วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สรุปงานวิจัย:ศึกษาความต้องการและความพึงพอใจต่อการมาใช้บริการคลินิกกาญจนาทันตแพทย์ อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู

การวิจัยเรื่องการศึกษาความต้องการและความพึงพอใจต่อการมาใช้บริการ คลินิกกาญจนาทันตแพทย์ อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู การวิจัยครั้งนี้ ใช้วิธีสุ่มเลือกประชาชน จำนวนประชากรในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ทั้งหมด 180,092 คน โดยสุ่มเลือกประชากร ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ในการวิจัยครั้งนี้ กับประชากรทุกเพศทุกวัย

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาความพึงพอใจ และ ความต้องการของผู้มาใช้บริการ คลินิกกาญจนาทันตแพทย์ อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้มาใช้บริการ ภายในอำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู
3. เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนบริการ หรือดำเนินโครงการสุขภาพช่องปาก ทั้งระยะสั้นและระยะยาว











ในการวิจัยเรื่อง ความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการ คลินิกกาญจนาทันตแพทย์ อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการเชิงสำรวจ ( Survey Research ) โดยดำเนินการวิจัยตามลำดับขั้น
1. การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ใช้วิธีสุ่มเลือกประชาชน จำนวนประชากรใน เขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ทั้งหมด 180,092 คน
โดยสุ่มเลือกประชาชนโดยง่าย คือ
1.1 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีเปรียบเทียบจากตารางสำเร็จของ เครอซีและเมอร์แกนเมื่อจำนวนประชากร เท่ากับ 180,092 คน จำนวนตัวอย่างควรจะเป็น จำนวนไม่ต่ำกว่า 384 คน ( อ้างอิงจาก เพ็ญแข แสงแก้ว, 2541:60-61 )
1.2 พิจารณากลุ่มประชากรในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู เพื่อให้การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างมีความสมดุลและสอดคล้องกับการกำหนดกลุ่มตัวอย่างของเครอซีและเมอร์แกน จึงใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ในการวิจัยครั้งนี้
1.3 ทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายกับประชากร ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู กับประชากรทุกวัย
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม เป็นแบบชนิดตรวจรายการมาตรปรมาณค่า และแบบปลายเปิด โดยทั้งหมดประกอบด้วย 3 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป มีจำนวน 5 ข้อ
ตอนที่ 2 ความต้องการของผู้มาใช้ทันตกรรมเป็นอย่างไร
ตอนที่ 3 ความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการคลินิกกาญจนาทันตแพทย์ อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู แบ่งออกได้ 5 ด้าน ดังนี้
1. ด้านคุณภาพการรักษา
2. ด้านการให้บริการคำแนะนำ
3. ด้านเวลา
4. ด้านราคาและอุปกรณ์ในการรักษา
5. ด้านสถานที่
การจัดทำข้อมูล กำหนด ( Code ) ลงในช่องท้ายข้อความคำถามโดยกำหนดเป็นค่าน้ำหนักในแต่ละระดับคำตอบในส่วนข้อคำถามที่เป็นแบบประมาณค่า โดยมีเกณฑ์ดังนี้
พอใจมากที่สุด มีค่าเท่ากับ 5
พอใจมาก มีค่าเท่ากับ 4
พอใจปานกลาง มีค่าเท่ากับ 3
พอใจน้อย มีค่าเท่ากับ 2
ไม่พอใจอย่างมาก มีค่าเท่ากับ 1
3. วิธีการสร้างเครื่องมือในการวิจัย
การสร้างเครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1. ศึกษาแนวคิด ทฤษีและหลักการจากเอกสารงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับความคิดเห็นของนักเรียน นักศึกษา ข้าราชการ และประชาชนทั่วไป ในเขตอำเภอเมือง และใกล้เคียงจังหวัดหนองบัวลำภู ที่มีความพึงพอใจในบริการของคลินิกกาญจนาทันตแพทย์
2. กำหนดกกรอบ เนื้อหา ความคิด และขอบข่ายในการสร้างเครื่องมือ จัดเป็นโครงสร้างของเครื่องมือ เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุปรสงค์
3. สร้างเครื่อมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม 2 ตอน
4. นำแบบสอบถาม เสนอผู้เชี่ยวชาญ ตรวจแก้ไขความเหมาะสม ความตรงของเนื้อหา โครงสร้างสำนวนภาษาที่ใช้เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข
5. นำแบบสอบถมไปทดลองใช้กับนักเรียน นักศึกษา ข้าราชการ และประชาชนทั่วไป ในเขตอำเภอเมือง และใกล้เคียง จังหวัดหนองบัวลำภู
6. นำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงแก้ไข ด้านสำนวนที่ใช้เพื่อให้นักเรียน นักศึกษาได้เข้าใจยิ่งขึ้น
7. ปรับปรุงแก้ไขแบบสอบถาม เพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษาวิจัยต่อไป


4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้เกบรวบรวมข้อมูลโดยใช้ผู้ช่วยวิจัย จำนวน 2 ท่าน โดยผู้วิจัยควบบคุมการเก็บรวบรวมข้อมูลทุกขั้นตอน โดยนำแบบสอบถามให้กับนักเรียน นักศึกษา ข้าราช และประชาชนทั่วไป ในเขตอำเภอเมือง และใกล้เคียง จังหวัดหนองบัวลำภู ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างได้กรอกและรอรับในวันเดียวกัน รวมเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล 4 สัปดาห์ โดยผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน
5. การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ วิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปเพื่อหาค่าสถิติ ดังต่อไปนี้
1. ข้อมูลที่จากแบบสอบถามเกี่ยวกับ ข้อมูลส่วนตัวของนักเรียน นักศึกษา ข้าราชการ และประชาชนทั่วไป แบบตรวจสอบรายการ นำมาแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ
2. ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามความคิดเห็นของ นักเรียน นักศึกษา ข้าราชการ และประชาชนทั่วไปในเขตอำเภอเมือง และใกล้เคียง จังหวัดหนองบัวลำภู นำมาแจกแจงความถี่ และหาเฉลี่ยร้อยละ
3. ข้อมูลที่ด้จากแบบสอบถามความพึงพอใจในบริการ ของคลินิกกาญจนาทันตแพทย์ แบบประมาณค่า วิเคราะห์ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
4. ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม ความต้องการของลูกค้าที่ต้องการจากทางร้าน ที่มีลักษณะแบบปลายเปิด รวบรวมและสรุปคววามคิดเห็น
6. การแปลความหมายค่าเฉลี่ย
ผู้วิจัยตั้งเกณฑ์ในการแปลความหมายค่าเฉลี่ยของคะแนนความพึงพอใจในบริการของคลินิกกาญจนาทันตแพทย์ ระดับความพึงพอใจ ดังนี้
1. คะแนนเฉลี่ย 1.00 – 1.49 หมายถึง มีระดับความพึงพอใจน้อยมาก
2. คะแนนเฉลี่ย 1.50 – 2.49 หมายถึง มีระดับความพึงพอใจน้อย
3. คะแนนเฉลี่ย 2.50 -3.49 หมายถึง มีระดับความพึงพอใจปานกลาง
4. คะแนนเฉลี่ย 3.50 – 4.49 หมายถึง มีระดับความพึงพอใจมาก
5. คะแนนเฉลี่ย 4.50 – 5.00 หมายถึง มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด


7. สถิติในการประมาลผลการวิจัย
ใช้โปรแปรม SPSS For Window เป็นสถิติประเภทร้อยละ และ ค่าเฉลี่ย


























สรุปผลการวิจัย
คิดเป็น ร้อยละ 100 มีเพศหญิงมาใช้บริการมากกว่าเพศชาย อายุของผู้มาใช้บริการมากที่สุด คือ อายุระหว่าง 16 – 26 ปี ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ส่วนใหญ่มีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาท
ประชากรส่วนใหญ่ไม่เคยไปพบทันตแพทย์ในรอบปี ความต้องการในการรักษาส่วนใหญ่ คือ การอุดฟัน ส่วนใหญ่ไม่เคยใช้บริการคลินิกทันตกรรมเอกชนเพราะมีค่าใช้จ่ายที่สูงและไม่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ ปัจจัยที่ประชาชนใช้บริการคลินิกกาญจนาทันตแพทย์ มากที่สุด คือ มีค่าใช้จ่ายและราคาที่เหมาะสม มีผู้แนะนำให้มาใช้บริการ การปฏิบัติระหว่างทันตแพทย์กับผู้ใช้บริการมีการปฏิบัติเป็นอย่างดี สาเหตุที่ประชนไม่ได้ไปพบทันตแพทย์ คือ ไม่มีเวลา สิทธ์ในการใช้บัติเบิกค่ารักษาพยาบาล พบว่า มีสิทธิ์ในการเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ เพราะส่วนใหญ่เป็นครอบครัวราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการ คลินิกกาญจนาทันตแพทย์ สูงสุดเป็นอันดับ 1 คือ อุปกรณ์และเครื่องมือมีความสะอาด ทันสมัย น่าเชื่อถือ ความพึงพอใจรองลงมา คือ ทันตแพทย์มีความยิ้มแย้มแจ่มใสและเป็นกันเอง ส่วนสถานที่ตั้งคลินิกกาญจนาทันตแพทย์ หาง่าย สะดวก เพราะอยู่ใกล้กับหน่วยงาน ร้านวีดีโอคนรักหนังและศูนย์บริการเอไอเอส
ความพึงพอใจในผลการรักษาแต่ละครั้ง พบว่า มีความพึงพอใจระดับปานกลาง ความพึงพอใจในที่จอดรถเพียงพอปลอดภัย มีพึงพอใจระดับปานกลางเพราะทางคลินิกกาญจนาทันตแพทย์ ไม่มีที่จอดรถสำหรับลูกค่าโดยเฉพาะ เช่นเดียวกับ ระดับความพึงพอใจในสนามหรือของเล่นให้เด็กเล่นระหว่างรอใช้บริการด้านทันตกรรม
ผู้ช่วยทันตแพทย์ให้การบริการด้วยความเต็มใจและย้มแย้มแจ่มใส มีความพึงพอใจระดับปานกลาง อาคาร สถานที่ สะอาด สวยงาม และเป็นระเบียบพอใช้ มีการจัดส่งเสริมการขายเป็นระยะและมีส่วนลดให้ในการใช้บริการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น