วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี ในทัศนคติของประชาชนทั่วไปในเขตเทศบาลนครอุดรธานี

งานวิจัย ปีการศึกษาปี 2550 สาขาวิชานิเทศศาสตร์
ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี ในทัศนคติของประชาชนทั่วไปในเขตเทศบาลนครอุดรธานี
วัตถุประสงค์
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานีในทัศนคติของประชาชนทั่วไปในเขตเทศบาลนครอุดรธานี ในด้านตัวสถาบัน ด้านอาจารย์ ด้านนักศึกษาและด้านการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมในชุมชน
วิธีการดำเนินการวิจัย
ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับภาพลักษณ์
ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการประชาสัมพันธ์
ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับทัศนคติ
ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี
สร้างแบบสอบถามเพื่อศึกษาเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานีในทัศนคติของประชาชนทั่วไปในเขตเทศบาลนครอุดรธานี
เก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างวันที่ 27 มีนาคม 2551 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2551
สรุปผลการวิจัย
ข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม
ด้านเพศของผู้ตอบแบบสอบถาม
พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเพศหญิงมีจำนวนมากที่สุดคือ212 คน(ร้อยละ 53.0) รองลงมาคือเพศชาย มีจำนวน 163 คน(ร้อยละ40.8) และอันดับสุดท้ายคือ เพศที่สาม ได้แก่ ทอม ดี้ เกย์ กระเทย มีจำนวน 25 คน(ร้อยละ6.3)
ด้านอายุ
พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุระหว่าง 16-25 ปี มีจำนวนมากที่สุดคือ 156 คน(ร้อยละ39.0) รองลงมาคืออายุระหว่าง 26 - 35ปี มีจำนวน101 คน(ร้อยละ25.3) อายุระหว่าง 36 - 45 ปี มีจำนวน 73 คน (ร้อยละ18.3) อายุระหว่าง 46 - 55 ปี มีจำนวน 43 คน(ร้อยละ10.8) อายุต่ำกว่า 15 ปี มีจำนวน 16 คน(ร้อยละ4.0) และอายุ 56 ปีขึ้นไปมีจำนวน 11 คน(ร้อยละ2.8) ตามลำดับ
ด้านสถานภาพ
พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีสถานภาพโสดมากที่สุด คือ มีจำนวน 248 คน (ร้อยละ62.0)รองลงมาคือมีสถานภาพสมรส จำนวน 128 คน(ร้อยละ32.0) และสุดท้ายคืออย่าร้าง/หม้าย จำนวน 24 คน(ร้อยละ6)

ด้านการศึกษา
พบว่า มีผู้ตอบแบบสอบถามที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีมากที่สุด คือ จำนวน 160 คน(คิดเป็นร้อยละ40.0) รองลงมาคือระดับปวส./อนุปริญญาหรือเทียบเท่า มีจำนวน 84 คน (คิดเป็นร้อยละ21.0) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช.หรือเทียบเท่า มีจำนวน 62 คน(ร้อยละ15.5) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 37 คน(ร้อยละ9.3) ระดับประถมศึกษาจำนวน 31 คน(ร้อยละ7.8) ระดับปริญญาโทจำนวน 24 คน(ร้อยละ6.0) ระดับปริญญาเอก และอื่นๆ จำนวนอย่างละ1คน(ร้อยละ0.3)
ด้านอาชีพ
พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นนักเรียน/นักศึกษา มีจำนวน 108 คน (ร้อยละ27.0) รองลงมา คือ ลูกจ้าง /พนักงานบริษัท/รัฐวิสาหกิจ จำนวน 95 คน (ร้อยละ23.8) อาชีพรับราชการ จำนวน 69 คน(ร้อยละ17.3) ประกอบธุรกิจส่วนตัว จำนวน 68 คน (ร้อยละ17.0) ไม่ได้ประกอบอาชีพ จำนวน 25 คน(คิดเป็นร้อยละ6.3) รับจ้างจำนวน 15 คน (ร้อยละ3.8) เกษตรกร จำนวน 14 คน(ร้อยละ3.5) และอื่นๆจำนวน 6 คน (ร้อยละ1.5)
ด้านรายได้
พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีรายได้ 4,001-8,000 บาท มีจำนวนมากที่สุดคือ 129 คน (ร้อยละ32.3) รองลงมาคือผู้ตอบแบบสอบถามที่มีรายได้น้อยกว่า 4,000 บาท มีจำนวน 77 คน (ร้อยละ19.3) รายได้ 8,001-1,200 บาท จำนวน 74 คน (ร้อยละ18.5)รายได้ 12,001-16,000 บาท สุดท้ายคือ รายได้ 16,001-20,000 บาท มีจำนวน 22คน (ร้อยละ5.5)
การรับรู้ข่าวสารของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี
การเคยได้รับข่าวสารข้อมูลข่าวสาร
พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม เคยได้รับข้อมูลข่าวสารของมหาวิทยาลัยฯ มีจำนวน 345 คน (ร้อยละ86.3)ส่วนผู้ตอบแบบสอบถามที่ไม่เคยได้รับข้อมูลข่าวสารของมหาวิทยาลัยฯ มีจำนวน 55 คน (ร้อยละ13.8)
การเคยติดตามข้อมูลข่าวสาร
พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเคยติดตามข้อมูลข่าวสารของมหาวิทยาลัยฯ มีจำนวน 243 คน (ร้อยละ60.8)ส่วนผู้ตอบแบบสอบถามที่ไม่เคยติดตามข้อมูลข่าวสารของมหาวิทยาลัยฯ มีจำนวน 157 คน (ร้อยละ39.3)

ด้านความสนใจข้อมูลข่าวสารการประชาสัมพันธ์
พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีความสนใจข้อมูลข่าวสารของมหาวิทยาลัยฯ มีจำนวน 317 คน (ร้อยละ79.3) ส่วนผู้ตอบแบบสอบถามที่ไม่สนใจข้อมูลข่าวสารของมหาวิทยาลัยฯ มีจำนวน 83 คน (ร้อยละ20.8
การได้ทราบว่ามหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี มีการประชาสัมพันธ์หลากหลายช่องทาง
พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่ไม่ทราบว่ามหาวิทยาลัยฯมีการประชาสัมพันธ์หลากหลายช่องทางมีจำนวน203 คน(ร้อยละ50.8)และผู้ตอบแบบสอบถามที่ทราบว่ามหาวิทยาลัยฯ มีการประชาสัมพันธ์หลากหลายช่องทาง มีจำนวน 196 คน (ร้อยละ 49)

ช่องทางในการได้รับข่าวสารการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามได้รับทราบข้อมูลข่าวสารจากนักเรียน/นักศึกษา/เจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยฯ มีจำนวน 242 คน (ร้อยละ60.5) จากป้ายประชาสัมพันธ์ จำนวน 231 คน (ร้อยละ57.8) จากอินเตอร์เน็ต จำนวน 162 คน (ร้อยละ40.5) สถานีวิทยุทั่วไปและสถานีวิทยุชุมชนของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จำนวน 137 คน (ร้อยละ34.3) สถานีวิทยุโทรทัศน์ทั่วไปและสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่น จำนวน 105 คน (ร้อยละ26.3) วารสาร/แผ่นพับ/ใบปลิว/สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ จำนวน 81 คน (ร้อยละ20.3) รถแห่โฆษณา จำนวน 10 คน (ร้อยละ2.5) และอื่นๆ จำนวน 9 คน (ร้อยละ2.3)
การเข้าถึงและครอบคลุมกลุ่มประชากรในท้องถิ่น
พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่เห็นว่าการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยฯไม่สามารถเข้าถึงและไม่ครอบคลุมกลุ่มประชากรในท้องถิ่น มีจำนวน 219 คน(ร้อยละ54.8) และผู้ที่เห็นว่าการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยฯ เข้าถึงและครอบคลุมกลุ่มประชากรในท้องถิ่น มีจำนวน 181 คน (ร้อยละ45.3)
ด้านการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยฯ
พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่เห็นว่าการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยฯ ควรปรับปรุง มีจำนวน 208 คน(ร้อยละ52.0) และผู้ที่เห็นว่าดีแล้วมีจำนวน 192 คน (ร้อยละ48.0)

ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ด้านตัวสถาบัน
พบว่า ความเหมาะสมของสถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัยฯ มีค่าเฉลี่ย 4.06 (จัดอยู่ในระดับดี) สภาพของอาคารเรียนละสิ่งก่อสร้างต่างๆ มีค่าเฉลี่ย 3.90 (จัดอยู่ในลำดับดี) ความสะดวกในการเดินทาง ไปยังมหาวิทยาลัยฯ มีค่าเฉลี่ย 3.76 (จัดอยู่ในระดับดี)สภาพภูมิทัศน์โดยรวมของมหาวิทยาลัยฯร่มรื่นสวยงาม มีค่าเฉลี่ย 3.66 (จัดอยู่ในระดับดี) เป็นสถาบันที่มีชื่อเสียงน่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับจากสังคม มีค่าเฉลี่ย 3.65(จัดอยู่ในระดับดี) หลักสูตรการเรียนการสอนที่หลากหลายและเหมาะสม มีค่าเฉลี่ย 3.55 (จัดอยู่ในระดับดี) สื่ออุปกรณ์การเรียนการสอนอย่างเพียงพอและทันสมัย มีค่าเฉลี่ย 3.50 (จัดอยู่ในระดับดี) ความสะดวกสบายในการติดต่อราชการกับมหาวิทยาลัยฯ มีค่าเฉลี่ย 3.11 (จัดอยู่ในระดับปานกลาง)
ด้านอาจารย์
พบว่า การแต่งกายสุภาพเหมาะสม มีค่าเฉลี่ย 3.73 (จัดอยู่ในระดับดี) มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีค่าเฉลี่ย 3.72 (จัดอยู่ในระดับดี) พูดจาดี สุภาพเรียบร้อยค่าเฉลี่ย 3.68(จัดอยู่ในระดับดี)การวางตัวเหมาะสมของอาจารย์ ค่าเฉลี่ย 3.65(จัดอยู่ในระดับดี)มีคุณธรรมในการประกอบอาชีพ ค่าเฉลี่ย 3.59 (จัดอยู่ในระดับดี)มีความทันสมัย วิสัยทัศน์กว้าง ทันสมัย ค่าเฉลี่ย 3.58 (จัดอยู่ในระดับดี)
ด้านนักศึกษา
พบว่า มีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าคิดกล้าแสดงออกในทางที่ถูกที่ควร ค่าเฉลี่ย 3.52(จัดอยู่ในระดับดี) มีมนุษยสัมพันธ์ดีค่าเฉลี่ย 3.49 (จัดอยู่ในระดับปานกลาง) มีความรับผิดชอบและขยันหมั่นเพียร ค่าเฉลี่ย 3.41 (จัดอยู่ในระดับปานกลาง) มีคุณภาพไม่ด้อยกว่านักศึกษาของสถาบันอื่น ค่าเฉลี่ย 3.36 (จัดอยู่ในระดับปานกลาง) ตั้งใจใฝ่ศึกษาเรียนรู้ ค่าเฉลี่ย 3.35 (จัดอยู่ในระดับปานกลาง)แต่งกายสุภาพ ค่าเฉลี่ย 3.23 (จัดอยู่ในระดับ ปานกลาง) พูดจาสุภาพ มีความอ่อนน้อมถ่อมตนมีความประพฤติเรียบร้อย ค่าเฉลี่ย 3.21 (จัดอยู่ในระดับปานกลาง) ประพฤติเป็นตัวอย่างที่ดีของเยาวชนในชุมชน ค่าเฉลี่ย 3.17 (จัดอยู่ในระดับปานกลาง)
ด้านการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมในชุมชน
พบว่า ข้อมูลข่าวสารมีสาระและเป็นประโยชน์ต่อคนในสังคม/ชุมชน ค่าเฉลี่ย 3.43 (จัดอยู่ในระดับดี) ข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่มีความชัดเจนถูกต้อง แม่นยำ และน่าเชื่อถือ ค่าเฉลี่ย 3.41 (จัดอยู่ในระดับดี) มีความรับผิดชอบต่อสังคม ตลอดจนมีบทบาทในการร่วมพัฒนาชุนชน ค่าเฉลี่ย 3.39 (จัดอยู่ในระดับปานกลาง) ให้ความร่วมมือสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆในชุมชน/สังคมค่าเฉลี่ย 3.38(จัดอยู่ในระดับปานกลาง) มีความ เป็นกลางในการมีส่วนร่วมกิจกรรมต่างๆของชุมชน/สังคม ค่าเฉลี่ย 3.38 (จัดอยู่ในระดับปานกลาง) มีความประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข่าวสารของมหาวิทยาลัยออกสู่สังคม/ชุมชน ค่าเฉลี่ย 3.34 (จัดอยู่ในระดับปานกลาง)มีการนำเสนอข่าวสารผ่านสื่อต่างๆได้หลากหลายช่องทาง ค่าเฉลี่ย 3.33 เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับรู้ข่าวสารต่างๆและแสดงความคิดเห็นต่อมหาวิทยาลัยได้อย่างเสรี ค่าเฉลี่ย 3.29(จัดอยู่ในระดับปานกลาง)รูปแบบการนำเสนอข่าวสารน่าสนใจและทันสมัย ค่าเฉลี่ย 3.27 (จัดอยู่ในระดับปานกลาง)มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆอย่างต่อและเหมาะสม ค่าเฉลี่ย 3.26 (จัดอยู่ในระดับปานกลาง)ข่าวสารการประชาสัมพันธ์ต่างๆของมหาวิทยาลัยสามารถเข้าถึงประชาชนได้ เป็นจำนวนมาก ค่าเฉลี่ย 3.17 (จัดอยู่ในระดับปานกลาง) ประชาชนทั่วไปสามารถรับทราบข้อมูลข่าวสารต่างๆของมหาวิทยาลัยฯได้อย่างสะดวก ง่ายดาย และรวดเร็ว ค่าเฉลี่ย 3.12 (จัดอยู่ในระดับปานกลาง)
สิ่งที่ได้จากงานวิจัยชิ้นนี้
ทำให้ทราบถึงแนวทางในการคิดสร้างสรรค์งานวิจัยชิ้นต่อไป
ได้ทราบถึงวิธีการในการสร้างงานวิจัย ซึ่งมีขั้นตอนต่างๆ ที่ปรากฏในงานวิจัย
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีในทัศนคติของประชาชนทั่วไปในเขตเทศบาลนครอุดรธานี ซึ่งผู้วิจัยก็ได้สรุปผลการวิจัย โดยการจำแนกข้อมูลในด้านต่างๆ อย่างละเอียด เช่น การให้ข้อมูลจากการสำรวจในด้านตัวสถาบัน ด้านอาจารย์ ด้านนักศึกษาและ ด้านการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมในชุมชน แล้วนำมาจัดลำดับข้อมูล
ได้ทราบข้อสรุปเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานีในทัศนคติของประชาชนทั่วไปในเขตเทศบาลนครอุดรธานี ในด้านต่างๆว่าประชาชนทั่วไป มีความคิดอย่างไรกับมหาวิทยาลัย เช่น ในด้านตัวสถาบัน ด้านอาจารย์ ด้านนักศึกษาและด้านการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมในชุมชน
ได้ทราบว่ามหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานีมีคุณภาพมากน้อยเพียงใดจากข้อมูลการสำรวจของงานวิจัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น