วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ทัศนคติและความพึงพอใจของประชาชน ในเขตเทศบาลนครอุดรธานีที่มีต่อก๊าซ LPG และ NGV

ก๊าซธรรมชาติ คือ ส่วนผสมของก๊าซไฮโดรคาร์บอน และสิ่งเจือปนต่างๆในสภาวะก๊าซ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่พบในธรรมชาติ ได้แก่ มีเทน อีเทน โพรเพน บิวเทน เพนเทน เป็นต้น สิ่งเจือปนอื่นๆที่พบในก๊าซธรรมชาติ ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจนไดซัลไฟด์ ฮีเลียม ไนโตรเจนและไอน้ำ เป็นต้น การที่ก๊าซธรรมชาติได้ชื่อว่าเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนเนื่องจากเป็นสารที่มีส่วนประกอบของอะตอม 2 ชนิด คือ ไฮโดรเจน (H) กับ คาร์บอน (C) รวมตัวกันในสัดส่วนของอะตอมที่ต่างๆกัน โดยเริ่มตั้งแต่สารประกอบไฮโดรคาร์บอนอันดับแรกที่มีคาร์บอนเพียง 1 อะตอม กับ ไฮโดรเจน 4 อะตอม มีชื่อเรียกโดยเฉพาะว่า "ก๊าซมีเทน"

Pipe Natural Gas หรือก๊าซธรรมชาติที่ขนส่งโดยทางท่อ
NGV หรือ Natural Gas for Vehicles คือ รูปแบบของการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์
LNG หรือ Liquefied Natural Gas ในการขนส่งก๊าซธรรมชาติจากแหล่งผลิตไปยังบริเวณที่ใช้ ปกติจะขนส่งโดยระบบท่อ

ดังที่กล่าวข้างต้นว่า ก๊าซธรรมชาติ มีก๊าซหลายอย่างประกอบเข้าด้วยกัน ซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์แตกต่างกันไป คือ ก๊าซมีเทน อีเทน โพรเพน และบิวเทน ก๊าซพวกนี้เป็นสารไฮโดรคาร์บอนทั้งสิ้น เมื่อจะเอามาใช้ต้องแยกก๊าซออกจากกันและกันเสียก่อน จึงจะใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ ในปัจจุบันประเทศไทยมีโรงแยก/แปรสภาพก๊าซธรรมชาติ 2 แห่งด้วยกันคือ - โรงแยกก๊าซธรรมชาติของการปิโตรเลียม แห่งประเทศไทย ต.มาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง - โรงแยกก๊าซธรรมชาติของการปิโตรเลียม แห่งประเทศไทย ต.ท้องเนียน อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช

รูปแบบเครื่องยนต์ที่ใช้ NGV
เครื่องยนต์ที่ใช้ NGV เป็นเชื้อเพลิงเพียงอย่างเดียว (Dedicated NGV)
ข้อดี : ส่วนใหญ่ออกแบบมาจากโรงงาน มีประสิทธิภาพ/สมรรถนะดี และ
: ราคาสูงและไม่มีความยืดหยุ่นในการใช้เชื้อเพลิง
เครื่องยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงได้สองประเภท ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีที่สำคัญ ได้แก่ - เครื่องยนต์ระบบเชื้อเพลิงสองระบบ (Bi-Fuel) เป็นเครื่องยนต์เบนซินที่ติดตั้งอุปกรณ์ใช้ก๊าซธรรมชาติ ถังก๊าซ เพิ่มเติมสามารถเลือกใช้เชื้อเพลิงได้ทั้งน้ำมันเบนซิน และ ก๊าซธรรมชาติ - เครื่องยนต์ระบบเชื้อเพลิงร่วม (Diesel Dual Fuel) เป็นเครื่องยนต์ดีเซลที่ติดตั้งอุปกรณ์ใช้ก๊าซฯและถังก๊าซ เช่นเดียวกับระบบเชื้อเพลิงสองระบบ (Bi-Fuel) ซึ่งต้องใช้น้ำมันดีเซลร่วมกับก๊าซธรรมชาติ โดยใช้น้ำมันดีเซลเป็นตัวจุดระเบิดนำร่อง
ข้อดี :   มีความยืดหยุ่นในการใช้เชื้อเพลิง และราคาติดตั้งอุปกรณ์ใช้ก๊าซธรรมชาติ ถูกกว่าการซื้อรถ
NGV ใหม่ ข้อเสีย : ไม่สามารถปรับเครื่องยนต์ให้เหมาะสมกับ NGV ได้อย่างสมบูรณ์

ส่วนใหญ่เลือกใช้น้ำมัน อยู่คิดเป็นร้อยละ 49.3 รองลงมาเลือกใช้ก๊าซ LPG คิดเป็น ร้อยละ 26.5 และ น้อยที่สุดคือก๊าซ NGV คิดเป็น ร้อยละ 2.3
ส่วนใหญ่เลือกใช้น้ำมันเบนซิน 91 ถึงร้อยละ 32.0 รองลงมาเป็นก๊าซ LPG คิดเป็น ร้อยละ 27.8 NGV คิดเป็น ร้อยละ 22.5 และ น้อยที่สุดคือ กลุ่มผู้เลือกใช้น้ำมันเบนซิน 95 ร้อยละ 8.8
ส่วนใหญ่ไม่ได้ติดตั้งร้อยละ 39.8 รองลงมาเป็นติดตั้งประมาณ 1 ปี ร้อยละ 30.8 และน้อยที่สุดคือ ติดตั้งมาน้อยกว่า 1 ปี ร้อยละ 11.8
ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าราคาก๊าซ LPG,NPG ไม่แพงร้ายละ 74.8 รองลงมาเป็นความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่คิดว่าแพง ร้อยละ 19.8 และน้อยที่สุดคือ หมายถึงไม่มีความคิดเห็นร้อยละ 5.5
ส่วนใหญ่แสดงความคิดเห็นว่าน้ำมันในปัจจุบันมีราคาแพงมากถึงร้อยละ 55.5 รองลงมาเป็น ราคาข่อนข้างแพง ร้อยละ 36.0 และน้อยที่สุดคือ ราคาค่อนข้างถูก ร้อยละ 1.0
ส่วนใหญ่เห็นว่าอุปสรรคในการตัดสินใจใช้ก๊าซ LPG,NGV คือกลัวถังก๊าซระเบิดไม่อยากเสี่ยงถึงร้อยละ 43.3 รองลงมาเป็นคิดติดตั้งมีราคาแพง ร้อยละ 38.0 และน้อยที่สุดคือ กลัวว่าจะทำประกันยากและเคลมยาก ร้อยละ 76.0
ส่วนใหญ่แสดงให้เห็นว่า NGV,LPG คือเป็นก๊าซธรรมชาติ ช่วยลดภาวะทางอากาศถึง ร้อยละ 59.5 รองลงมาเป็นก๊าซช่วยลดภาวะโลกร้อน ร้อยละ 56.0 และน้อยที่สดคือทำให้มีเงินเก็บมากขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้น ร้อยละ 17.3


ทัศนคติและความพึงพอใจของประชาชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี ที่มีต่อก๊าซ LPG,NGV ด้านระดับความพึงพอใจที่มีต่อก๊าซที่แสดงผลค่าเฉลี่ยเท่ากับ 88.08 ในขณะที่มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 18.14 ซึ่งเป็นทัศนคติที่มีต่อด้านระดับความพึงพอใจที่มีต่อก๊าซอยู่ในระดับที่ดี
ตอนที่ 4 เป็นคำถามเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการเติมก๊าซ
กลุ่มตัวอย่างที่คิดว่าอุปสรรคในการติดตั้งคือกลัว ถังก๊าซระเบิด ไม่อยากเสี่ยงคิดเป็นร้อยละ 43.3 ค่าติดตั้งมีราคาแพงคิดเป็นร้อยละ 38.0 สถานีบริการมีไม่เพียงพอและอยู่ไกล คิดเป็นร้อยละ 25.5 ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับรถยนต์คิดเป็นร้อยละ 23.3 ไม่มั่นใจในมาตรฐานการติดตั้งคิดเป็นร้อยละ 21.3 กลัวว่าจะทำประกันยากและเคลมยาก คิดเป็นร้อยละ16.0

วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553

งานวิจัยการเปิดรับข้อมูลข่าวสารไข้หวัดใหญ่ 2009 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

งานวิจัยการเปิดรับข้อมูลข่าวสารไข้หวัดใหญ่ 2009
ของประชาชนในเขตเทศบาลเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
ความสำคัญและที่มาของงานวิจัย
ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ที่มาสามารถระบาดได้กว้างขวาง และมีความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ โรคนี้มีชื่อภาษาอังกฤษ “Influenza” ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาละติน คือ Influentia (แปลว่า“Influence”ความชั่วร้ายจากดวงดาว) นายแพทย์ฉิปโปเครติ บิดาแห่งการแพทย์ปัจจุบันได้บันทึกโรคนี้ในปี ค.ศ. 131 ปี พ.ศ.2476 นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบเป็นครั้งแรกว่า โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นคนละชนิดกับไวรัสที่เป็นสาเหตุของการเป็นไข้หวัด ที่ห้องประชุมโรงแรมบ้านเชียง อ.เมือง จังหวัดอุดรธานี นายแพทย์สัญชัย ปิยะพงษ์กุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานีเป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการในการซ้อนแผนเตรียมความพร้อมรับการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ และไข้หวัดนก จังหวัดอุดรธานี ปี 2551 ให้กับหน่วยงานทุกภาคส่วนในระดับจังหวัดจำนวน 160 คน
นายแพทย์สัญชัย ปิยะพงษ์กุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า โรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดต่อโดยเชื้อไวรัสที่เกิดขึ้นเป็นประจำในประเทศทั่วโลก โดยเกิดการระบาดใหญ่เป็นระยะๆ ทุก 10-30 ปี ซึ่งทำให้ประชาชนต้องเจ็บป่วยและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ในประเทศไทยคาดการณ์ถ้ามีการเตรียมรับเป็นอย่างดี จะมีผู้ป่วยประมาณ 6.5 ล้านคน และอาจเสียชีวิตประมาณ 6,500 คน กรณีไม่มีการเตรียมความพร้อมจะมีผู้ป่วยประมาณ 26 ล้านคน และอาจเสียชีวิตประมาณ 260,000 คน หรือมากกว่านั้น “นอกจากนี้จะเกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม จิตวิทยา และความมั่นคงของประเทศอย่างมาก เชื้อที่เป็นสาเหตุของการระบาดแต่ละครั้ง เชื่อว่าเป็นเชื้อที่กลายพันธุ์มาจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในสัตว์ เช่นเชื้อไข้หวัดนก ในปี 2547 ประเทศไทยพบการระบาดของโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 ในสัตว์ปีกทั้งยังติดมาสู่คน ซึ่งเป็นสภาวะที่มีความเสี่ยงต่อการพัฒนาไปสู่ระยะการระบาดใหญ่ได้
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.เพื่อศึกษาการรับข้อมูลข่าวสารของประชาชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานีถึงการป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009
2.เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009ของประชาชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี
3.เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานีเกี่ยวกับผลการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเรื่องของการป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009



วิธีการดำเนินงานการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาถึงการเปิดรับข้อมูลข่าวสารไข้หวัดใหญ่ 2009 ประชากรในเขตเทศบาลอุดรธานีเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผู้วิจัยจึงได้กำหนดวิธีดังต่อไปนี้
1.ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรการวิจัยได้แก่ประชากรในเขตเทศบาลนครอุดรธานี จำนวน 400 คน
กำหนดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้วิธีการเทียบจากตารางสำเร็จของ เคร็คกีและมอร์แกน โดยกำหนดความเชื่อมั่น 95 %
2.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ซึ่งผู้วิจัยดำเนินการสร้างขึ้นจากการค้นคว้าและการดัดแปลงเอกสารงานวิจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง และสอดคล้องกับแนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัยโดยลำดับขั้นตอน
3.การทดสอบความน่าเชื่อถือของเครื่องมือ
3.1.นำแบบสอบถามไปหาความเที่ยงตรง โดยนำแบบสอบถามที่ได้เรียบเรียงแล้วไปให้นักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหา
3.2.นำแบบสอบถามที่ได้แก้ไขแล้วไปทดสอบความเชื่อมั่น โดยนำแบบสอบถามไปทดสอบใช้กับกลุ่มประชาชนที่ไม่ได้เลือกเป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 510 ชุด
4.การเก็บรวบรวมข้อมูล
4.1.ดำเนินเก็บข้อมูล โดยให้ประชาชนตอบแบบสอบถาม
4.2.ตรวจสอบความถูกต้อง ลงรหัสและนำไปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
5.เกณฑ์การให้คะแนนเพื่อการวิเคราะห์
การให้คะแนนตอบที่ให้จากแบบสอบถามในการวัดตัวแปร เพื่อคำนวณค่า ทางสถิติจะถือตามความหมายในการกำจัดความนิยามศัพท์เป็นเกณฑ์ดังนี้
ความคิดเห็นในการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร จากคำตอบ ให้ค่าคะแนนดังนี้
ตอบ 1 คะแนน
ไม่ตอบ 0 คะแนน
6.การประมวลผลข้อมูล
หลังจากเก็บรวบรวมข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ผู้วิจัยจะทำการลงรหัสข้อมูลแล้วนำผลที่ได้ไปประมวลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC
7.การวิเคราะห์ข้อมูล
7.1.ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบใช้สถิติค่าร้อยละ (Percentiles) โดยคำนวณในจากหลักสูตรดังต่อไปนี้

F x 100
สูตร P=
n

เมื่อ P แทน ค่าร้อยละ
F แทน จำนวนหรือความถี่ที่ต้องการหาค่าร้อยละ
N แทน จำนวนข้อมูลทั้งหมด
7.2.ข้อมูลเกี่ยวกับการเปิดรับข้อมูลข่าวสารไข้หวัดใหญ่ 2009 ของประชาชนในเทศบาลอุดรธานีใช้สถิติ ( X ,Mean )และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D Standard Deviaition)
1.ค่าเฉลี่ย Mean โดยคำนวณจกสูตรดังต่อไปนี้

∑fx
____
สูตร X=
N

7.3.เกณฑ์ที่ใช้แปรผล
เกณฑ์ในการแปรผลการวิเคราะห์ข้อมูลพิจารณาค่าเฉลี่ยของข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารไข้หวัด 2009 ของประชากรในเขตเทศบาลเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานีด้วยการแปรเป็นเชิงปริมาณโดยค่าเฉลี่ย (X,Mean) ซึ่งแบ่งได้ 5 ระดับ
7.3.1. มากที่สุด
7.3.2. มาก
7.3.3. ปานกลาง
7.3.4. น้อย
7.3.5. น้อยที่สุด






สรุปผลงานวิจัย
1.ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
1.1.จากการศึกษาลักษณะทั่วไปของประชาชนในการเปิดรับข้อมูลข่าวสารไข้หวัดใหญ่ 2009 ส่วนใหญ่คือเพศ หญิงจำนวน 231 คนคิดเป็นร้อยละ 57.8 เพศชาย จำนวน 169 คน
คิดเป็นร้อยละ 42.3
1.2.จากการศึกษาลักษณะทั่วไปของประชาชนในการเปิดรับข้อมูลข่าวสารไข้หวัดใหญ่ 2009 ส่วนใหญ่มีอายุ19-21 ปีจำนวน111คน คิดเป็นร้อยละ 27.8รองลงมาคือ 21-24 ปี จำนวน 109 คน คิดเป็นร้อยละ 27.3 อายุ 25 ปีขึ้นไป จำนวน 82 คน คิดเป็นร้อยละ 20.5 ต่อมาอายุ 16-18 ปี จำนวน 72 คน คิดเป็นร้อยละ 18.0 และอายุ12-15 ปี จำนวน 26 คน
คิดเป็นร้อยละ 6.5
1.3.จากการศึกษาลักษณะทั่วไปของประชาชนในการเปิดรับข้อมูลข่าวสารไข้หวัดใหญ่ 2009 ส่วนใหญ่มีอาชีพนักศึกษา จำนวน 227 คน คิดเป็นร้อยละ 56.8 รองลงมา นักเรียน จำนวน 75 คน คิดเป็นร้อยละ 18.8 ค้าขาย 68 คน คิดเป็นร้อยละ 17.0 ต่อมา นักธุรกิจ จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 3.5 อื่นๆ จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 2.3
และรับราชการ 7 คน คิดเป็นร้อยละ 1.8
1.4.จากการศึกษาลักษณะทั่วไปของประชาชนในการเปิดรับข้อมูลข่าวสารไข้หวัดใหญ่ 2009 ส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับบิดา มารดา จำนวน 166 คน คิดเป็นร้อยละ 41.5 รองลงมามาเพื่อน จำนวน 108 คน คิดเป็นร้อยละ 27.0 อื่นๆ จำนวน 56 คน คิดเป็นร้อยละ 14.0 ต่อมา ญาติ จำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 11.5 บิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 4.5 และเฉพาะพี่น้อง จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 2.0
1.5.จากการศึกษาลักษณะทั่วไปของประชาชนในการเปิดรับข้อมูลข่าวสารไข้หวัดใหญ่ 2009 ส่วนใหญ่ลักษณะที่พักอาศัยอยู่บ้าน จำนวน 229 คน คิดเป็นร้อยละ 57.3 รองลงมา หอพักจำนวน 87 คน คิดเป็นร้อยละ 21.8 บ้านเช่า จำนวน 69 คน คิดเป็นร้อยละ 17.3 ต่อมาอพาร์ตเม้น จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 2.8 และอื่น ๆ จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 1.0





2.พฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารไข้หวัดใหญ่ 2009
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการเปิดรับข้อมูลข่าวสารไข้หวัดใหญ่ 2009 ของระชาชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานีพบว่า
2.1.ประชาชนส่วนใหญ่มีความรู้ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 45.3 รองลงมาคือมาก คิดเป็นร้อยละ 26.3 ปานกลางคิดเป็นร้อยละ 25.3 ต่อมาน้อย คิดเป็นร้อยละ 2.3 และน้อยที่สุดคิดเป็นร้อยละ 1.0
2.2.ประชาชนส่วนใหญ่มีการรับมือกับไข้หวัด 2009 ใช้หน้ากากอนามัย คิดเป็นร้อยละ 72.0 ลำดับที่ 2 หมั่นล้างมือบ่อยๆ คิดเป็นร้อยละ65.8 ลำดับที่ 3 เมื่อรู้สึกไม่สบายให้ไปหาหมอทันที คิดเป็นร้อยละ 29.3 ลำดับที่ 4ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วย คิดเป็นร้อยละ 23.3 และลำดับสุดท้ายอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 5.0
2.3.ประชาชนส่วนใหญ่กลัวการติดเชื้อ กลัวมากที่สุด ร้อยละ 19.8 กลัวมาก ร้อยละ 50.8 ปานกลาง ร้อยละ 22.0 กลัวน้อย ร้อยละ 2.5 กลัวน้อยที่สุด 5.0
2.4.ประชาชนส่วนใหญ่ ได้รับข้อมูลข่าวสารไข้หวัดใหญ่ 2009 จากโทรทัศน์ ร้อยละ 89.0 หนังสือพิมพ์ ร้อยละ 34.0 อินเตอร์เน็ต ร้อยละ 31.3 วิทยุ ร้อยละ 22.8 คนใกล้ชิด ร้อยละ 19.8
2.5.ประชาชนส่วนใหญ่มีวิธีการป้องกัน ใส่หน้ากากอนามัย คิดเป็นร้อยละ 78.0 กินช้อนกลาง ร้อยละ 59.5 ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ ร้อยละ 47.0ไม่เข้าใกล้คนที่ติดเชื้อ ร้อยละ 33.0 อื่นๆ ร้อยละ 7.3
2.6.ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้รับการแพร่ระบาด ร้อยละ 61.5 ได้รับ ร้อยละ 38.5 ตามลำดับ
2.7.ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจเกี่ยวกับข้อมูล การป้องกันร้อยละ 73.3 รองลงมา การแพร่เชื้อและการติดเชื้อ ร้อยละ 21.0 ยาชนิดที่สามารถรักษาโรคไข้หวัด 2009 ร้อยละ 5.5 สุดท้ายอื่นๆร้อยละ 0.3
3.สภาพความพึงพอใจในการเปิดรับข้อมูลข่าวสารไข้หวัดใหญ่ 2009 ในเขตทศบาลนครอุดรธานี
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการเปิดรับข้อมูลข่าวสารไข้หวัดใหญ่ 2009 ในเขตทศบาลนครอุดรธานี
พบว่าสภาพความพึงพอใจในการเปิดรับข้อมูลข่าวสารไข้หวัดใหญ่ 2009 ของประชาชนในเขตเทศบาลนครออุดรธานี ศึกษาพบว่าประชาชนมีความพึงพอใจในการเปิดรับข้อมูลข่าวสารมากที่สุด ความพึงพอใจต่อการเปิดรับข้อมูลข่าวสารไข้หวัดใหญ่ 2009 มากที่สุด ร้อยละ 44.8 และน้อยที่สุด ร้อยละ 0.5 ความพึงพอใจต่อการรักษาไข้หวัด 2009 มากที่สุด ร้อยละ 50.5 และน้อยที่สุด ร้อยละ 0.5 ความพึงพอใจต่อการควบคุมการป้องกันไข้หวัด 2009มากที่สุด ร้อยละ 51.0 และน้อยที่สุด ร้อยละ0.3 ความพึงพอใจต่อการควบคุมการแพร่ระบาดไข้หวัดใหญ่ 2009 มากที่สุด ร้อยละ 54.8 และน้อยที่สุด ร้อยละ 2.8

สรุปรวมผลการวิจัย
จากการวิจัยจะพบได้ว่าประชาชนส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับไข้หวัดใหญ่ 2009 มากที่สุด คือการเปิดรับข้อมูลข่าวสารไข้หวัดใหญ่ 2009 และรองลงมาคือการป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009 โดยการใช้หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อถ้าคิดเป็น ร้อยละ 78.0 กินช้อนกลาง ร้อยละ 59.5 ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ ร้อยละ 47.0
จากการวิจัยเกี่ยวกับการเปิดรับข้อมูลข่าวสารไข้หวัดใหญ่ 2009 พบได้ว่าประชาชน มีความสนใจในการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร มีการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 และการควบคุมการแพร่ระบาดของไข้หวัดเป็นกันมาก เพราะประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพกันอย่างดี
สิ่งที่ได้รับจากการวิจัย
1.ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเปิดรับข้อมูลข่าวสารของไข้หวัดใหญ่ 2009 ของประชาชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี
2.ได้เรียนรู้วิธีการป้องกันไข้หวัดใหญ่2009ของประชาชนในเขตเทศบาลนคร อุดรธานี
3.ได้เรียนรู้ถึงความพึงพอใจของประชาชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานีเกี่ยวกับผลการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเรื่องของการป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009

วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553

ชื่อผลงานวิจัย การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็นแบบสมบูรณ์เพื่อพัฒนาครูมืออาชีพ

ชื่อผลงานวิจัย การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็นแบบสมบูรณ์เพื่อพัฒนาครูมืออาชีพ
หัวข้อ(Eng) A COMPLETE NEEDS ASSESSMENT RESEARCH FOR PROFESSIONAL
คำสำคัญ(keyword) การประเมินความต้องการจำเป็นแบบสมบูรณ์/ครูมืออาชีพ
ชื่อผู้วิจัย พิมพ์ลักษณ์ เฮงสมบูรณ์
ชื่อผู้วิจัย(Eng) Pimluck Hengsomboon
ตำแหน่ง นิสิต
การศึกษา ปริญญาโท
สถานที่ติดต่อ 2506/18-19 JJ-House ถนนดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
สถานศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปี 2551


ประวัติความเป็นมา (History)
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ให้ความสำคัญในการพัฒนาครูและคุณภาพของครูดังปรากฏในหมวด 7 (มาตรา 52) ที่มุ่งเน้นการพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูงและกำหนดให้มีองค์กรวิชาชีพครูมีอำนาจหน้าที่กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพครูเป็นการให้ความสำคัญกับการปฏิบัติงานของครูให้สอดคล้องกับมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพเพื่อให้การปฏิบัติงานของครู อาจารย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ (สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา, 2544) โดยให้มีการปฏิรูปกระบวนการพัฒนาครูที่มีอยู่ควบคู่กับการปรับปรุงกระบวนการผลิต เพื่อให้ได้คนดีคนเก่งมาเป็นครู ความจำเป็นที่ต้องมีการปฏิรูปการศึกษาโดยเฉพาะการปฏิรูปครู ตั้งแต่กระบวนการผลิตครู กระบวนการใช้ครู การพัฒนาและการรักษามาตรฐานวิชาชีพครู เนื่องมาจากครูยังไม่มีคุณลักษณะตามที่สังคมต้องการและครูยังไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์จนเกิดปัญหากับครูประกอบกับสภาพสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จึงต้องมีการพัฒนาครูเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจากผลงานวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติร่วมกับสวนดุสิตโพล 2545 (อ้างถึงในไพลวัลย์ ชินโณ, 2547) พบว่า คุณภาพของครู ความรู้ ความสามารถ ความศรัทธา อุดมการณ์ และเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพครู อยู่ในระดับที่ควรปรับปรุงแก้ไข และต้องเร่งพัฒนา ด้วยความตระหนักในความสำคัญของการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับการพัฒนาครูในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว คุรุสภาในฐานะสถาบันวิชาชีพครูจึงได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู ครูจึงต้องปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เห็นได้ว่าปัญหาต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น เป็นต้นเหตุที่นำไปสู่การปฏิบัติงานของครูที่ไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพของงานที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างมากและเป็นขั้นตอนในการวางแผนการพัฒนาบุคลากร คือ การประเมินความต้องการจำเป็นการประเมินความต้องการจำเป็น (needs assessment) เป็นกระบวนการเพื่อกำหนดความแตกต่างระหว่างสภาพที่มุ่งหวัง (what should be) กับสภาพที่เป็นอยู่จริง (what is) (สุวิมล ว่องวาณิช, 2548) โดยระบุสิ่งที่ต้องการให้เกิดว่ามีลักษณะเช่นใด และประเมินสิ่งที่เกิดขึ้นจริงว่าสมควรเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาว่ามีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูมืออาชีพในการปฏิบัติงานด้านใด ปัจจัยใดที่ส่งผลต่อความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูมืออาชีพและทางเลือกในการแก้ปัญหาความต้องการจำเป็นมีอะไรบ้าง ทางเลือกใดมีความเหมาะสม เพื่อให้การพัฒนาครูเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพและพัฒนาเป็นครูมืออาชีพต่อไป
วัตถุประสงค์(Objective)
1. เพื่อกำหนดความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูมืออาชีพ
2. เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยสาเหตุที่ส่งผลต่อความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูมืออาชีพ
3. เพื่อวิเคราะห์ทางเลือกในการแก้ปัญหาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูมืออาชีพที่
กลุ่มตัวอย่าง(Sample)
ครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 440 คน
เครื่องมือ (Tool)
แบบสอบถาม
การวิเคราะห์ (Analysis)
วิเคราะห์ระดับการปฏิบัติงานของครูด้วยสถิติพื้นฐาน การประเมินความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของครูโดยใช้ดัชนี (PNIModified) วิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุด้วยค่าสถิติพื้นฐาน วิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได้ โดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows และตรวจสอบความตรงของโมเดลเชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูมืออาชีพในการปฏิบัติงาน และโมเดลแนวทางการพัฒนาครูที่ส่งผลต่อความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูมืออาชีพในการปฏิบัติงาน ด้วยโปรแกรม ลิสเรล (LISREL for Windows) และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)
ข้อสรุป (Summary)
1. การปฏิบัติงานของครูมืออาชีพ จำแนกตามแต่ละด้านของการปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานของครูมืออาชีพด้านการวางแผนและการเตรียมการสอน ด้านการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านความรับผิดชอบในวิชาชีพอยู่ในระดับค่อนข้างสูง เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า ด้านที่ครูมีการปฏิบัติค่อนข้างสูงที่สุด คือ การจัดการเรียนการสอน รองลงมา คือ การวางแผนและการเตรียมการสอน ตามด้วยการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน และความรับผิดชอบในวิชาชีพเป็นด้านที่ครูมีการปฏิบัติน้อยที่สุด
2. การประเมินความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของครูมืออาชีพ
1) ความต้องการจำเป็นในการวางแผนและการเตรียมการสอนที่สำคัญที่สุด คือ การกำหนดให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ รองลงมา ได้แก่ การสืบค้นข้อมูลและแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมจากชุมชนและท้องถิ่น
2) ความต้องการจำเป็นในการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่สำคัญที่สุด คือ การจัดมุมการเรียนรู้ในห้องเรียนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกันอย่างสนุกสนาน รองลงมา ได้แก่ การร่วมกันจัดป้ายนิเทศและมุมการเรียนรู้ภายในห้องเรียน
3) ความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนที่สำคัญที่สุด คือ การใช้สื่อการสอนที่เหมาะสมกับกิจกรรม เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละบุคคล/แต่ละกลุ่ม รองลงมา ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิดและร่วมกันอภิปรายในหัวข้อเรื่องที่ท่านทำการสอนอยู่
4) ความต้องการจำเป็นในความรับผิดชอบในวิชาชีพที่สำคัญที่สุด คือ การเป็นตัวแทนของโรงเรียนในการเป็นวิทยากรให้ความรู้กับประชาชนในชุมชน รองลงมา ได้แก่ การเผยแพร่ผลงานเกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนการสอนให้แก่เพื่อนครู/หน่วยงานอื่นที่สนใจและเกี่ยวข้อง โดยสรุป เมื่อพิจารณาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูมืออาชีพในการปฏิบัติงานในแต่ละด้าน พบว่า ด้านความรับผิดชอบในวิชาชีพ เป็นด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุดที่ครูควรได้รับการพัฒนา รองลงมา ได้แก่ การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน การวางแผนและการเตรียม การสอน และการจัดการเรียนการสอน ตามลำดับ
3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูมืออาชีพในการปฏิบัติงาน เมื่อพิจารณาอิทธิพลรวมที่ส่งผลต่อปัจจัยความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูมืออาชีพในการปฏิบัติงาน (NEEDS) ในตารางที่ 4.19 พบว่า ปัจจัยด้านตัวครู ส่งผลต่อความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูมืออาชีพในการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีขนาดอิทธิพลทางลบและมีค่าน้ำหนักเท่ากับ 0.73 โดยค่าน้ำหนักองค์ประกอบของตัวแปรสังเกตได้ของตัวแปรแฝงภายนอกด้านตัวครู ทุกตัวมีค่าแตกต่างจากศูนย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยตัวแปรที่ส่งผลต่อความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูมากที่สุด คือ ทัศนคติในการปฏิบัติงาน มีค่าขนาดอิทธิพลเท่ากับ 1.00 รองลงมา คือ ชีวิตครอบครัว มีค่าขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.99 ภาระงานของครู มีค่าขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.87 และแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน มีค่าขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.83 กล่าวคือ ครูที่มีทัศนคติที่ดีในการปฏิบัติงาน มีชีวิตครอบครัวที่ดี มีภาระงานที่ต้องรับผิดชอบมาก และมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานมาก มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูมืออาชีพในการปฏิบัติงานน้อย ส่วนปัจจัยด้านภูมิหลัง ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม พบว่า ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า ปัจจัยด้านภูมิหลังและปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมไม่มีอิทธิพลต่อตัวแปรความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูมืออาชีพในการปฏิบัติงาน โดยโมเดลเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการปฏิบัติงานของครูที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยให้ค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 59.11 ที่องศาอิสระเท่ากับ 56 ที่ระดับความน่าจะเป็นเท่ากับ 0.36264 มีค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.98 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.96 และค่าดัชนีกำลังสองของส่วนเหลือ (RMR) เท่ากับ 0.02 ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูมืออาชีพได้ ร้อยละ 7 4. แนวทางในการแก้ไขปัญหาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูมืออาชีพในการปฏิบัติงาน จากการวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาครูมืออาชีพในการปฏิบัติงานด้วยโปรแกรมลิสเรล พบว่า ตัวแปรแนวทางการพัฒนาครู มีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.08 ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ตัวแปรสังเกตได้ของตัวแปรแฝงภายนอกแนวทางการพัฒนาครู ทุกตัวมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยแนวทางการพัฒนาครูด้วยการมีพี่เลี้ยง/ผู้เชี่ยวชาญแนะนำงาน มีค่าขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.94 ซึ่งมีความสำคัญและมีแนวโน้มที่จะเป็นแนวทางการพัฒนาครูได้ดีที่สุด รองลงมา คือ การสัมมนาวิชาการ มีค่าขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.83 การฝึกอบรมโดยบุคลากรภายนอก มีค่าขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.74 การศึกษาดูงาน มีค่าขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.70 การจัดสัปดาห์วิชาการ มีค่าขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.70 การฝึกอบรมโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา มีค่าขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.66 การปะชุมเชิงปฏิบัติการ มีค่าขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.62 การฝึกอบรมโดยหน่วยงานเอกชน มีค่าขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.58 และการฝึกอบรมโดยบุคลากรภายในโรงเรียน มีค่าขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.54 ซึ่งเป็นแนวทางที่มีแนวโน้มน้อยที่สุดในการพัฒนาครู โดยโมเดลแนวทางการพัฒนาครูมืออาชีพในการปฏิบัติงานที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยให้ ค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 47.21 ค่าองศาอิสระเท่ากับ 42 ที่ระดับความน่าจะเป็นเท่ากับ 0.26804 มีค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.98 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.96 และค่าดัชนีกำลังสองของส่วนเหลือ (RMR) เท่ากับ 0.03 ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของแนวทางการพัฒนาครูได้ร้อยละ 1 และเมื่อดูจากข้อมูลเชิงบรรยาย พบว่า ตัวแปรที่คาดว่าจะเป็นแนวทางการพัฒนาครูมากที่สุด คือ การฝึกอบรมโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

ข้อเสนอแนะ(Suggestion)
1.การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเฉพาะครูในเขตกรุงเทพมหานคร จึงน่าจะมีการศึกษาการพัฒนาการปฏิบัติงานของครูมืออาชีพในส่วนภูมิภาคที่มีความแตกต่างกันของสภาพแวดล้อมของโรงเรียนด้วย เพื่อให้ได้ข้อสารสนเทศที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
2.จากการศึกษาที่พบว่าครูมีความต้องการจำเป็นในด้านความรับผิดชอบในวิชาชีพมากที่สุด ดังนั้นจึงควรมีการศึกษาและวิจัยรูปแบบที่เหมาะสมในการดำเนินการพัฒนาด้านความรับผิดชอบในวิชาชีพของครูเพื่อให้การพัฒนาการปฏิบัติงานของครูเกิดประโยชน์สูงสุด
3.ผลการวิเคราะห์โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูในครั้งนี้ พบว่า ตัวแปรในโมเดลสามารถร่วมอธิบายความแปรปรวนของการพัฒนาครูได้ค่อนข้างต่ำ ดังนั้นจึงน่าจะมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อค้นหาตัวแปรประเภทอื่นที่จะส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครู
4.ในการวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการศึกษาถึงแนวทางการพัฒนาครูในส่วนของการพัฒนาครู ให้ครูมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติงาน และควรที่จะนำแนวทางที่ได้ไปทำการทดลองปฏิบัติ และทำการทดสอบเพื่อเปรียบเทียบถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของแนวทางการพัฒนาครู

วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

พฤติกรรมการเปิดรับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและความพึงพอใจของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

สรุปการวิจัยเรื่อง
“พฤติกรรมการเปิดรับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและความพึงพอใจของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี”



การวิจัยเรื่อง “พฤติกรรมการเปิดรับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและความพึงพอใจของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี” เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามจำนวน
400 ชุด ผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถามด้วยตนเอง โดยนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ดังนี้
1.คำนวณหาค่าเฉลี่ยของข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม และพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต โดยรวมเป็นรายข้อ
2.คำนวณหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัญหาการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต และความพึงพอใจการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต โดยรวมเป็นรายด้าน
โดยผลการวิจัยเป็นดังนี้
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 21-25 ปี รองลงมา คือ อายุมากกว่า 26 ปี ส่วนใหญ่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นปีที่ 3 และปีที่ 2 โดยส่วนใหญ่ศึกษาคณะวิทยาการจัดการ รองลงมา คือ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ , คณะเทคโนโลยี และคณะครุศาสตร์
ส่วนใหญ่มีการสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต 2-3 ครั้ง ต่อสัปดาห์ช่วงเวลาวันหยุด (เสาร์-อาทิตย์) รองลงมา คือ ทุกวัน/เกือบทุกวัน โดยเวลาที่สืบค้นคือช่วงวันหยุด (เสาร์-อาทิตย์) เวลา 08.00 น. – 15.59 น. และ เวลา 16.00 น. – 23.59 น. ส่วนใหญ่ใช้ระยะเวลาในการสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต 1-2 ชั่วโมง และ 5 ชั่วโมงขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์ในการสืบค้นข้อมูล คือ ค้นหารายวิชาที่เปิดสอนเพื่อลงทะเบียน และ ค้นคว้าหาข้อมูลประกอบการทำรายงาน/วิจัย/โครงการ ส่วนสถานที่ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีที่สืบค้นข้อมูลส่วนใหญ่ คือ ที่สำนักวิทยบริการ และ ศูนย์คอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังนิยมใช้สถานที่ในการสืบค้นข้อมูลที่หอพัก
ระดับความพึงพอใจการใช้อินเทอร์เน็ตของผู้ตอบแบบสอบถามแบ่งความพึงพอใจออกเป็น 5 ด้าน โดยมีการแปรผลดังนี้
ความพึงพอใจในการใช้อินเทอร์เน็ตด้านการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีของผู้ตอบแบบสอบถามใน 3 ลำดับแรก ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการดาวน์โหลดคลิปวีดีโอ จัดอยู่ในเกณฑ์มาก รองลงมา คือการ ดาวน์โหลดโปรแกรมมาใช้งาน จัดอยู่ในเกณฑ์มาก และ การสื่อสารผ่านทางE-mail จัดอยู่ในเกณฑ์มากเช่นกัน
ความพึงพอใจในการใช้อินเทอร์เน็ตด้านฮาร์ดแวร์ของผู้ตอบแบบสอบถามใน 3 ลำดับแรก
ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในในความเพียงพอของเครื่องคอมพิวเตอร์ในร้านที่ไปใช้บริการ จัดอยู่ในเกณฑ์มาก รองลงมา คือ ความทันสมัยของเครื่องคอมพิวเตอร์ จัดอยู่ในเกณฑ์มาก และความเพียงพอ
ของอุปกรณ์เสริมในร้านไปใช้บริการ จัดอยู่ในเกณฑ์มากเช่นกัน


ความพึงพอใจในการใช้อินเทอร์เน็ตด้านซอฟต์แวร์ของผู้ตอบ ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจ
ในความหลากลายของโปรแกรมที่ติดตั้งประจำของแต่ละเครื่องในร้านที่ไปใช้บริการ จัดอยู่ในเกณฑ์
มากเช่นกัน
ความพึงพอใจในการใช้อินเทอร์เน็ตด้านระบบการสื่อสารของผู้ตอบแบบสอบถามใน 3 ลำดับแรก ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูล จัดอยู่ในเกณฑ์มากรองลงมา คือ ความเร็วในการใช้สื่อมัลติมีเดีย จัดอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง และความเร็วในการสนทนา (Chat) จัดอยู่ในเกณฑ์ปานกลางเช่นกัน
ความพึงพอใจในการใช้อินเทอร์เน็ตด้านสภาพแวดล้อมของผู้ตอบแบบสอบถามใน 3 ลำดับแรก
ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในสถานที่ตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ในร้านที่ท่านไปใช้บริการ จัดอยู่ในเกณฑ์มาก
รองลงมา คือ ระดับแสงสว่างในร้านที่ท่านไปใช้บริการ จัดอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง และการจัดพื้นที่สัญจรไปมาในร้านที่ท่านไปใช้บริการ จัดอยู่ในเกณฑ์ปานกลางเช่นกัน
ความพึงพอใจในการใช้อินเทอร์เน็ตด้านบริการของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการติดตั้งกล้องวงจรปิด จัดอยู่ในเกณฑ์มาก รองลงมา คือ การเปิด-ปิดของร้านที่ให้การบริการ
จัดอยู่ในเกณฑ์มาก


สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
การศึกษาวิจัยเรื่อง“พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี” โดยมีวัตถุประสงค์ ขั้นตอนการวิจัย และ ผลการวิจัย โดยสรุปดังนี้

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตของนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
2.เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมในการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

เครื่องมือในการดำเนินวิจัย
ประชากรกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรการวิจัย ได้แก่ นักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ในปี 2552 จำนวนประชากรทั้งสิ้น 19,799 คน ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มจากประชากรโดยวิธีการสุ่มแบบง่าย คือ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง
จากตารางสำเร็จของ Krejcie และ Morgan เมื่อจำนวนประชากรเท่ากับ 19,799 คน ดังนั้นจำนวนตัวอย่าง
ควรจะเป็นจำนวนไม่ต่ำกว่า 377 คน พิจารณากลุ่มประชากร ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ในปี 2552 เพื่อให้การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างมีความสมดุล และสอดคล้องกับการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie และ Morgan จึงใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ในการวิจัยครั้งนี้

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้ที่ศึกษาใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ซึ่งสร้างขึ้นจากการได้การศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ปัญหาการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต และความพึงพอใจในการใช้บริการเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ซึ่งแบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 ตอน คือ

ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นแบบสอบถามประเภท ตรวจสอบรายการ
ตอนที่ 2 เป็นข้อมูลพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เป็นแบบสอบถามประเภท ตรวจสอบรายการ
ตอนที่ 3 ความพึงพอใจในการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เป็นแบบสอบถามประเภท ชนิดมาตรประมาณค่า
ตอนที่ 4 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อเสนอแนะ

การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง ใช้ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลและประมวลผลจำนวน 2 สัปดาห์

การสร้างเครื่องมือในการวิจัย
การสร้างเครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถาม เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวม โดยการดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1.ทำการวิเคราะห์จุดมุ่งหมายของการวิจัย ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเพื่อที่จะได้กำหนด วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ตรงกับจุดหมาย
2. กำหนดลักษณะข้อมูลว่ามีข้อมูล ลักษณะ เพื่อที่จะได้กำหนดระดับการวัดและกำหนดเครื่องมือวัดให้ตรงจุดมุ่งหมาย ในที่นี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการวิจัย
3. พิจารณาคำภาม ศึกษาตัวอย่างเครื่องมือแบบสอบถามที่คล้ายกันหรือเทคนิคในการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อที่จะได้เก็บข้อมูลได้ตรงกับจุดมุ่งหมาย โดยศึกษาจากเครื่องมือของบทวิจัยหรือบทวิทยานิพนธ์ที่มีเนื้อหาใกล้เคียง และคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ
4. สร้างเครื่องมือแบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม 4 ขั้นตอน ประเภทมาตรประมาณค่า ชนิดตรวจรายการ และแบบสอบถามแบบเปิด
5. ทดลองใช้เครื่องมือและหาคุณภาพด้านความตรง ความเที่ยง และคุณภาพด้านอื่น กับ ประชาชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 10 ชุด
6. เก็บรวบรวมข้อมูล ปรับปรุงเครื่องมือในการวิจัยให้มีคุณภาพตามเกณฑ์ต่างๆ แล้วจึงนำมาใช้เก็บข้อมูลจริง

การแปลความหมายค่าเฉลี่ย
ผู้วิจัยได้ตั้งเกณฑ์ในการแปลความหมายค่าเฉลี่ยของระดับคะแนนปัญหาการใช้งานของบุคลากร
และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี การแปลความหมายค่าเฉลี่ยมีดังนี้
ปัญหามากที่สุด ( 5) หมายถึง ระดับปัญหาที่พบมากที่สุด
ปัญหามาก ( 4) หมายถึง ระดับปัญหาที่พบ
ปัญหาปานกลาง ( 3) หมายถึง ระดับปัญหาที่ปานกลาง
ปัญหาน้อย ( 2) หมายถึง ระดับปัญหาที่พบน้อย
ปัญหาน้อยที่สุด ( 1) หมายถึง ระดับปัญหาที่พบน้อยที่สุด
วิธีดำเนินการวิจัย
การเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ในปี 2552 จำนวน 400 คน และผู้วิจัย
ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง

สรุปผลการวิจัย
“พฤติกรรมการเปิดรับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและความพึงพอใจของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี”เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามจำนวน
400 ชุด ผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถามด้วยตนเอง โดยนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ดังนี้
1.คำนวณหาค่าเฉลี่ยของข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม และพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต โดยรวมเป็นรายข้อ
2.คำนวณหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัญหาการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต และความพึงพอใจการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต โดยรวมเป็นรายด้าน
โดยผลการวิจัยเป็นดังนี้


ตอนที่ 1 ข้อมูลลักษณะส่วนบุคคลทั่วไป
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 21-25 ปี รองลงมา คือ อายุมากกว่า 26 ปี ส่วนใหญ่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นปีที่ 3 และปีที่ 2 โดยส่วนใหญ่ศึกษาคณะวิทยาการจัดการ รองลงมา คือ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ , คณะเทคโนโลยี และคณะครุศาสตร์

ตอนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการเปิดรับอินเทอร์เน็ต
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีการสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต 2-3 ครั้ง ต่อสัปดาห์ช่วงเวลาวันหยุด (เสาร์-อาทิตย์) รองลงมา คือ ทุกวัน/เกือบทุกวัน โดยเวลาที่สืบค้นคือช่วงวันหยุด (เสาร์-อาทิตย์) เวลา 08.00 น. – 15.59 น. และ เวลา 16.00 น. – 23.59 น. ส่วนใหญ่ใช้ระยะเวลาในการสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต 1-2 ชั่วโมง และ 5 ชั่วโมงขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์ในการสืบค้นข้อมูล คือ ค้นหารายวิชาที่เปิดสอนเพื่อลงทะเบียน และ ค้นคว้าหาข้อมูลประกอบการทำรายงาน/วิจัย/โครงการ ส่วนสถานที่ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีที่สืบค้นข้อมูลส่วนใหญ่ คือ ที่สำนักวิทยบริการ และ ศูนย์คอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังนิยมใช้สถานที่ในการสืบค้นข้อมูลที่หอพัก

ตอนที่ 3 ความพึงพอใจในการใช้อินเทอร์เน็ต
ระดับความพึงพอใจการใช้อินเทอร์เน็ตของผู้ตอบแบบสอบถามแบ่งความพึงพอใจออกเป็น 5 ด้าน โดยมีการแปรผลดังนี้
ความพึงพอใจในการใช้อินเทอร์เน็ตด้านการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีของผู้ตอบแบบสอบถามใน 3 ลำดับแรก ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการดาวน์โหลดคลิปวีดีโอ จัดอยู่ในเกณฑ์มาก รองลงมา คือการ ดาวน์โหลดโปรแกรมมาใช้งาน จัดอยู่ในเกณฑ์มาก และ การสื่อสารผ่านทางE-mail จัดอยู่ในเกณฑ์มากเช่นกัน
ความพึงพอใจในการใช้อินเทอร์เน็ตด้านฮาร์ดแวร์ของผู้ตอบแบบสอบถามใน 3 ลำดับแรก
ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในในความเพียงพอของเครื่องคอมพิวเตอร์ในร้านที่ไปใช้บริการ จัดอยู่ในเกณฑ์มาก รองลงมา คือ ความทันสมัยของเครื่องคอมพิวเตอร์ จัดอยู่ในเกณฑ์มาก และความเพียงพอ
ของอุปกรณ์เสริมในร้านไปใช้บริการ จัดอยู่ในเกณฑ์มากเช่นกัน

ความพึงพอใจในการใช้อินเทอร์เน็ตด้านซอฟต์แวร์ของผู้ตอบ ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจ
ในความหลากลายของโปรแกรมที่ติดตั้งประจำของแต่ละเครื่องในร้านที่ไปใช้บริการ จัดอยู่ในเกณฑ์
มากเช่นกัน
ความพึงพอใจในการใช้อินเทอร์เน็ตด้านระบบการสื่อสารของผู้ตอบแบบสอบถามใน 3 ลำดับแรก ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูล จัดอยู่ในเกณฑ์มากรองลงมา คือ ความเร็วในการใช้สื่อมัลติมีเดีย จัดอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง และความเร็วในการสนทนา (Chat) จัดอยู่ในเกณฑ์ปานกลางเช่นกัน
ความพึงพอใจในการใช้อินเทอร์เน็ตด้านสภาพแวดล้อมของผู้ตอบแบบสอบถามใน 3 ลำดับแรก
ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในสถานที่ตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ในร้านที่ท่านไปใช้บริการ จัดอยู่ในเกณฑ์มาก
รองลงมา คือ ระดับแสงสว่างในร้านที่ท่านไปใช้บริการ จัดอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง และการจัดพื้นที่สัญจรไปมาในร้านที่ท่านไปใช้บริการ จัดอยู่ในเกณฑ์ปานกลางเช่นกัน
ความพึงพอใจในการใช้อินเทอร์เน็ตด้านบริการของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการติดตั้งกล้องวงจรปิด จัดอยู่ในเกณฑ์มาก รองลงมา คือ การเปิด-ปิดของร้านที่ให้การบริการ
จัดอยู่ในเกณฑ์มาก เช่นกัน


อภิปรายผล
ข้อมูลลักษณะบุคคลทั่วไป
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีความสอดคล้องกับงานวิจัยของ วิฑูรย์ เลิศประเสริฐพันธ์ (2543) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของวัยรุ่นในชีวิตประจำวันกรณีศึกษาเฉพาะนักศึกษามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างจำนวน
200 คน เป็นส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง
ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 21-25 ปี รองลงมา คือ อายุมากกว่า 26 ปี ส่วนใหญ่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นปีที่ 3 และปีที่ 2 โดยส่วนใหญ่ศึกษาคณะวิทยาการจัดการ รองลงมา คือ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ , คณะเทคโนโลยี และคณะครุศาสตร์

พฤติกรรมการเปิดรับอินเทอร์เน็ต
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีการสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ช่วงเวาลาวันหยุด (เสาร์-อาทิตย์) เวลา 08.00 น. – 15.59 น. มีความขัดแย้งกับผลงานวิจัยของวิฑูรย์ เลิศประเสริฐพันธ์ (2543) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของวัยรุ่นในชีวิตประจำวันกรณีศึกษาเฉพาะนักศึกษามหาวิทยาลัยหอการค้าไทยผลการวิจัยพบว่าช่วงเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ
22.00 – 24.00 น. ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการใช้ชีวิตของนักศึกษาแต่ละมหาวิทยาลัยแตกต่างกัน

ข้อเสนอแนะการวิจัย
1. ขั้นตอนในการแจกแบบสอบถาม ควรมีการวางแผนเกี่ยวกับ วัน เวลา สถานที่ ให้มีความครอบคลุม เพื่อการประหยัดเวลาในการแจกแบบสอบถาม
2. ควรมีผู้ช่วยในการแจกแบบสอบถาม เพื่อความรวดเร็ว และลดขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อน


ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
จากบทสรุปของการวิจัยครั้งนี้ ทำให้ผู้วิจัยได้ทราบว่า พฤติกรรมการเปิดรับเทคโนโลยี
อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ใช้สำหรับการศึกษาเพื่อดาวน์โหลดไฟล์เอกสาร และสืบค้นข้อมูลเพื่อการศึกษามากที่สุด
1. ทัศนะคติของนักศึกษาที่มีต่อเว็ปไซต์ www.udru.ac.th มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
2. ความพึงพอใจและการใช้ประโยชน์จากเว็ปไซต์ www.udru.ac.th มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ทั้งนี้ เพื่อนำผลการศึกษาที่ได้มาปรับใช้และเป็นแนวทางในการสร้างฐานข้อมูลทางการศึกษาให้มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ต่อไป



นางสาวลลิดา คนงาม ประชาสัมพันธ์ 4/3 รหัส 50040003150

วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี ในทัศนคติของประชาชนทั่วไปในเขตเทศบาลนครอุดรธานี

งานวิจัย ปีการศึกษาปี 2550 สาขาวิชานิเทศศาสตร์
ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี ในทัศนคติของประชาชนทั่วไปในเขตเทศบาลนครอุดรธานี
วัตถุประสงค์
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานีในทัศนคติของประชาชนทั่วไปในเขตเทศบาลนครอุดรธานี ในด้านตัวสถาบัน ด้านอาจารย์ ด้านนักศึกษาและด้านการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมในชุมชน
วิธีการดำเนินการวิจัย
ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับภาพลักษณ์
ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการประชาสัมพันธ์
ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับทัศนคติ
ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี
สร้างแบบสอบถามเพื่อศึกษาเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานีในทัศนคติของประชาชนทั่วไปในเขตเทศบาลนครอุดรธานี
เก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างวันที่ 27 มีนาคม 2551 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2551
สรุปผลการวิจัย
ข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม
ด้านเพศของผู้ตอบแบบสอบถาม
พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเพศหญิงมีจำนวนมากที่สุดคือ212 คน(ร้อยละ 53.0) รองลงมาคือเพศชาย มีจำนวน 163 คน(ร้อยละ40.8) และอันดับสุดท้ายคือ เพศที่สาม ได้แก่ ทอม ดี้ เกย์ กระเทย มีจำนวน 25 คน(ร้อยละ6.3)
ด้านอายุ
พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุระหว่าง 16-25 ปี มีจำนวนมากที่สุดคือ 156 คน(ร้อยละ39.0) รองลงมาคืออายุระหว่าง 26 - 35ปี มีจำนวน101 คน(ร้อยละ25.3) อายุระหว่าง 36 - 45 ปี มีจำนวน 73 คน (ร้อยละ18.3) อายุระหว่าง 46 - 55 ปี มีจำนวน 43 คน(ร้อยละ10.8) อายุต่ำกว่า 15 ปี มีจำนวน 16 คน(ร้อยละ4.0) และอายุ 56 ปีขึ้นไปมีจำนวน 11 คน(ร้อยละ2.8) ตามลำดับ
ด้านสถานภาพ
พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีสถานภาพโสดมากที่สุด คือ มีจำนวน 248 คน (ร้อยละ62.0)รองลงมาคือมีสถานภาพสมรส จำนวน 128 คน(ร้อยละ32.0) และสุดท้ายคืออย่าร้าง/หม้าย จำนวน 24 คน(ร้อยละ6)

ด้านการศึกษา
พบว่า มีผู้ตอบแบบสอบถามที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีมากที่สุด คือ จำนวน 160 คน(คิดเป็นร้อยละ40.0) รองลงมาคือระดับปวส./อนุปริญญาหรือเทียบเท่า มีจำนวน 84 คน (คิดเป็นร้อยละ21.0) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช.หรือเทียบเท่า มีจำนวน 62 คน(ร้อยละ15.5) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 37 คน(ร้อยละ9.3) ระดับประถมศึกษาจำนวน 31 คน(ร้อยละ7.8) ระดับปริญญาโทจำนวน 24 คน(ร้อยละ6.0) ระดับปริญญาเอก และอื่นๆ จำนวนอย่างละ1คน(ร้อยละ0.3)
ด้านอาชีพ
พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นนักเรียน/นักศึกษา มีจำนวน 108 คน (ร้อยละ27.0) รองลงมา คือ ลูกจ้าง /พนักงานบริษัท/รัฐวิสาหกิจ จำนวน 95 คน (ร้อยละ23.8) อาชีพรับราชการ จำนวน 69 คน(ร้อยละ17.3) ประกอบธุรกิจส่วนตัว จำนวน 68 คน (ร้อยละ17.0) ไม่ได้ประกอบอาชีพ จำนวน 25 คน(คิดเป็นร้อยละ6.3) รับจ้างจำนวน 15 คน (ร้อยละ3.8) เกษตรกร จำนวน 14 คน(ร้อยละ3.5) และอื่นๆจำนวน 6 คน (ร้อยละ1.5)
ด้านรายได้
พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีรายได้ 4,001-8,000 บาท มีจำนวนมากที่สุดคือ 129 คน (ร้อยละ32.3) รองลงมาคือผู้ตอบแบบสอบถามที่มีรายได้น้อยกว่า 4,000 บาท มีจำนวน 77 คน (ร้อยละ19.3) รายได้ 8,001-1,200 บาท จำนวน 74 คน (ร้อยละ18.5)รายได้ 12,001-16,000 บาท สุดท้ายคือ รายได้ 16,001-20,000 บาท มีจำนวน 22คน (ร้อยละ5.5)
การรับรู้ข่าวสารของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี
การเคยได้รับข่าวสารข้อมูลข่าวสาร
พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม เคยได้รับข้อมูลข่าวสารของมหาวิทยาลัยฯ มีจำนวน 345 คน (ร้อยละ86.3)ส่วนผู้ตอบแบบสอบถามที่ไม่เคยได้รับข้อมูลข่าวสารของมหาวิทยาลัยฯ มีจำนวน 55 คน (ร้อยละ13.8)
การเคยติดตามข้อมูลข่าวสาร
พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเคยติดตามข้อมูลข่าวสารของมหาวิทยาลัยฯ มีจำนวน 243 คน (ร้อยละ60.8)ส่วนผู้ตอบแบบสอบถามที่ไม่เคยติดตามข้อมูลข่าวสารของมหาวิทยาลัยฯ มีจำนวน 157 คน (ร้อยละ39.3)

ด้านความสนใจข้อมูลข่าวสารการประชาสัมพันธ์
พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีความสนใจข้อมูลข่าวสารของมหาวิทยาลัยฯ มีจำนวน 317 คน (ร้อยละ79.3) ส่วนผู้ตอบแบบสอบถามที่ไม่สนใจข้อมูลข่าวสารของมหาวิทยาลัยฯ มีจำนวน 83 คน (ร้อยละ20.8
การได้ทราบว่ามหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี มีการประชาสัมพันธ์หลากหลายช่องทาง
พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่ไม่ทราบว่ามหาวิทยาลัยฯมีการประชาสัมพันธ์หลากหลายช่องทางมีจำนวน203 คน(ร้อยละ50.8)และผู้ตอบแบบสอบถามที่ทราบว่ามหาวิทยาลัยฯ มีการประชาสัมพันธ์หลากหลายช่องทาง มีจำนวน 196 คน (ร้อยละ 49)

ช่องทางในการได้รับข่าวสารการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามได้รับทราบข้อมูลข่าวสารจากนักเรียน/นักศึกษา/เจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยฯ มีจำนวน 242 คน (ร้อยละ60.5) จากป้ายประชาสัมพันธ์ จำนวน 231 คน (ร้อยละ57.8) จากอินเตอร์เน็ต จำนวน 162 คน (ร้อยละ40.5) สถานีวิทยุทั่วไปและสถานีวิทยุชุมชนของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จำนวน 137 คน (ร้อยละ34.3) สถานีวิทยุโทรทัศน์ทั่วไปและสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่น จำนวน 105 คน (ร้อยละ26.3) วารสาร/แผ่นพับ/ใบปลิว/สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ จำนวน 81 คน (ร้อยละ20.3) รถแห่โฆษณา จำนวน 10 คน (ร้อยละ2.5) และอื่นๆ จำนวน 9 คน (ร้อยละ2.3)
การเข้าถึงและครอบคลุมกลุ่มประชากรในท้องถิ่น
พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่เห็นว่าการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยฯไม่สามารถเข้าถึงและไม่ครอบคลุมกลุ่มประชากรในท้องถิ่น มีจำนวน 219 คน(ร้อยละ54.8) และผู้ที่เห็นว่าการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยฯ เข้าถึงและครอบคลุมกลุ่มประชากรในท้องถิ่น มีจำนวน 181 คน (ร้อยละ45.3)
ด้านการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยฯ
พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่เห็นว่าการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยฯ ควรปรับปรุง มีจำนวน 208 คน(ร้อยละ52.0) และผู้ที่เห็นว่าดีแล้วมีจำนวน 192 คน (ร้อยละ48.0)

ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ด้านตัวสถาบัน
พบว่า ความเหมาะสมของสถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัยฯ มีค่าเฉลี่ย 4.06 (จัดอยู่ในระดับดี) สภาพของอาคารเรียนละสิ่งก่อสร้างต่างๆ มีค่าเฉลี่ย 3.90 (จัดอยู่ในลำดับดี) ความสะดวกในการเดินทาง ไปยังมหาวิทยาลัยฯ มีค่าเฉลี่ย 3.76 (จัดอยู่ในระดับดี)สภาพภูมิทัศน์โดยรวมของมหาวิทยาลัยฯร่มรื่นสวยงาม มีค่าเฉลี่ย 3.66 (จัดอยู่ในระดับดี) เป็นสถาบันที่มีชื่อเสียงน่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับจากสังคม มีค่าเฉลี่ย 3.65(จัดอยู่ในระดับดี) หลักสูตรการเรียนการสอนที่หลากหลายและเหมาะสม มีค่าเฉลี่ย 3.55 (จัดอยู่ในระดับดี) สื่ออุปกรณ์การเรียนการสอนอย่างเพียงพอและทันสมัย มีค่าเฉลี่ย 3.50 (จัดอยู่ในระดับดี) ความสะดวกสบายในการติดต่อราชการกับมหาวิทยาลัยฯ มีค่าเฉลี่ย 3.11 (จัดอยู่ในระดับปานกลาง)
ด้านอาจารย์
พบว่า การแต่งกายสุภาพเหมาะสม มีค่าเฉลี่ย 3.73 (จัดอยู่ในระดับดี) มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีค่าเฉลี่ย 3.72 (จัดอยู่ในระดับดี) พูดจาดี สุภาพเรียบร้อยค่าเฉลี่ย 3.68(จัดอยู่ในระดับดี)การวางตัวเหมาะสมของอาจารย์ ค่าเฉลี่ย 3.65(จัดอยู่ในระดับดี)มีคุณธรรมในการประกอบอาชีพ ค่าเฉลี่ย 3.59 (จัดอยู่ในระดับดี)มีความทันสมัย วิสัยทัศน์กว้าง ทันสมัย ค่าเฉลี่ย 3.58 (จัดอยู่ในระดับดี)
ด้านนักศึกษา
พบว่า มีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าคิดกล้าแสดงออกในทางที่ถูกที่ควร ค่าเฉลี่ย 3.52(จัดอยู่ในระดับดี) มีมนุษยสัมพันธ์ดีค่าเฉลี่ย 3.49 (จัดอยู่ในระดับปานกลาง) มีความรับผิดชอบและขยันหมั่นเพียร ค่าเฉลี่ย 3.41 (จัดอยู่ในระดับปานกลาง) มีคุณภาพไม่ด้อยกว่านักศึกษาของสถาบันอื่น ค่าเฉลี่ย 3.36 (จัดอยู่ในระดับปานกลาง) ตั้งใจใฝ่ศึกษาเรียนรู้ ค่าเฉลี่ย 3.35 (จัดอยู่ในระดับปานกลาง)แต่งกายสุภาพ ค่าเฉลี่ย 3.23 (จัดอยู่ในระดับ ปานกลาง) พูดจาสุภาพ มีความอ่อนน้อมถ่อมตนมีความประพฤติเรียบร้อย ค่าเฉลี่ย 3.21 (จัดอยู่ในระดับปานกลาง) ประพฤติเป็นตัวอย่างที่ดีของเยาวชนในชุมชน ค่าเฉลี่ย 3.17 (จัดอยู่ในระดับปานกลาง)
ด้านการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมในชุมชน
พบว่า ข้อมูลข่าวสารมีสาระและเป็นประโยชน์ต่อคนในสังคม/ชุมชน ค่าเฉลี่ย 3.43 (จัดอยู่ในระดับดี) ข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่มีความชัดเจนถูกต้อง แม่นยำ และน่าเชื่อถือ ค่าเฉลี่ย 3.41 (จัดอยู่ในระดับดี) มีความรับผิดชอบต่อสังคม ตลอดจนมีบทบาทในการร่วมพัฒนาชุนชน ค่าเฉลี่ย 3.39 (จัดอยู่ในระดับปานกลาง) ให้ความร่วมมือสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆในชุมชน/สังคมค่าเฉลี่ย 3.38(จัดอยู่ในระดับปานกลาง) มีความ เป็นกลางในการมีส่วนร่วมกิจกรรมต่างๆของชุมชน/สังคม ค่าเฉลี่ย 3.38 (จัดอยู่ในระดับปานกลาง) มีความประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข่าวสารของมหาวิทยาลัยออกสู่สังคม/ชุมชน ค่าเฉลี่ย 3.34 (จัดอยู่ในระดับปานกลาง)มีการนำเสนอข่าวสารผ่านสื่อต่างๆได้หลากหลายช่องทาง ค่าเฉลี่ย 3.33 เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับรู้ข่าวสารต่างๆและแสดงความคิดเห็นต่อมหาวิทยาลัยได้อย่างเสรี ค่าเฉลี่ย 3.29(จัดอยู่ในระดับปานกลาง)รูปแบบการนำเสนอข่าวสารน่าสนใจและทันสมัย ค่าเฉลี่ย 3.27 (จัดอยู่ในระดับปานกลาง)มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆอย่างต่อและเหมาะสม ค่าเฉลี่ย 3.26 (จัดอยู่ในระดับปานกลาง)ข่าวสารการประชาสัมพันธ์ต่างๆของมหาวิทยาลัยสามารถเข้าถึงประชาชนได้ เป็นจำนวนมาก ค่าเฉลี่ย 3.17 (จัดอยู่ในระดับปานกลาง) ประชาชนทั่วไปสามารถรับทราบข้อมูลข่าวสารต่างๆของมหาวิทยาลัยฯได้อย่างสะดวก ง่ายดาย และรวดเร็ว ค่าเฉลี่ย 3.12 (จัดอยู่ในระดับปานกลาง)
สิ่งที่ได้จากงานวิจัยชิ้นนี้
ทำให้ทราบถึงแนวทางในการคิดสร้างสรรค์งานวิจัยชิ้นต่อไป
ได้ทราบถึงวิธีการในการสร้างงานวิจัย ซึ่งมีขั้นตอนต่างๆ ที่ปรากฏในงานวิจัย
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีในทัศนคติของประชาชนทั่วไปในเขตเทศบาลนครอุดรธานี ซึ่งผู้วิจัยก็ได้สรุปผลการวิจัย โดยการจำแนกข้อมูลในด้านต่างๆ อย่างละเอียด เช่น การให้ข้อมูลจากการสำรวจในด้านตัวสถาบัน ด้านอาจารย์ ด้านนักศึกษาและ ด้านการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมในชุมชน แล้วนำมาจัดลำดับข้อมูล
ได้ทราบข้อสรุปเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานีในทัศนคติของประชาชนทั่วไปในเขตเทศบาลนครอุดรธานี ในด้านต่างๆว่าประชาชนทั่วไป มีความคิดอย่างไรกับมหาวิทยาลัย เช่น ในด้านตัวสถาบัน ด้านอาจารย์ ด้านนักศึกษาและด้านการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมในชุมชน
ได้ทราบว่ามหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานีมีคุณภาพมากน้อยเพียงใดจากข้อมูลการสำรวจของงานวิจัย

วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

รายงานการวิจัยเรื่อง พฤติกรรมและการใช้ประโยชน์จากการใช้โปรแกรมสนทนาบนอินเทอร์เน็ตของนักเรียนนักศึกษาในเขตเทศบาลนครอุดรธานี

ชื่องานวิจัย
รายงานการวิจัยเรื่อง พฤติกรรมและการใช้ประโยชน์จากการใช้โปรแกรมสนทนาบนอินเทอร์เน็ตของนักเรียนนักศึกษาในเขตเทศบาลนครอุดรธานี


วัตถุประสงค์
๑. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้โปรแกรมสนทนาบนอินเทอร์เน็ตของนักเรียนนักศึกษาในจังหวัดอุดรธานี
๒. เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากโปรแกรมสนทนาบนอินเทอร์เน็ตของนักเรียนนักศึกษาในจังหวัดอุดรธานี

วิธีการดำเนินการวิจัย
คณะผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ โดยดำเนินการวิจัยตามลำดับขั้นตอน ดังนี้
๑. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรการวิจัย ได้แก่ นักเรียนนักศึกษาในเขตเทศบาลนครอุดรธานี
๑.๑ กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้วิธีเทียบกับจากตารางสำเร็จของเคร็กกีและมอร์แกน โดยกำหนดความเชื่อมั่น 95% เมื่อจำนวนประชากรเท่ากับ 142,445 คน จำนวนตัวอย่างควรจะเป็นจำนวนไม่ต่ำกว่า 384 คน และเพื่อให้การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นไปเท่าเทียมกันและเป็นสัดส่วนจึงใช้จำนวนตัวอย่าง 400 คน
๑.๒ พิจารณาจากร้านอินเทอร์เน็ตที่ตั้งอยู่ใกล้สถานศึกษา ในถนนสายหลัดต่างๆ ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี คณะผู้วิจัยได้กำหนดวิธีการสุ่มตัวอย่างการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก โดยเลือกสุ่มจากถนนต่างๆ 5 สาย ได้แก้ ถนนทหาร ถนนหมากแข้ง ถนนศรีสุข ถนนโพธิ์ศรี และถนนประจักษ์
๑.๓ กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนนักศึกษาในเขตเทศบาลนครอุดรธานี จำนวน 400 คน ที่มีอายุระหว่าง 13 – 22 ปีขึ้นไป





๒. เครื่องมือในการวิจัย
ในการสร้างเครื่องมือใช้ในการวิจัย มีขั้นตอนที่สำคัญดังนี้
๒.๑ ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแบบสอบถาม
๒.๒ นำผลการศึกษาข้อ 1 มากำหนดและสร้างแบบสอบถาม
๒.๓ นำแบบสอบถามเสนออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อตรวจแก้ไขตามข้อเสนอแนะของอาจารย์ที่ปรึกษา
๒.๔ แก้ไขแบบสอบถามก่อนนำไปใช้จริง
๒.๕ นำเครื่องมือไปทดลองใช้
๒.๖ นำผลการทดลองที่ใช้มาปรับปรุงเครื่องมือให้มีประสิทธิภาพ
๒.๗ จัดพิมพ์เครื่องมือสอบถามเพื่อใช้เก็บข้อมูล


๓. การเก็บรวบรวมข้อมูล
๓.๑ ดำเนินการเก็บข้อมูล โดยให้ประชากรตอบแบบสอบถามด้วยตัวเอง
๓.๒ ตรวจสอบความถูกต้อง ลงรหัสและนำไปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์


๔. เกณฑ์การให้คะแนนเพื่อการวิเคราะห์
การกำหนดค่าคะแนนคำตอบที่ได้จากแบบสอบถามในการวะดตัวแปรที่ต้องการในเรื่องของการนำไปใช้ประโยชน์ได้ถือตามเกณฑ์ของบุญชม (บุญชม ศรีสะอาด , 2538 : 55-64)
วิธีการตรวจให้คะแนนข้อความด้านบวก
มากที่สุด ตรวจให้ 5 คะแนน
มาก ตรวจให้ 4 คะแนน
ปานกลาง ตรวจให้ 3 คะแนน
น้อย ตรวจให้ 2 คะแนน
น้อยที่สุด ตรวจให้ 1 คะแนน






๕. การประมวลผลข้อมูล
หลังจากเก็บข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ผู้วิจัยจะทำการลงรหัสข้อมูล แล้วนำผลที่ได้ไปประมวลเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC

๖. การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลจะกระทำดังนี้
การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ใช้สถิติวิเคราะห์เชิงพรรณนา คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการนำเสนอข้อมูลในตาราง เพื่ออธิบายข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกลุ่มตัวอย่าง


สรุปผลการวิจัย
แบ่งได้ ดังนี้
๑. ลักษณะทางประชากรศาสตร์
๒. พฤติกรรมของนักเรียนนักศึกษาที่ใช้อินเทอร์เน็ต
๓. ความคิดเห็นต่อการใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตของนักเรียนนักศึกษา



สิ่งที่ได้รับจากงานวิจัย
๑. ทำให้ทราบถึงแนวทางการป้องกันการใช้โปรแกรมสนทนาบนอินเทอร์เน็ตที่อาจเป็นภัยต่อตนเองและสังคมได้
๒. ทำให้ทราบถึงปัญหาและผลกระทบของนักเรียนนักศึกษาที่ใช้โปรแกรมสนทนาบนอินเทอร์เน็ต
๓. ทำให้ทราบถึงการใช้โปรแกรมสนทนาบนอินเตอร์เน็ตของนักเรียนนักศึกษา






น.ส.รุ่งทิวา ดวงตาผา 4/1 รหัส 50040001101

เรื่อง ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเข้าพักในหอพัก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

เรื่องความพึ่งพอใจของนักศึกษาต่อการเข้าพักในหอพัก มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี


วัตถุประสงค์ในการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้ การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่ได้เข้าพักในหอพักมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี คณะผู้วิจัยได้สุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาที่ได้เข้ามาพักในหอพักมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี และได้สรุปผลอภิปรายผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ ดังต่อไปนี้
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าพักหอพักของทางมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี
2. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรค์เกี่ยวกับการเข้าพักในหอพักของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี
3. เพื่อศึกษาหาแนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค์ในการเข้าพักในหอพักของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี




วิธีการดำเนินการวิจัย


ในการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาในการเข้าพักในหอพักของมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี มีการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้
เป็นการวิจัยเชิงศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่เข้ามาพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีกลุ่มนักศึกษาเป็นเป้าหมายคือกลุ่มนักศึกษา ชาย/หญิง ทุกชั้นปีที่เข้าพักในหอพักของมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี โดยแบ่งเป็นหอชาย 100 และหอหญิง 100 วิธีสุ่มตัวอย่างใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple sampling) การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม (Question are) ประกอบด้วยคำถาม 3 กลุ่ม






การวิจัย เรื่อง ความพึงพอใจของนักศึกษาที่เข้าพักในหอพัก มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี การวิจัยครั้งนี้มี วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่เข้าพักในหอพัก มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี และนำข้อมูลที่ได้ จากการสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษามาวิเคราะห์ผลกระทบเพื่อเอาไปปรับปรุงพัฒนาหอพักให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
- ประชากร
- กลุ่มตัวอย่าง
- วิธีการสุ่มตัวอย่าง
3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย
3.3 ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือวิจัย
3.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล
3.5 การแปรผล – การวิเคราะห์ข้อมูล
3.6 เกณฑ์ที่ใช้ในการแปรผล
3.7 สถิติที่ใช้ในการวิจัย

3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

3.1.1 ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือนักเรียนและนักศึกษาที่เข้าพักในหอพักในจังหวัด อุดรธานี
3.1.2 กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย นักศึกษาที่เคยพักในหอพัก มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี จำนวน 200 คน ประกอบด้วย นักศึกษาที่พักในหอพักชาย จำนวน 100 คน นักศึกษาที่พักอยู่ในหอพักหญิง จำนวน 100 คน

กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย

ตัวอย่าง จำนวน
นักศึกษาที่พักในหอพักใน มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี (หอพักชาย) 100
นักศึกษาที่พักในหอพักใน มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี (หอพักหญิง) 100


3.1.3วิธีการสุ่มตัวอย่าง
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างในลักษณะแบบเฉพาะเจาะจงในการเลือกกลุ่มนักศึกษาที่เข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานีทั้งหอพักชายและหอพักหญิง เพราะมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการทำวิจัยในครั้งนี้

3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย

ผู้ทำวิจัยได้สร้างแบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประเภทปลายปิด/เปิด ที่ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เลือกตามที่ผู้วิจัยกำหนดซึ่งผู้วิจัยได้ทางแบบสอบถามขึ้นเอง โดยศึกษาจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะเรื่องความพึงพอใจของนักศึกษาที่เข้าพักในหอพักใน มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี แบบสอบถามประกอบด้วย 3 ตอน
ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม (ข้อมูลด้านประชากร) ซึ่งเกี่ยวกับ เพศ อายุ คณะศึกษาและภูมิลำเนา
ตอนที่ 2 ความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี จำนวน 13 ข้อ
ตอนที่ 3 ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี จำนวน 16 ข้อ
ข้อคิดเห็นต่อการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี จำนวน 2 ข้อ

3.3 ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างและพัฒนาเครื่องมือ ตามกรอบความคิดของการวิจัย มีขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยดังนี้
1. ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฏีเอกสาร ตำรา บทความทางวิชาการ ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2. กำหนดกรอบ เนื้อหา ความคิด และขอบข่ายในการสร้างเครื่องมือ จัดเป็นโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย เพื่อสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการวิจัยเสนออาจารย์ที่ปรึกษา
3. เครื่องมือการวิจัยนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษา
4. ทำแบบสอบถามความคิดเห็นที่ผ่านการตรวจมาปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์
5. สร้างเครื่องมือฉบับที่สมบูรณ์





3.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล


นำแบบสอบถาม จำนวน 200 ชุด ไปเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาที่พักในในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี และนักศึกษาที่พักในหอพักใน จ.อุดรธานี พร้อมรวบรวมแบบสอบถามทั้งหมด 200 ชุด โดยที่ผู้วิจัยควบคุมดารเก็บรวบรวมข้อมูลทุกขั้นตอน




3.5 การแปรผล – การวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ วิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป PC* เพื่อหาค่าสถิติดังต่อไปนี้
3.5.1 ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเข้าพักในหอพักใน มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี แบบสอบรายการ นำมาแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ
3.5.2 ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามเกี่ยวกับความหลากหลายของความคิดเห็นเกี่ยวกับการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี เป็นแบบตรวจสอบรายการ นำมาแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ
3.5.3 ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคต่อการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี นำมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
3.5.4 ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี ทำการรวบรวมและสรุปความคิดเห็น




3.6 เกณฑ์ที่ใช้ในการแปรผล

ในการวัดความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี ที่เกี่ยวกับความรู้สึกที่มีต่อคุณภาพบริการของสถานที่พัก การรับสื่อ รวมทั้งองค์ประกอบต่างๆ และประโยชน์หรือสิ่งต่างๆ ที่ได้รับจากการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี โดยใช้อัตราส่วนประมาณค่า (Raitng Scale) วัดแบบกำหนดเกณฑ์คะแนน ดังนี้


กำหนดคะแนนดังนี้

น้อยที่สุด = 1 คะแนน
น้อย = 2 คะแนน
ปานกลาง = 3 คะแนน
มาก = 4 คะแนน
มากที่สุด = 5 คะแนน


การแปลความหมายเพื่ออธิบายความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี ที่ได้จากแบบสอบถาม แบบมาตรส่วนประมาณค่าพิจารณาจากระดับค่าเฉลี่ยตามเกณฑ์ 5 ระดับ ดังต่อไปนี้

ค่าเฉลี่ย 4.51 – 5.00 หมายถึง ระดับความพึงพอใจมากที่สุด
ค่าเฉลี่ย 3.51 – 4.50 หมายถึง ระดับความพึงพอใจมาก
ค่าเฉลี่ย 2.51 – 3.50 หมายถึง ระดับความพึงพอใจปานกลาง
ค่าเฉลี่ย 1.51 – 2.50 หมายถึง ระดับความพึงพอใจน้อย
ค่าเฉลี่ย 1.00 – 1.50 หมายถึง ระดับความพึงพอใจน้อยที่สุด



3.7 สถิติที่ใช้ในการวิจัย

โปรแกรม SPSS for window มีดังนี้
สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) เป็นสถิติประเภทร้อยละ และค่าเฉลี่ยต่างๆ ดังนี้
- คุณลักษณะทางประชากรศาสตร์
- ความหลากหลายในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี
- ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่เข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี
- ปัญหาและอุปสรรคของนักศึกษาในเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี




ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี

แสดงค่าเฉลี่ยเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ส่วนใหญ่ความพึงพอใจระดับมากในการมีบริเวณจอดรถที่เหมาะสม ค่าเฉลี่ย 3.90 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.71 ระดับความพึงพอใจมากอันดับสอง พอใจในสวนพักผ่อนของทางหอพัก ค่าเฉลี่ย 3.56 ส่วนเบี่ยงเบน 0.31 มีความพึงพอใจระดับปานกลางต่อการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ค่าเฉลี่ย 3.46 ส่วนเบี่ยงเบน 0.34 ความพึงพอใจระดับปานกลางได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างต่อเนื่อง ค่าเฉลี่ย 3.40 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.73 ความพึงพอใจระดับปานกลางหอพักมีความปลอดภัยและ การบริการหอพักมีครบถ้วน ค่าเฉลี่ย 3.26 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.39 ความพึงพอใจระดับปานกลางอยากเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี ค่าเฉลี่ย 2.91 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.91 ความพึงพอใจระดับปานกลางกับห้องพักและเพื่อนร่วมห้องของตน ค่าเฉลี่ย 2.90 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.43 ความพึงพอใจระดับปานกลางได้รับความสะดวกสบายต่อการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี ค่าเฉลี่ย 2.86 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.53 ความพึงพอใจระดับปานกลางโดยรวมของภาพรวมองค์ประกอบทั้งหมด ค่าเฉลี่ย 2.81 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.52 ความพึงพอใจระดับปานกลางค่าห้องพักของหอพักใน มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี มีความเหมาะสม ค่าเฉลี่ย 2.74 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.55 ความพึงพอใจระดับปานกลางหอพักใน มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี มีระบบการให้บริการที่ทันสมัย ค่าเฉลี่ย 2.72 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.58 ความพึงพอใจระดับปานกลางนักศึกษามีความพึงพอใจกับสวัสดิการ ค่าเฉลี่ย 2.71 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.56 ความพึงพอใจระดับปานกลางนักศึกษามีความพึงพอใจกับกิจกรรมพัฒนาคุณภาพภายในหอพัก ค่าเฉลี่ย 2.71 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.55 ความพึงพอใจระดับปานกลางนักศึกษามีส่วนร่วมกับกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ที่ทางหอจัดขึ้น ค่าเฉลี่ย 2.71 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.53 ความพึงพอใจระดับปานกลางนักศึกษาได้รับและใช้บริการจากหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี ค่าเฉลี่ย 2.70 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.51 ความพึงพอใจระดับปานกลางนักศึกษาพอใจกับสภาพแวดล้อมบริเวณหอพักใน มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี ค่าเฉลี่ย 2.51 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.58




สรุปผลการวิจัย

จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวกับพฤติกรรมในความพึงพอใจในการพักหอพัก ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี พบประเด็นที่สมควรแก่การอภิปรายมีดังนี้





1. ข้อมูลส่วนตัว

ทำให้ทราบว่านักศึกษาที่เข้ามาพักในหอพักนั้นมีทั้งเพศชายและเพศหญิง มีอายุระหว่าง 18 – 21 ปี ส่วนใหญ่เป็นคณะมนุษย์ศาสตร์ และพักหอที่ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี เป็นประจำส่วนใหญ่จะมาจากต่างอำเภอ

2. ข้อมูลความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวการเข้าพักในหอพักมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี

ข้อมูลนักศึกษาที่เข้ามาพักในหอพักมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี สามารถวิเคราะห์หาข้อมูลความคิดเห็นของนักศึกษาเหล่านนี้ได้ว่า ความคิดเห็นของนักศึกษานั้นก่อนที่จะได้เข้ามาพักในหอของทางมหาวิทยาลัย ได้รับข้อมูลการเข้าพักจากหน่วยงานประชาสัมพันธ์ของทางมหาวิทยาลัยมากที่สุด นั้นทำให้ได้รู้ว่านักศึกษาเหล่านี้ได้เปิดรับสื่อทางด้านใดกันบ้าง ความต้องการที่จะพักต่อห้องนั้นนักศึกษาที่เข้ามาพักคิดว่าการที่ห้องพักหนึ่งห้องมีนักศึกษาพักรวมกัน 4 คน นั้นถือว่าเยอะเกินไปข้อมูลเหล่านี้ล้วนแล้วแต่สำคัญทั้งสิ้น จากการวิจัยพบว่า การที่มหาวิทยาลัยบังคับให้นักศึกษาเข้าพักนั้นส่วนใหญ่จะพักอยู่ 1 ปีการศึกษาหรือตามที่บังคับเอาไว้เท่านั้น และยังทราบถึงความต้องการของนักศึกษาเหล่านี้ว่ามีความต้องการด้านใดบ้างทั้งความต้องการภายในและภายนอก ความต้องการภายในอย่างเช่น เครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่อยู่ในห้อง และความต้องการภายนอก เช่น สถานที่จอดรถหรือสวนย่อมต่างๆ เป็นต้น อีกทั้งยังต้องการกิจกรรมเสริมต่างๆ ที่ทางหอพักจัดขึ้นหรือทางมหาวิทยาลัยจัดขึ้นทั้งข้อมูลเหล่านี้ ยังสามารถช่วยให้ทราบการตัดสินใจของนักศึกษาได้ง่ายยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นตัวบ่งบอกถึงภาพลักของมหาวิทยาลัยอีกด้วย

3. ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี

นักศึกษามีความพึงพอใจที่เข้าพักในหอพักที่ทางมหาวิทยาลัยจัดให้นั้น มีหลายเหตุผลที่จะเป็นตัวตัดสินว่า จะเข้านานมากน้อยขนาดไหนนั้น ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจในด้านต่างๆ อย่างเช่นด้านสภาพแวดล้อมต้องมีสภาพแวดล้อมที่ดี มีที่จอดรถที่เหมาะสมและมีกฎเกณฑ์ที่ดีต่อนักศึกษาและภายในหอพักนั้นก็ควรมีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อที่จะเป็นแรงจูงใจ ให้กับนักศึกษาเหล่านี้ เพื่อที่จะเป็นการสร้างความประทับใจให้กับนักศึกษาอีกทั้งยังเป็น การส่งเสริมภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยไปในทางที่ดีขึ้นและยังทำให้ผู้ปกครองของนักศึกษาเหล่านี้ได้ให้ความเชื่อมั่นกับทางมหาวิทยาลัยในการดูแลบุตรหลานของตนเอง ยังเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือและเป็นการยกระดับไปสู่สากลในอนาคตได้






สิ่งที่ได้จากการวิจัยเรื่องนี้

จากการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่เข้ามาพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี ผลการวิจัยทำให้ทราบถึงความพึงพอใจของนักศึกษาที่เข้าพักในหอพักมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง พัฒนา และแก้ไขส่วนที่บกพร่องต่างๆ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาที่ดีขึ้น ดังนั้นควนมีการศึกษาความต้องการของนักศึกษาที่เข้ามาพักในหอพักของทางมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี และควรให้รายละเอียดเกี่ยวกับการเข้าพักในหอพักอย่างชัดเจนเพื่อที่จะได้ความชัดเจนแก่นักศึกษามากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะทำให้นักศึกษาปรับตัวและเข้าใจกฎระเบียบที่ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี ได้ตั้งไว้ทั้งนี้ เพื่อให้นักศึกษาได้ความรู้ความเข้าใจมากขึ้นในการเตรียมตัวที่จะเข้ามาพักในหอพักของทาง มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี







ข้อเสนอแนะจากการศึกษาวิจัย

1. ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการวิจัยไปใช้
1.1 หน่วยงานหรือสถาบันที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยต่างๆ สามารถรู้ถึงความต้องการหรือความพึงพอใจ ในด้านต่างๆ ของนักศึกษาที่เข้ามารับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี สามารถนำข้อมูลของการวิจัยที่ได้มาพัฒนาปรับปรุงสถาบันของตนเอง
2. ข้อเสนอสำหรับการศึกษาวิจัยครั้งต่อไป
1.2 ในการศึกษาครั้งต่อไปควรจะมีการศึกษาในด้านอื่นๆ เพิ่มขึ้นอีกทั้งในด้านความคิดเห็น ความพึงพอใจ ผลกระทบ ปัญหาต่างๆ ให้ครอบคลุมถึงสภาพของความพึงพอใจของนักศึกษาเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการแก้ไขของทุกฝ่ายต่อไป
1.3 การสร้างแบบสอบถามควรศึกษาให้ดีใช้คำถามที่กระชับ เข้าใจง่าย และเหมาะสมกับผู้ตอบแบบสอบถาม











ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้

1. ผลการวิจัยครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความพึงพอใจของนักศึกษาทีมีต่อการเข้าพักของมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี สามารถนำไปเป็นแนวทางการศึกษาเพื่อที่จะใช้วางแผนในการพัฒนาหอพักให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. ผลการวิจัยยังสามารถแสดงให้เห็นถึงรูปแบบพฤติกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี ที่เข้ามาพักในหอทั้งภายในและภายนอก ซึ่งจะเป็นการนำไปสู่การวางแผนการจัดการที่ดีมากยิ่งขึ้น
3. การที่ได้ทราบถึงความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเข้าพักในหอพักทางมหาวิทยาลัยนั้น ทำให้เห็นว่ามีความจำเป็นอย่างที่ผู้ที่เป็นผู้ประกอบทางด้านนี้หรือสถาบันต่างๆ เองนั้น จะต้องให้ความสำคัญในการศึกษาและติดตามผลเกี่ยวกับความพึงพอใจหลังจากที่มีการเลือกที่จะเข้าพักในหอพักซึ่งหากพบว่าเกิดช่องว่าง ทางสถาบันหรือผู้ประกอบการก็สามารถปรับปรุงคุณภาพ ความสะดวก สบาย ให้เป็นไปตามความต้องการของนักศึกษาเองและบุคคลทั่วไป ซึ่งจะเป็นการลดช่องว่างความพึงพอใจซึ่งจะนำไปสู่ระดับความพึงพอใจมากที่สุด ซึ่งความพึงพอใจเหล่านี้จะก่อให้เกิดความพึงพอใจในการบริการทั้งนี้จะนำไปสู่ความพึงพอใจระยะยาวได้