วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เรื่อง ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเข้าพักในหอพัก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

เรื่องความพึ่งพอใจของนักศึกษาต่อการเข้าพักในหอพัก มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี


วัตถุประสงค์ในการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้ การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่ได้เข้าพักในหอพักมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี คณะผู้วิจัยได้สุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาที่ได้เข้ามาพักในหอพักมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี และได้สรุปผลอภิปรายผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ ดังต่อไปนี้
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าพักหอพักของทางมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี
2. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรค์เกี่ยวกับการเข้าพักในหอพักของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี
3. เพื่อศึกษาหาแนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค์ในการเข้าพักในหอพักของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี




วิธีการดำเนินการวิจัย


ในการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาในการเข้าพักในหอพักของมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี มีการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้
เป็นการวิจัยเชิงศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่เข้ามาพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีกลุ่มนักศึกษาเป็นเป้าหมายคือกลุ่มนักศึกษา ชาย/หญิง ทุกชั้นปีที่เข้าพักในหอพักของมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี โดยแบ่งเป็นหอชาย 100 และหอหญิง 100 วิธีสุ่มตัวอย่างใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple sampling) การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม (Question are) ประกอบด้วยคำถาม 3 กลุ่ม






การวิจัย เรื่อง ความพึงพอใจของนักศึกษาที่เข้าพักในหอพัก มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี การวิจัยครั้งนี้มี วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่เข้าพักในหอพัก มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี และนำข้อมูลที่ได้ จากการสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษามาวิเคราะห์ผลกระทบเพื่อเอาไปปรับปรุงพัฒนาหอพักให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
- ประชากร
- กลุ่มตัวอย่าง
- วิธีการสุ่มตัวอย่าง
3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย
3.3 ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือวิจัย
3.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล
3.5 การแปรผล – การวิเคราะห์ข้อมูล
3.6 เกณฑ์ที่ใช้ในการแปรผล
3.7 สถิติที่ใช้ในการวิจัย

3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

3.1.1 ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือนักเรียนและนักศึกษาที่เข้าพักในหอพักในจังหวัด อุดรธานี
3.1.2 กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย นักศึกษาที่เคยพักในหอพัก มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี จำนวน 200 คน ประกอบด้วย นักศึกษาที่พักในหอพักชาย จำนวน 100 คน นักศึกษาที่พักอยู่ในหอพักหญิง จำนวน 100 คน

กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย

ตัวอย่าง จำนวน
นักศึกษาที่พักในหอพักใน มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี (หอพักชาย) 100
นักศึกษาที่พักในหอพักใน มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี (หอพักหญิง) 100


3.1.3วิธีการสุ่มตัวอย่าง
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างในลักษณะแบบเฉพาะเจาะจงในการเลือกกลุ่มนักศึกษาที่เข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานีทั้งหอพักชายและหอพักหญิง เพราะมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการทำวิจัยในครั้งนี้

3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย

ผู้ทำวิจัยได้สร้างแบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประเภทปลายปิด/เปิด ที่ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เลือกตามที่ผู้วิจัยกำหนดซึ่งผู้วิจัยได้ทางแบบสอบถามขึ้นเอง โดยศึกษาจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะเรื่องความพึงพอใจของนักศึกษาที่เข้าพักในหอพักใน มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี แบบสอบถามประกอบด้วย 3 ตอน
ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม (ข้อมูลด้านประชากร) ซึ่งเกี่ยวกับ เพศ อายุ คณะศึกษาและภูมิลำเนา
ตอนที่ 2 ความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี จำนวน 13 ข้อ
ตอนที่ 3 ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี จำนวน 16 ข้อ
ข้อคิดเห็นต่อการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี จำนวน 2 ข้อ

3.3 ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างและพัฒนาเครื่องมือ ตามกรอบความคิดของการวิจัย มีขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยดังนี้
1. ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฏีเอกสาร ตำรา บทความทางวิชาการ ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2. กำหนดกรอบ เนื้อหา ความคิด และขอบข่ายในการสร้างเครื่องมือ จัดเป็นโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย เพื่อสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการวิจัยเสนออาจารย์ที่ปรึกษา
3. เครื่องมือการวิจัยนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษา
4. ทำแบบสอบถามความคิดเห็นที่ผ่านการตรวจมาปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์
5. สร้างเครื่องมือฉบับที่สมบูรณ์





3.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล


นำแบบสอบถาม จำนวน 200 ชุด ไปเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาที่พักในในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี และนักศึกษาที่พักในหอพักใน จ.อุดรธานี พร้อมรวบรวมแบบสอบถามทั้งหมด 200 ชุด โดยที่ผู้วิจัยควบคุมดารเก็บรวบรวมข้อมูลทุกขั้นตอน




3.5 การแปรผล – การวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ วิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป PC* เพื่อหาค่าสถิติดังต่อไปนี้
3.5.1 ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเข้าพักในหอพักใน มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี แบบสอบรายการ นำมาแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ
3.5.2 ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามเกี่ยวกับความหลากหลายของความคิดเห็นเกี่ยวกับการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี เป็นแบบตรวจสอบรายการ นำมาแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ
3.5.3 ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคต่อการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี นำมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
3.5.4 ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี ทำการรวบรวมและสรุปความคิดเห็น




3.6 เกณฑ์ที่ใช้ในการแปรผล

ในการวัดความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี ที่เกี่ยวกับความรู้สึกที่มีต่อคุณภาพบริการของสถานที่พัก การรับสื่อ รวมทั้งองค์ประกอบต่างๆ และประโยชน์หรือสิ่งต่างๆ ที่ได้รับจากการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี โดยใช้อัตราส่วนประมาณค่า (Raitng Scale) วัดแบบกำหนดเกณฑ์คะแนน ดังนี้


กำหนดคะแนนดังนี้

น้อยที่สุด = 1 คะแนน
น้อย = 2 คะแนน
ปานกลาง = 3 คะแนน
มาก = 4 คะแนน
มากที่สุด = 5 คะแนน


การแปลความหมายเพื่ออธิบายความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี ที่ได้จากแบบสอบถาม แบบมาตรส่วนประมาณค่าพิจารณาจากระดับค่าเฉลี่ยตามเกณฑ์ 5 ระดับ ดังต่อไปนี้

ค่าเฉลี่ย 4.51 – 5.00 หมายถึง ระดับความพึงพอใจมากที่สุด
ค่าเฉลี่ย 3.51 – 4.50 หมายถึง ระดับความพึงพอใจมาก
ค่าเฉลี่ย 2.51 – 3.50 หมายถึง ระดับความพึงพอใจปานกลาง
ค่าเฉลี่ย 1.51 – 2.50 หมายถึง ระดับความพึงพอใจน้อย
ค่าเฉลี่ย 1.00 – 1.50 หมายถึง ระดับความพึงพอใจน้อยที่สุด



3.7 สถิติที่ใช้ในการวิจัย

โปรแกรม SPSS for window มีดังนี้
สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) เป็นสถิติประเภทร้อยละ และค่าเฉลี่ยต่างๆ ดังนี้
- คุณลักษณะทางประชากรศาสตร์
- ความหลากหลายในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี
- ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่เข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี
- ปัญหาและอุปสรรคของนักศึกษาในเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี




ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี

แสดงค่าเฉลี่ยเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ส่วนใหญ่ความพึงพอใจระดับมากในการมีบริเวณจอดรถที่เหมาะสม ค่าเฉลี่ย 3.90 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.71 ระดับความพึงพอใจมากอันดับสอง พอใจในสวนพักผ่อนของทางหอพัก ค่าเฉลี่ย 3.56 ส่วนเบี่ยงเบน 0.31 มีความพึงพอใจระดับปานกลางต่อการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ค่าเฉลี่ย 3.46 ส่วนเบี่ยงเบน 0.34 ความพึงพอใจระดับปานกลางได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างต่อเนื่อง ค่าเฉลี่ย 3.40 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.73 ความพึงพอใจระดับปานกลางหอพักมีความปลอดภัยและ การบริการหอพักมีครบถ้วน ค่าเฉลี่ย 3.26 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.39 ความพึงพอใจระดับปานกลางอยากเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี ค่าเฉลี่ย 2.91 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.91 ความพึงพอใจระดับปานกลางกับห้องพักและเพื่อนร่วมห้องของตน ค่าเฉลี่ย 2.90 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.43 ความพึงพอใจระดับปานกลางได้รับความสะดวกสบายต่อการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี ค่าเฉลี่ย 2.86 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.53 ความพึงพอใจระดับปานกลางโดยรวมของภาพรวมองค์ประกอบทั้งหมด ค่าเฉลี่ย 2.81 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.52 ความพึงพอใจระดับปานกลางค่าห้องพักของหอพักใน มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี มีความเหมาะสม ค่าเฉลี่ย 2.74 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.55 ความพึงพอใจระดับปานกลางหอพักใน มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี มีระบบการให้บริการที่ทันสมัย ค่าเฉลี่ย 2.72 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.58 ความพึงพอใจระดับปานกลางนักศึกษามีความพึงพอใจกับสวัสดิการ ค่าเฉลี่ย 2.71 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.56 ความพึงพอใจระดับปานกลางนักศึกษามีความพึงพอใจกับกิจกรรมพัฒนาคุณภาพภายในหอพัก ค่าเฉลี่ย 2.71 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.55 ความพึงพอใจระดับปานกลางนักศึกษามีส่วนร่วมกับกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ที่ทางหอจัดขึ้น ค่าเฉลี่ย 2.71 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.53 ความพึงพอใจระดับปานกลางนักศึกษาได้รับและใช้บริการจากหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี ค่าเฉลี่ย 2.70 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.51 ความพึงพอใจระดับปานกลางนักศึกษาพอใจกับสภาพแวดล้อมบริเวณหอพักใน มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี ค่าเฉลี่ย 2.51 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.58




สรุปผลการวิจัย

จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวกับพฤติกรรมในความพึงพอใจในการพักหอพัก ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี พบประเด็นที่สมควรแก่การอภิปรายมีดังนี้





1. ข้อมูลส่วนตัว

ทำให้ทราบว่านักศึกษาที่เข้ามาพักในหอพักนั้นมีทั้งเพศชายและเพศหญิง มีอายุระหว่าง 18 – 21 ปี ส่วนใหญ่เป็นคณะมนุษย์ศาสตร์ และพักหอที่ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี เป็นประจำส่วนใหญ่จะมาจากต่างอำเภอ

2. ข้อมูลความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวการเข้าพักในหอพักมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี

ข้อมูลนักศึกษาที่เข้ามาพักในหอพักมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี สามารถวิเคราะห์หาข้อมูลความคิดเห็นของนักศึกษาเหล่านนี้ได้ว่า ความคิดเห็นของนักศึกษานั้นก่อนที่จะได้เข้ามาพักในหอของทางมหาวิทยาลัย ได้รับข้อมูลการเข้าพักจากหน่วยงานประชาสัมพันธ์ของทางมหาวิทยาลัยมากที่สุด นั้นทำให้ได้รู้ว่านักศึกษาเหล่านี้ได้เปิดรับสื่อทางด้านใดกันบ้าง ความต้องการที่จะพักต่อห้องนั้นนักศึกษาที่เข้ามาพักคิดว่าการที่ห้องพักหนึ่งห้องมีนักศึกษาพักรวมกัน 4 คน นั้นถือว่าเยอะเกินไปข้อมูลเหล่านี้ล้วนแล้วแต่สำคัญทั้งสิ้น จากการวิจัยพบว่า การที่มหาวิทยาลัยบังคับให้นักศึกษาเข้าพักนั้นส่วนใหญ่จะพักอยู่ 1 ปีการศึกษาหรือตามที่บังคับเอาไว้เท่านั้น และยังทราบถึงความต้องการของนักศึกษาเหล่านี้ว่ามีความต้องการด้านใดบ้างทั้งความต้องการภายในและภายนอก ความต้องการภายในอย่างเช่น เครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่อยู่ในห้อง และความต้องการภายนอก เช่น สถานที่จอดรถหรือสวนย่อมต่างๆ เป็นต้น อีกทั้งยังต้องการกิจกรรมเสริมต่างๆ ที่ทางหอพักจัดขึ้นหรือทางมหาวิทยาลัยจัดขึ้นทั้งข้อมูลเหล่านี้ ยังสามารถช่วยให้ทราบการตัดสินใจของนักศึกษาได้ง่ายยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นตัวบ่งบอกถึงภาพลักของมหาวิทยาลัยอีกด้วย

3. ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี

นักศึกษามีความพึงพอใจที่เข้าพักในหอพักที่ทางมหาวิทยาลัยจัดให้นั้น มีหลายเหตุผลที่จะเป็นตัวตัดสินว่า จะเข้านานมากน้อยขนาดไหนนั้น ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจในด้านต่างๆ อย่างเช่นด้านสภาพแวดล้อมต้องมีสภาพแวดล้อมที่ดี มีที่จอดรถที่เหมาะสมและมีกฎเกณฑ์ที่ดีต่อนักศึกษาและภายในหอพักนั้นก็ควรมีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อที่จะเป็นแรงจูงใจ ให้กับนักศึกษาเหล่านี้ เพื่อที่จะเป็นการสร้างความประทับใจให้กับนักศึกษาอีกทั้งยังเป็น การส่งเสริมภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยไปในทางที่ดีขึ้นและยังทำให้ผู้ปกครองของนักศึกษาเหล่านี้ได้ให้ความเชื่อมั่นกับทางมหาวิทยาลัยในการดูแลบุตรหลานของตนเอง ยังเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือและเป็นการยกระดับไปสู่สากลในอนาคตได้






สิ่งที่ได้จากการวิจัยเรื่องนี้

จากการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่เข้ามาพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี ผลการวิจัยทำให้ทราบถึงความพึงพอใจของนักศึกษาที่เข้าพักในหอพักมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง พัฒนา และแก้ไขส่วนที่บกพร่องต่างๆ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาที่ดีขึ้น ดังนั้นควนมีการศึกษาความต้องการของนักศึกษาที่เข้ามาพักในหอพักของทางมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี และควรให้รายละเอียดเกี่ยวกับการเข้าพักในหอพักอย่างชัดเจนเพื่อที่จะได้ความชัดเจนแก่นักศึกษามากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะทำให้นักศึกษาปรับตัวและเข้าใจกฎระเบียบที่ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี ได้ตั้งไว้ทั้งนี้ เพื่อให้นักศึกษาได้ความรู้ความเข้าใจมากขึ้นในการเตรียมตัวที่จะเข้ามาพักในหอพักของทาง มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี







ข้อเสนอแนะจากการศึกษาวิจัย

1. ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการวิจัยไปใช้
1.1 หน่วยงานหรือสถาบันที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยต่างๆ สามารถรู้ถึงความต้องการหรือความพึงพอใจ ในด้านต่างๆ ของนักศึกษาที่เข้ามารับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี สามารถนำข้อมูลของการวิจัยที่ได้มาพัฒนาปรับปรุงสถาบันของตนเอง
2. ข้อเสนอสำหรับการศึกษาวิจัยครั้งต่อไป
1.2 ในการศึกษาครั้งต่อไปควรจะมีการศึกษาในด้านอื่นๆ เพิ่มขึ้นอีกทั้งในด้านความคิดเห็น ความพึงพอใจ ผลกระทบ ปัญหาต่างๆ ให้ครอบคลุมถึงสภาพของความพึงพอใจของนักศึกษาเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการแก้ไขของทุกฝ่ายต่อไป
1.3 การสร้างแบบสอบถามควรศึกษาให้ดีใช้คำถามที่กระชับ เข้าใจง่าย และเหมาะสมกับผู้ตอบแบบสอบถาม











ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้

1. ผลการวิจัยครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความพึงพอใจของนักศึกษาทีมีต่อการเข้าพักของมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี สามารถนำไปเป็นแนวทางการศึกษาเพื่อที่จะใช้วางแผนในการพัฒนาหอพักให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. ผลการวิจัยยังสามารถแสดงให้เห็นถึงรูปแบบพฤติกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี ที่เข้ามาพักในหอทั้งภายในและภายนอก ซึ่งจะเป็นการนำไปสู่การวางแผนการจัดการที่ดีมากยิ่งขึ้น
3. การที่ได้ทราบถึงความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเข้าพักในหอพักทางมหาวิทยาลัยนั้น ทำให้เห็นว่ามีความจำเป็นอย่างที่ผู้ที่เป็นผู้ประกอบทางด้านนี้หรือสถาบันต่างๆ เองนั้น จะต้องให้ความสำคัญในการศึกษาและติดตามผลเกี่ยวกับความพึงพอใจหลังจากที่มีการเลือกที่จะเข้าพักในหอพักซึ่งหากพบว่าเกิดช่องว่าง ทางสถาบันหรือผู้ประกอบการก็สามารถปรับปรุงคุณภาพ ความสะดวก สบาย ให้เป็นไปตามความต้องการของนักศึกษาเองและบุคคลทั่วไป ซึ่งจะเป็นการลดช่องว่างความพึงพอใจซึ่งจะนำไปสู่ระดับความพึงพอใจมากที่สุด ซึ่งความพึงพอใจเหล่านี้จะก่อให้เกิดความพึงพอใจในการบริการทั้งนี้จะนำไปสู่ความพึงพอใจระยะยาวได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น