วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

พฤติกรรมการเปิดรับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและความพึงพอใจของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

สรุปการวิจัยเรื่อง
“พฤติกรรมการเปิดรับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและความพึงพอใจของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี”



การวิจัยเรื่อง “พฤติกรรมการเปิดรับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและความพึงพอใจของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี” เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามจำนวน
400 ชุด ผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถามด้วยตนเอง โดยนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ดังนี้
1.คำนวณหาค่าเฉลี่ยของข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม และพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต โดยรวมเป็นรายข้อ
2.คำนวณหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัญหาการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต และความพึงพอใจการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต โดยรวมเป็นรายด้าน
โดยผลการวิจัยเป็นดังนี้
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 21-25 ปี รองลงมา คือ อายุมากกว่า 26 ปี ส่วนใหญ่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นปีที่ 3 และปีที่ 2 โดยส่วนใหญ่ศึกษาคณะวิทยาการจัดการ รองลงมา คือ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ , คณะเทคโนโลยี และคณะครุศาสตร์
ส่วนใหญ่มีการสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต 2-3 ครั้ง ต่อสัปดาห์ช่วงเวลาวันหยุด (เสาร์-อาทิตย์) รองลงมา คือ ทุกวัน/เกือบทุกวัน โดยเวลาที่สืบค้นคือช่วงวันหยุด (เสาร์-อาทิตย์) เวลา 08.00 น. – 15.59 น. และ เวลา 16.00 น. – 23.59 น. ส่วนใหญ่ใช้ระยะเวลาในการสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต 1-2 ชั่วโมง และ 5 ชั่วโมงขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์ในการสืบค้นข้อมูล คือ ค้นหารายวิชาที่เปิดสอนเพื่อลงทะเบียน และ ค้นคว้าหาข้อมูลประกอบการทำรายงาน/วิจัย/โครงการ ส่วนสถานที่ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีที่สืบค้นข้อมูลส่วนใหญ่ คือ ที่สำนักวิทยบริการ และ ศูนย์คอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังนิยมใช้สถานที่ในการสืบค้นข้อมูลที่หอพัก
ระดับความพึงพอใจการใช้อินเทอร์เน็ตของผู้ตอบแบบสอบถามแบ่งความพึงพอใจออกเป็น 5 ด้าน โดยมีการแปรผลดังนี้
ความพึงพอใจในการใช้อินเทอร์เน็ตด้านการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีของผู้ตอบแบบสอบถามใน 3 ลำดับแรก ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการดาวน์โหลดคลิปวีดีโอ จัดอยู่ในเกณฑ์มาก รองลงมา คือการ ดาวน์โหลดโปรแกรมมาใช้งาน จัดอยู่ในเกณฑ์มาก และ การสื่อสารผ่านทางE-mail จัดอยู่ในเกณฑ์มากเช่นกัน
ความพึงพอใจในการใช้อินเทอร์เน็ตด้านฮาร์ดแวร์ของผู้ตอบแบบสอบถามใน 3 ลำดับแรก
ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในในความเพียงพอของเครื่องคอมพิวเตอร์ในร้านที่ไปใช้บริการ จัดอยู่ในเกณฑ์มาก รองลงมา คือ ความทันสมัยของเครื่องคอมพิวเตอร์ จัดอยู่ในเกณฑ์มาก และความเพียงพอ
ของอุปกรณ์เสริมในร้านไปใช้บริการ จัดอยู่ในเกณฑ์มากเช่นกัน


ความพึงพอใจในการใช้อินเทอร์เน็ตด้านซอฟต์แวร์ของผู้ตอบ ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจ
ในความหลากลายของโปรแกรมที่ติดตั้งประจำของแต่ละเครื่องในร้านที่ไปใช้บริการ จัดอยู่ในเกณฑ์
มากเช่นกัน
ความพึงพอใจในการใช้อินเทอร์เน็ตด้านระบบการสื่อสารของผู้ตอบแบบสอบถามใน 3 ลำดับแรก ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูล จัดอยู่ในเกณฑ์มากรองลงมา คือ ความเร็วในการใช้สื่อมัลติมีเดีย จัดอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง และความเร็วในการสนทนา (Chat) จัดอยู่ในเกณฑ์ปานกลางเช่นกัน
ความพึงพอใจในการใช้อินเทอร์เน็ตด้านสภาพแวดล้อมของผู้ตอบแบบสอบถามใน 3 ลำดับแรก
ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในสถานที่ตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ในร้านที่ท่านไปใช้บริการ จัดอยู่ในเกณฑ์มาก
รองลงมา คือ ระดับแสงสว่างในร้านที่ท่านไปใช้บริการ จัดอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง และการจัดพื้นที่สัญจรไปมาในร้านที่ท่านไปใช้บริการ จัดอยู่ในเกณฑ์ปานกลางเช่นกัน
ความพึงพอใจในการใช้อินเทอร์เน็ตด้านบริการของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการติดตั้งกล้องวงจรปิด จัดอยู่ในเกณฑ์มาก รองลงมา คือ การเปิด-ปิดของร้านที่ให้การบริการ
จัดอยู่ในเกณฑ์มาก


สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
การศึกษาวิจัยเรื่อง“พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี” โดยมีวัตถุประสงค์ ขั้นตอนการวิจัย และ ผลการวิจัย โดยสรุปดังนี้

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตของนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
2.เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมในการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

เครื่องมือในการดำเนินวิจัย
ประชากรกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรการวิจัย ได้แก่ นักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ในปี 2552 จำนวนประชากรทั้งสิ้น 19,799 คน ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มจากประชากรโดยวิธีการสุ่มแบบง่าย คือ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง
จากตารางสำเร็จของ Krejcie และ Morgan เมื่อจำนวนประชากรเท่ากับ 19,799 คน ดังนั้นจำนวนตัวอย่าง
ควรจะเป็นจำนวนไม่ต่ำกว่า 377 คน พิจารณากลุ่มประชากร ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ในปี 2552 เพื่อให้การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างมีความสมดุล และสอดคล้องกับการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie และ Morgan จึงใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ในการวิจัยครั้งนี้

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้ที่ศึกษาใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ซึ่งสร้างขึ้นจากการได้การศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ปัญหาการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต และความพึงพอใจในการใช้บริการเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ซึ่งแบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 ตอน คือ

ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นแบบสอบถามประเภท ตรวจสอบรายการ
ตอนที่ 2 เป็นข้อมูลพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เป็นแบบสอบถามประเภท ตรวจสอบรายการ
ตอนที่ 3 ความพึงพอใจในการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เป็นแบบสอบถามประเภท ชนิดมาตรประมาณค่า
ตอนที่ 4 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อเสนอแนะ

การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง ใช้ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลและประมวลผลจำนวน 2 สัปดาห์

การสร้างเครื่องมือในการวิจัย
การสร้างเครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถาม เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวม โดยการดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1.ทำการวิเคราะห์จุดมุ่งหมายของการวิจัย ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเพื่อที่จะได้กำหนด วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ตรงกับจุดหมาย
2. กำหนดลักษณะข้อมูลว่ามีข้อมูล ลักษณะ เพื่อที่จะได้กำหนดระดับการวัดและกำหนดเครื่องมือวัดให้ตรงจุดมุ่งหมาย ในที่นี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการวิจัย
3. พิจารณาคำภาม ศึกษาตัวอย่างเครื่องมือแบบสอบถามที่คล้ายกันหรือเทคนิคในการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อที่จะได้เก็บข้อมูลได้ตรงกับจุดมุ่งหมาย โดยศึกษาจากเครื่องมือของบทวิจัยหรือบทวิทยานิพนธ์ที่มีเนื้อหาใกล้เคียง และคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ
4. สร้างเครื่องมือแบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม 4 ขั้นตอน ประเภทมาตรประมาณค่า ชนิดตรวจรายการ และแบบสอบถามแบบเปิด
5. ทดลองใช้เครื่องมือและหาคุณภาพด้านความตรง ความเที่ยง และคุณภาพด้านอื่น กับ ประชาชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 10 ชุด
6. เก็บรวบรวมข้อมูล ปรับปรุงเครื่องมือในการวิจัยให้มีคุณภาพตามเกณฑ์ต่างๆ แล้วจึงนำมาใช้เก็บข้อมูลจริง

การแปลความหมายค่าเฉลี่ย
ผู้วิจัยได้ตั้งเกณฑ์ในการแปลความหมายค่าเฉลี่ยของระดับคะแนนปัญหาการใช้งานของบุคลากร
และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี การแปลความหมายค่าเฉลี่ยมีดังนี้
ปัญหามากที่สุด ( 5) หมายถึง ระดับปัญหาที่พบมากที่สุด
ปัญหามาก ( 4) หมายถึง ระดับปัญหาที่พบ
ปัญหาปานกลาง ( 3) หมายถึง ระดับปัญหาที่ปานกลาง
ปัญหาน้อย ( 2) หมายถึง ระดับปัญหาที่พบน้อย
ปัญหาน้อยที่สุด ( 1) หมายถึง ระดับปัญหาที่พบน้อยที่สุด
วิธีดำเนินการวิจัย
การเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ในปี 2552 จำนวน 400 คน และผู้วิจัย
ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง

สรุปผลการวิจัย
“พฤติกรรมการเปิดรับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและความพึงพอใจของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี”เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามจำนวน
400 ชุด ผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถามด้วยตนเอง โดยนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ดังนี้
1.คำนวณหาค่าเฉลี่ยของข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม และพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต โดยรวมเป็นรายข้อ
2.คำนวณหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัญหาการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต และความพึงพอใจการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต โดยรวมเป็นรายด้าน
โดยผลการวิจัยเป็นดังนี้


ตอนที่ 1 ข้อมูลลักษณะส่วนบุคคลทั่วไป
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 21-25 ปี รองลงมา คือ อายุมากกว่า 26 ปี ส่วนใหญ่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นปีที่ 3 และปีที่ 2 โดยส่วนใหญ่ศึกษาคณะวิทยาการจัดการ รองลงมา คือ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ , คณะเทคโนโลยี และคณะครุศาสตร์

ตอนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการเปิดรับอินเทอร์เน็ต
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีการสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต 2-3 ครั้ง ต่อสัปดาห์ช่วงเวลาวันหยุด (เสาร์-อาทิตย์) รองลงมา คือ ทุกวัน/เกือบทุกวัน โดยเวลาที่สืบค้นคือช่วงวันหยุด (เสาร์-อาทิตย์) เวลา 08.00 น. – 15.59 น. และ เวลา 16.00 น. – 23.59 น. ส่วนใหญ่ใช้ระยะเวลาในการสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต 1-2 ชั่วโมง และ 5 ชั่วโมงขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์ในการสืบค้นข้อมูล คือ ค้นหารายวิชาที่เปิดสอนเพื่อลงทะเบียน และ ค้นคว้าหาข้อมูลประกอบการทำรายงาน/วิจัย/โครงการ ส่วนสถานที่ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีที่สืบค้นข้อมูลส่วนใหญ่ คือ ที่สำนักวิทยบริการ และ ศูนย์คอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังนิยมใช้สถานที่ในการสืบค้นข้อมูลที่หอพัก

ตอนที่ 3 ความพึงพอใจในการใช้อินเทอร์เน็ต
ระดับความพึงพอใจการใช้อินเทอร์เน็ตของผู้ตอบแบบสอบถามแบ่งความพึงพอใจออกเป็น 5 ด้าน โดยมีการแปรผลดังนี้
ความพึงพอใจในการใช้อินเทอร์เน็ตด้านการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีของผู้ตอบแบบสอบถามใน 3 ลำดับแรก ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการดาวน์โหลดคลิปวีดีโอ จัดอยู่ในเกณฑ์มาก รองลงมา คือการ ดาวน์โหลดโปรแกรมมาใช้งาน จัดอยู่ในเกณฑ์มาก และ การสื่อสารผ่านทางE-mail จัดอยู่ในเกณฑ์มากเช่นกัน
ความพึงพอใจในการใช้อินเทอร์เน็ตด้านฮาร์ดแวร์ของผู้ตอบแบบสอบถามใน 3 ลำดับแรก
ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในในความเพียงพอของเครื่องคอมพิวเตอร์ในร้านที่ไปใช้บริการ จัดอยู่ในเกณฑ์มาก รองลงมา คือ ความทันสมัยของเครื่องคอมพิวเตอร์ จัดอยู่ในเกณฑ์มาก และความเพียงพอ
ของอุปกรณ์เสริมในร้านไปใช้บริการ จัดอยู่ในเกณฑ์มากเช่นกัน

ความพึงพอใจในการใช้อินเทอร์เน็ตด้านซอฟต์แวร์ของผู้ตอบ ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจ
ในความหลากลายของโปรแกรมที่ติดตั้งประจำของแต่ละเครื่องในร้านที่ไปใช้บริการ จัดอยู่ในเกณฑ์
มากเช่นกัน
ความพึงพอใจในการใช้อินเทอร์เน็ตด้านระบบการสื่อสารของผู้ตอบแบบสอบถามใน 3 ลำดับแรก ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูล จัดอยู่ในเกณฑ์มากรองลงมา คือ ความเร็วในการใช้สื่อมัลติมีเดีย จัดอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง และความเร็วในการสนทนา (Chat) จัดอยู่ในเกณฑ์ปานกลางเช่นกัน
ความพึงพอใจในการใช้อินเทอร์เน็ตด้านสภาพแวดล้อมของผู้ตอบแบบสอบถามใน 3 ลำดับแรก
ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในสถานที่ตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ในร้านที่ท่านไปใช้บริการ จัดอยู่ในเกณฑ์มาก
รองลงมา คือ ระดับแสงสว่างในร้านที่ท่านไปใช้บริการ จัดอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง และการจัดพื้นที่สัญจรไปมาในร้านที่ท่านไปใช้บริการ จัดอยู่ในเกณฑ์ปานกลางเช่นกัน
ความพึงพอใจในการใช้อินเทอร์เน็ตด้านบริการของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการติดตั้งกล้องวงจรปิด จัดอยู่ในเกณฑ์มาก รองลงมา คือ การเปิด-ปิดของร้านที่ให้การบริการ
จัดอยู่ในเกณฑ์มาก เช่นกัน


อภิปรายผล
ข้อมูลลักษณะบุคคลทั่วไป
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีความสอดคล้องกับงานวิจัยของ วิฑูรย์ เลิศประเสริฐพันธ์ (2543) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของวัยรุ่นในชีวิตประจำวันกรณีศึกษาเฉพาะนักศึกษามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างจำนวน
200 คน เป็นส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง
ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 21-25 ปี รองลงมา คือ อายุมากกว่า 26 ปี ส่วนใหญ่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นปีที่ 3 และปีที่ 2 โดยส่วนใหญ่ศึกษาคณะวิทยาการจัดการ รองลงมา คือ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ , คณะเทคโนโลยี และคณะครุศาสตร์

พฤติกรรมการเปิดรับอินเทอร์เน็ต
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีการสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ช่วงเวาลาวันหยุด (เสาร์-อาทิตย์) เวลา 08.00 น. – 15.59 น. มีความขัดแย้งกับผลงานวิจัยของวิฑูรย์ เลิศประเสริฐพันธ์ (2543) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของวัยรุ่นในชีวิตประจำวันกรณีศึกษาเฉพาะนักศึกษามหาวิทยาลัยหอการค้าไทยผลการวิจัยพบว่าช่วงเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ
22.00 – 24.00 น. ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการใช้ชีวิตของนักศึกษาแต่ละมหาวิทยาลัยแตกต่างกัน

ข้อเสนอแนะการวิจัย
1. ขั้นตอนในการแจกแบบสอบถาม ควรมีการวางแผนเกี่ยวกับ วัน เวลา สถานที่ ให้มีความครอบคลุม เพื่อการประหยัดเวลาในการแจกแบบสอบถาม
2. ควรมีผู้ช่วยในการแจกแบบสอบถาม เพื่อความรวดเร็ว และลดขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อน


ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
จากบทสรุปของการวิจัยครั้งนี้ ทำให้ผู้วิจัยได้ทราบว่า พฤติกรรมการเปิดรับเทคโนโลยี
อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ใช้สำหรับการศึกษาเพื่อดาวน์โหลดไฟล์เอกสาร และสืบค้นข้อมูลเพื่อการศึกษามากที่สุด
1. ทัศนะคติของนักศึกษาที่มีต่อเว็ปไซต์ www.udru.ac.th มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
2. ความพึงพอใจและการใช้ประโยชน์จากเว็ปไซต์ www.udru.ac.th มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ทั้งนี้ เพื่อนำผลการศึกษาที่ได้มาปรับใช้และเป็นแนวทางในการสร้างฐานข้อมูลทางการศึกษาให้มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ต่อไป



นางสาวลลิดา คนงาม ประชาสัมพันธ์ 4/3 รหัส 50040003150

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น