วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

รายงานการวิจัยเรื่อง พฤติกรรมและการใช้ประโยชน์จากการใช้โปรแกรมสนทนาบนอินเทอร์เน็ตของนักเรียนนักศึกษาในเขตเทศบาลนครอุดรธานี

ชื่องานวิจัย
รายงานการวิจัยเรื่อง พฤติกรรมและการใช้ประโยชน์จากการใช้โปรแกรมสนทนาบนอินเทอร์เน็ตของนักเรียนนักศึกษาในเขตเทศบาลนครอุดรธานี


วัตถุประสงค์
๑. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้โปรแกรมสนทนาบนอินเทอร์เน็ตของนักเรียนนักศึกษาในจังหวัดอุดรธานี
๒. เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากโปรแกรมสนทนาบนอินเทอร์เน็ตของนักเรียนนักศึกษาในจังหวัดอุดรธานี

วิธีการดำเนินการวิจัย
คณะผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ โดยดำเนินการวิจัยตามลำดับขั้นตอน ดังนี้
๑. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรการวิจัย ได้แก่ นักเรียนนักศึกษาในเขตเทศบาลนครอุดรธานี
๑.๑ กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้วิธีเทียบกับจากตารางสำเร็จของเคร็กกีและมอร์แกน โดยกำหนดความเชื่อมั่น 95% เมื่อจำนวนประชากรเท่ากับ 142,445 คน จำนวนตัวอย่างควรจะเป็นจำนวนไม่ต่ำกว่า 384 คน และเพื่อให้การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นไปเท่าเทียมกันและเป็นสัดส่วนจึงใช้จำนวนตัวอย่าง 400 คน
๑.๒ พิจารณาจากร้านอินเทอร์เน็ตที่ตั้งอยู่ใกล้สถานศึกษา ในถนนสายหลัดต่างๆ ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี คณะผู้วิจัยได้กำหนดวิธีการสุ่มตัวอย่างการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก โดยเลือกสุ่มจากถนนต่างๆ 5 สาย ได้แก้ ถนนทหาร ถนนหมากแข้ง ถนนศรีสุข ถนนโพธิ์ศรี และถนนประจักษ์
๑.๓ กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนนักศึกษาในเขตเทศบาลนครอุดรธานี จำนวน 400 คน ที่มีอายุระหว่าง 13 – 22 ปีขึ้นไป





๒. เครื่องมือในการวิจัย
ในการสร้างเครื่องมือใช้ในการวิจัย มีขั้นตอนที่สำคัญดังนี้
๒.๑ ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแบบสอบถาม
๒.๒ นำผลการศึกษาข้อ 1 มากำหนดและสร้างแบบสอบถาม
๒.๓ นำแบบสอบถามเสนออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อตรวจแก้ไขตามข้อเสนอแนะของอาจารย์ที่ปรึกษา
๒.๔ แก้ไขแบบสอบถามก่อนนำไปใช้จริง
๒.๕ นำเครื่องมือไปทดลองใช้
๒.๖ นำผลการทดลองที่ใช้มาปรับปรุงเครื่องมือให้มีประสิทธิภาพ
๒.๗ จัดพิมพ์เครื่องมือสอบถามเพื่อใช้เก็บข้อมูล


๓. การเก็บรวบรวมข้อมูล
๓.๑ ดำเนินการเก็บข้อมูล โดยให้ประชากรตอบแบบสอบถามด้วยตัวเอง
๓.๒ ตรวจสอบความถูกต้อง ลงรหัสและนำไปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์


๔. เกณฑ์การให้คะแนนเพื่อการวิเคราะห์
การกำหนดค่าคะแนนคำตอบที่ได้จากแบบสอบถามในการวะดตัวแปรที่ต้องการในเรื่องของการนำไปใช้ประโยชน์ได้ถือตามเกณฑ์ของบุญชม (บุญชม ศรีสะอาด , 2538 : 55-64)
วิธีการตรวจให้คะแนนข้อความด้านบวก
มากที่สุด ตรวจให้ 5 คะแนน
มาก ตรวจให้ 4 คะแนน
ปานกลาง ตรวจให้ 3 คะแนน
น้อย ตรวจให้ 2 คะแนน
น้อยที่สุด ตรวจให้ 1 คะแนน






๕. การประมวลผลข้อมูล
หลังจากเก็บข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ผู้วิจัยจะทำการลงรหัสข้อมูล แล้วนำผลที่ได้ไปประมวลเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC

๖. การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลจะกระทำดังนี้
การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ใช้สถิติวิเคราะห์เชิงพรรณนา คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการนำเสนอข้อมูลในตาราง เพื่ออธิบายข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกลุ่มตัวอย่าง


สรุปผลการวิจัย
แบ่งได้ ดังนี้
๑. ลักษณะทางประชากรศาสตร์
๒. พฤติกรรมของนักเรียนนักศึกษาที่ใช้อินเทอร์เน็ต
๓. ความคิดเห็นต่อการใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตของนักเรียนนักศึกษา



สิ่งที่ได้รับจากงานวิจัย
๑. ทำให้ทราบถึงแนวทางการป้องกันการใช้โปรแกรมสนทนาบนอินเทอร์เน็ตที่อาจเป็นภัยต่อตนเองและสังคมได้
๒. ทำให้ทราบถึงปัญหาและผลกระทบของนักเรียนนักศึกษาที่ใช้โปรแกรมสนทนาบนอินเทอร์เน็ต
๓. ทำให้ทราบถึงการใช้โปรแกรมสนทนาบนอินเตอร์เน็ตของนักเรียนนักศึกษา






น.ส.รุ่งทิวา ดวงตาผา 4/1 รหัส 50040001101

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น