผ่านพ้นไป ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าจะได้ผล เตรียมพร้อมที่จะรับสถานการณ์ที่เลวร้าย
ที่สุด อันดับ 2 สร้างความเชื่อมั่นให้กับตนเอง และอันดับ 3 พยายามมองปัญหาอย่างรอบคอบ
ปราศจากอคติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น