วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553

งานวิจัยการเปิดรับข้อมูลข่าวสารไข้หวัดใหญ่ 2009 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

งานวิจัยการเปิดรับข้อมูลข่าวสารไข้หวัดใหญ่ 2009
ของประชาชนในเขตเทศบาลเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
ความสำคัญและที่มาของงานวิจัย
ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ที่มาสามารถระบาดได้กว้างขวาง และมีความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ โรคนี้มีชื่อภาษาอังกฤษ “Influenza” ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาละติน คือ Influentia (แปลว่า“Influence”ความชั่วร้ายจากดวงดาว) นายแพทย์ฉิปโปเครติ บิดาแห่งการแพทย์ปัจจุบันได้บันทึกโรคนี้ในปี ค.ศ. 131 ปี พ.ศ.2476 นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบเป็นครั้งแรกว่า โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นคนละชนิดกับไวรัสที่เป็นสาเหตุของการเป็นไข้หวัด ที่ห้องประชุมโรงแรมบ้านเชียง อ.เมือง จังหวัดอุดรธานี นายแพทย์สัญชัย ปิยะพงษ์กุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานีเป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการในการซ้อนแผนเตรียมความพร้อมรับการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ และไข้หวัดนก จังหวัดอุดรธานี ปี 2551 ให้กับหน่วยงานทุกภาคส่วนในระดับจังหวัดจำนวน 160 คน
นายแพทย์สัญชัย ปิยะพงษ์กุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า โรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดต่อโดยเชื้อไวรัสที่เกิดขึ้นเป็นประจำในประเทศทั่วโลก โดยเกิดการระบาดใหญ่เป็นระยะๆ ทุก 10-30 ปี ซึ่งทำให้ประชาชนต้องเจ็บป่วยและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ในประเทศไทยคาดการณ์ถ้ามีการเตรียมรับเป็นอย่างดี จะมีผู้ป่วยประมาณ 6.5 ล้านคน และอาจเสียชีวิตประมาณ 6,500 คน กรณีไม่มีการเตรียมความพร้อมจะมีผู้ป่วยประมาณ 26 ล้านคน และอาจเสียชีวิตประมาณ 260,000 คน หรือมากกว่านั้น “นอกจากนี้จะเกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม จิตวิทยา และความมั่นคงของประเทศอย่างมาก เชื้อที่เป็นสาเหตุของการระบาดแต่ละครั้ง เชื่อว่าเป็นเชื้อที่กลายพันธุ์มาจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในสัตว์ เช่นเชื้อไข้หวัดนก ในปี 2547 ประเทศไทยพบการระบาดของโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 ในสัตว์ปีกทั้งยังติดมาสู่คน ซึ่งเป็นสภาวะที่มีความเสี่ยงต่อการพัฒนาไปสู่ระยะการระบาดใหญ่ได้
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.เพื่อศึกษาการรับข้อมูลข่าวสารของประชาชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานีถึงการป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009
2.เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009ของประชาชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี
3.เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานีเกี่ยวกับผลการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเรื่องของการป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009



วิธีการดำเนินงานการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาถึงการเปิดรับข้อมูลข่าวสารไข้หวัดใหญ่ 2009 ประชากรในเขตเทศบาลอุดรธานีเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผู้วิจัยจึงได้กำหนดวิธีดังต่อไปนี้
1.ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรการวิจัยได้แก่ประชากรในเขตเทศบาลนครอุดรธานี จำนวน 400 คน
กำหนดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้วิธีการเทียบจากตารางสำเร็จของ เคร็คกีและมอร์แกน โดยกำหนดความเชื่อมั่น 95 %
2.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ซึ่งผู้วิจัยดำเนินการสร้างขึ้นจากการค้นคว้าและการดัดแปลงเอกสารงานวิจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง และสอดคล้องกับแนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัยโดยลำดับขั้นตอน
3.การทดสอบความน่าเชื่อถือของเครื่องมือ
3.1.นำแบบสอบถามไปหาความเที่ยงตรง โดยนำแบบสอบถามที่ได้เรียบเรียงแล้วไปให้นักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหา
3.2.นำแบบสอบถามที่ได้แก้ไขแล้วไปทดสอบความเชื่อมั่น โดยนำแบบสอบถามไปทดสอบใช้กับกลุ่มประชาชนที่ไม่ได้เลือกเป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 510 ชุด
4.การเก็บรวบรวมข้อมูล
4.1.ดำเนินเก็บข้อมูล โดยให้ประชาชนตอบแบบสอบถาม
4.2.ตรวจสอบความถูกต้อง ลงรหัสและนำไปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
5.เกณฑ์การให้คะแนนเพื่อการวิเคราะห์
การให้คะแนนตอบที่ให้จากแบบสอบถามในการวัดตัวแปร เพื่อคำนวณค่า ทางสถิติจะถือตามความหมายในการกำจัดความนิยามศัพท์เป็นเกณฑ์ดังนี้
ความคิดเห็นในการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร จากคำตอบ ให้ค่าคะแนนดังนี้
ตอบ 1 คะแนน
ไม่ตอบ 0 คะแนน
6.การประมวลผลข้อมูล
หลังจากเก็บรวบรวมข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ผู้วิจัยจะทำการลงรหัสข้อมูลแล้วนำผลที่ได้ไปประมวลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC
7.การวิเคราะห์ข้อมูล
7.1.ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบใช้สถิติค่าร้อยละ (Percentiles) โดยคำนวณในจากหลักสูตรดังต่อไปนี้

F x 100
สูตร P=
n

เมื่อ P แทน ค่าร้อยละ
F แทน จำนวนหรือความถี่ที่ต้องการหาค่าร้อยละ
N แทน จำนวนข้อมูลทั้งหมด
7.2.ข้อมูลเกี่ยวกับการเปิดรับข้อมูลข่าวสารไข้หวัดใหญ่ 2009 ของประชาชนในเทศบาลอุดรธานีใช้สถิติ ( X ,Mean )และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D Standard Deviaition)
1.ค่าเฉลี่ย Mean โดยคำนวณจกสูตรดังต่อไปนี้

∑fx
____
สูตร X=
N

7.3.เกณฑ์ที่ใช้แปรผล
เกณฑ์ในการแปรผลการวิเคราะห์ข้อมูลพิจารณาค่าเฉลี่ยของข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารไข้หวัด 2009 ของประชากรในเขตเทศบาลเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานีด้วยการแปรเป็นเชิงปริมาณโดยค่าเฉลี่ย (X,Mean) ซึ่งแบ่งได้ 5 ระดับ
7.3.1. มากที่สุด
7.3.2. มาก
7.3.3. ปานกลาง
7.3.4. น้อย
7.3.5. น้อยที่สุด






สรุปผลงานวิจัย
1.ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
1.1.จากการศึกษาลักษณะทั่วไปของประชาชนในการเปิดรับข้อมูลข่าวสารไข้หวัดใหญ่ 2009 ส่วนใหญ่คือเพศ หญิงจำนวน 231 คนคิดเป็นร้อยละ 57.8 เพศชาย จำนวน 169 คน
คิดเป็นร้อยละ 42.3
1.2.จากการศึกษาลักษณะทั่วไปของประชาชนในการเปิดรับข้อมูลข่าวสารไข้หวัดใหญ่ 2009 ส่วนใหญ่มีอายุ19-21 ปีจำนวน111คน คิดเป็นร้อยละ 27.8รองลงมาคือ 21-24 ปี จำนวน 109 คน คิดเป็นร้อยละ 27.3 อายุ 25 ปีขึ้นไป จำนวน 82 คน คิดเป็นร้อยละ 20.5 ต่อมาอายุ 16-18 ปี จำนวน 72 คน คิดเป็นร้อยละ 18.0 และอายุ12-15 ปี จำนวน 26 คน
คิดเป็นร้อยละ 6.5
1.3.จากการศึกษาลักษณะทั่วไปของประชาชนในการเปิดรับข้อมูลข่าวสารไข้หวัดใหญ่ 2009 ส่วนใหญ่มีอาชีพนักศึกษา จำนวน 227 คน คิดเป็นร้อยละ 56.8 รองลงมา นักเรียน จำนวน 75 คน คิดเป็นร้อยละ 18.8 ค้าขาย 68 คน คิดเป็นร้อยละ 17.0 ต่อมา นักธุรกิจ จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 3.5 อื่นๆ จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 2.3
และรับราชการ 7 คน คิดเป็นร้อยละ 1.8
1.4.จากการศึกษาลักษณะทั่วไปของประชาชนในการเปิดรับข้อมูลข่าวสารไข้หวัดใหญ่ 2009 ส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับบิดา มารดา จำนวน 166 คน คิดเป็นร้อยละ 41.5 รองลงมามาเพื่อน จำนวน 108 คน คิดเป็นร้อยละ 27.0 อื่นๆ จำนวน 56 คน คิดเป็นร้อยละ 14.0 ต่อมา ญาติ จำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 11.5 บิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 4.5 และเฉพาะพี่น้อง จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 2.0
1.5.จากการศึกษาลักษณะทั่วไปของประชาชนในการเปิดรับข้อมูลข่าวสารไข้หวัดใหญ่ 2009 ส่วนใหญ่ลักษณะที่พักอาศัยอยู่บ้าน จำนวน 229 คน คิดเป็นร้อยละ 57.3 รองลงมา หอพักจำนวน 87 คน คิดเป็นร้อยละ 21.8 บ้านเช่า จำนวน 69 คน คิดเป็นร้อยละ 17.3 ต่อมาอพาร์ตเม้น จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 2.8 และอื่น ๆ จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 1.0





2.พฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารไข้หวัดใหญ่ 2009
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการเปิดรับข้อมูลข่าวสารไข้หวัดใหญ่ 2009 ของระชาชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานีพบว่า
2.1.ประชาชนส่วนใหญ่มีความรู้ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 45.3 รองลงมาคือมาก คิดเป็นร้อยละ 26.3 ปานกลางคิดเป็นร้อยละ 25.3 ต่อมาน้อย คิดเป็นร้อยละ 2.3 และน้อยที่สุดคิดเป็นร้อยละ 1.0
2.2.ประชาชนส่วนใหญ่มีการรับมือกับไข้หวัด 2009 ใช้หน้ากากอนามัย คิดเป็นร้อยละ 72.0 ลำดับที่ 2 หมั่นล้างมือบ่อยๆ คิดเป็นร้อยละ65.8 ลำดับที่ 3 เมื่อรู้สึกไม่สบายให้ไปหาหมอทันที คิดเป็นร้อยละ 29.3 ลำดับที่ 4ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วย คิดเป็นร้อยละ 23.3 และลำดับสุดท้ายอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 5.0
2.3.ประชาชนส่วนใหญ่กลัวการติดเชื้อ กลัวมากที่สุด ร้อยละ 19.8 กลัวมาก ร้อยละ 50.8 ปานกลาง ร้อยละ 22.0 กลัวน้อย ร้อยละ 2.5 กลัวน้อยที่สุด 5.0
2.4.ประชาชนส่วนใหญ่ ได้รับข้อมูลข่าวสารไข้หวัดใหญ่ 2009 จากโทรทัศน์ ร้อยละ 89.0 หนังสือพิมพ์ ร้อยละ 34.0 อินเตอร์เน็ต ร้อยละ 31.3 วิทยุ ร้อยละ 22.8 คนใกล้ชิด ร้อยละ 19.8
2.5.ประชาชนส่วนใหญ่มีวิธีการป้องกัน ใส่หน้ากากอนามัย คิดเป็นร้อยละ 78.0 กินช้อนกลาง ร้อยละ 59.5 ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ ร้อยละ 47.0ไม่เข้าใกล้คนที่ติดเชื้อ ร้อยละ 33.0 อื่นๆ ร้อยละ 7.3
2.6.ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้รับการแพร่ระบาด ร้อยละ 61.5 ได้รับ ร้อยละ 38.5 ตามลำดับ
2.7.ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจเกี่ยวกับข้อมูล การป้องกันร้อยละ 73.3 รองลงมา การแพร่เชื้อและการติดเชื้อ ร้อยละ 21.0 ยาชนิดที่สามารถรักษาโรคไข้หวัด 2009 ร้อยละ 5.5 สุดท้ายอื่นๆร้อยละ 0.3
3.สภาพความพึงพอใจในการเปิดรับข้อมูลข่าวสารไข้หวัดใหญ่ 2009 ในเขตทศบาลนครอุดรธานี
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการเปิดรับข้อมูลข่าวสารไข้หวัดใหญ่ 2009 ในเขตทศบาลนครอุดรธานี
พบว่าสภาพความพึงพอใจในการเปิดรับข้อมูลข่าวสารไข้หวัดใหญ่ 2009 ของประชาชนในเขตเทศบาลนครออุดรธานี ศึกษาพบว่าประชาชนมีความพึงพอใจในการเปิดรับข้อมูลข่าวสารมากที่สุด ความพึงพอใจต่อการเปิดรับข้อมูลข่าวสารไข้หวัดใหญ่ 2009 มากที่สุด ร้อยละ 44.8 และน้อยที่สุด ร้อยละ 0.5 ความพึงพอใจต่อการรักษาไข้หวัด 2009 มากที่สุด ร้อยละ 50.5 และน้อยที่สุด ร้อยละ 0.5 ความพึงพอใจต่อการควบคุมการป้องกันไข้หวัด 2009มากที่สุด ร้อยละ 51.0 และน้อยที่สุด ร้อยละ0.3 ความพึงพอใจต่อการควบคุมการแพร่ระบาดไข้หวัดใหญ่ 2009 มากที่สุด ร้อยละ 54.8 และน้อยที่สุด ร้อยละ 2.8

สรุปรวมผลการวิจัย
จากการวิจัยจะพบได้ว่าประชาชนส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับไข้หวัดใหญ่ 2009 มากที่สุด คือการเปิดรับข้อมูลข่าวสารไข้หวัดใหญ่ 2009 และรองลงมาคือการป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009 โดยการใช้หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อถ้าคิดเป็น ร้อยละ 78.0 กินช้อนกลาง ร้อยละ 59.5 ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ ร้อยละ 47.0
จากการวิจัยเกี่ยวกับการเปิดรับข้อมูลข่าวสารไข้หวัดใหญ่ 2009 พบได้ว่าประชาชน มีความสนใจในการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร มีการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 และการควบคุมการแพร่ระบาดของไข้หวัดเป็นกันมาก เพราะประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพกันอย่างดี
สิ่งที่ได้รับจากการวิจัย
1.ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเปิดรับข้อมูลข่าวสารของไข้หวัดใหญ่ 2009 ของประชาชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี
2.ได้เรียนรู้วิธีการป้องกันไข้หวัดใหญ่2009ของประชาชนในเขตเทศบาลนคร อุดรธานี
3.ได้เรียนรู้ถึงความพึงพอใจของประชาชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานีเกี่ยวกับผลการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเรื่องของการป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น