วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี ในทัศนคติของประชาชนทั่วไปในเขตเทศบาลนครอุดรธานี

งานวิจัย ปีการศึกษาปี 2550 สาขาวิชานิเทศศาสตร์
ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี ในทัศนคติของประชาชนทั่วไปในเขตเทศบาลนครอุดรธานี
วัตถุประสงค์
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานีในทัศนคติของประชาชนทั่วไปในเขตเทศบาลนครอุดรธานี ในด้านตัวสถาบัน ด้านอาจารย์ ด้านนักศึกษาและด้านการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมในชุมชน
วิธีการดำเนินการวิจัย
ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับภาพลักษณ์
ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการประชาสัมพันธ์
ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับทัศนคติ
ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี
สร้างแบบสอบถามเพื่อศึกษาเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานีในทัศนคติของประชาชนทั่วไปในเขตเทศบาลนครอุดรธานี
เก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างวันที่ 27 มีนาคม 2551 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2551
สรุปผลการวิจัย
ข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม
ด้านเพศของผู้ตอบแบบสอบถาม
พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเพศหญิงมีจำนวนมากที่สุดคือ212 คน(ร้อยละ 53.0) รองลงมาคือเพศชาย มีจำนวน 163 คน(ร้อยละ40.8) และอันดับสุดท้ายคือ เพศที่สาม ได้แก่ ทอม ดี้ เกย์ กระเทย มีจำนวน 25 คน(ร้อยละ6.3)
ด้านอายุ
พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุระหว่าง 16-25 ปี มีจำนวนมากที่สุดคือ 156 คน(ร้อยละ39.0) รองลงมาคืออายุระหว่าง 26 - 35ปี มีจำนวน101 คน(ร้อยละ25.3) อายุระหว่าง 36 - 45 ปี มีจำนวน 73 คน (ร้อยละ18.3) อายุระหว่าง 46 - 55 ปี มีจำนวน 43 คน(ร้อยละ10.8) อายุต่ำกว่า 15 ปี มีจำนวน 16 คน(ร้อยละ4.0) และอายุ 56 ปีขึ้นไปมีจำนวน 11 คน(ร้อยละ2.8) ตามลำดับ
ด้านสถานภาพ
พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีสถานภาพโสดมากที่สุด คือ มีจำนวน 248 คน (ร้อยละ62.0)รองลงมาคือมีสถานภาพสมรส จำนวน 128 คน(ร้อยละ32.0) และสุดท้ายคืออย่าร้าง/หม้าย จำนวน 24 คน(ร้อยละ6)

ด้านการศึกษา
พบว่า มีผู้ตอบแบบสอบถามที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีมากที่สุด คือ จำนวน 160 คน(คิดเป็นร้อยละ40.0) รองลงมาคือระดับปวส./อนุปริญญาหรือเทียบเท่า มีจำนวน 84 คน (คิดเป็นร้อยละ21.0) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช.หรือเทียบเท่า มีจำนวน 62 คน(ร้อยละ15.5) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 37 คน(ร้อยละ9.3) ระดับประถมศึกษาจำนวน 31 คน(ร้อยละ7.8) ระดับปริญญาโทจำนวน 24 คน(ร้อยละ6.0) ระดับปริญญาเอก และอื่นๆ จำนวนอย่างละ1คน(ร้อยละ0.3)
ด้านอาชีพ
พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นนักเรียน/นักศึกษา มีจำนวน 108 คน (ร้อยละ27.0) รองลงมา คือ ลูกจ้าง /พนักงานบริษัท/รัฐวิสาหกิจ จำนวน 95 คน (ร้อยละ23.8) อาชีพรับราชการ จำนวน 69 คน(ร้อยละ17.3) ประกอบธุรกิจส่วนตัว จำนวน 68 คน (ร้อยละ17.0) ไม่ได้ประกอบอาชีพ จำนวน 25 คน(คิดเป็นร้อยละ6.3) รับจ้างจำนวน 15 คน (ร้อยละ3.8) เกษตรกร จำนวน 14 คน(ร้อยละ3.5) และอื่นๆจำนวน 6 คน (ร้อยละ1.5)
ด้านรายได้
พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีรายได้ 4,001-8,000 บาท มีจำนวนมากที่สุดคือ 129 คน (ร้อยละ32.3) รองลงมาคือผู้ตอบแบบสอบถามที่มีรายได้น้อยกว่า 4,000 บาท มีจำนวน 77 คน (ร้อยละ19.3) รายได้ 8,001-1,200 บาท จำนวน 74 คน (ร้อยละ18.5)รายได้ 12,001-16,000 บาท สุดท้ายคือ รายได้ 16,001-20,000 บาท มีจำนวน 22คน (ร้อยละ5.5)
การรับรู้ข่าวสารของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี
การเคยได้รับข่าวสารข้อมูลข่าวสาร
พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม เคยได้รับข้อมูลข่าวสารของมหาวิทยาลัยฯ มีจำนวน 345 คน (ร้อยละ86.3)ส่วนผู้ตอบแบบสอบถามที่ไม่เคยได้รับข้อมูลข่าวสารของมหาวิทยาลัยฯ มีจำนวน 55 คน (ร้อยละ13.8)
การเคยติดตามข้อมูลข่าวสาร
พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเคยติดตามข้อมูลข่าวสารของมหาวิทยาลัยฯ มีจำนวน 243 คน (ร้อยละ60.8)ส่วนผู้ตอบแบบสอบถามที่ไม่เคยติดตามข้อมูลข่าวสารของมหาวิทยาลัยฯ มีจำนวน 157 คน (ร้อยละ39.3)

ด้านความสนใจข้อมูลข่าวสารการประชาสัมพันธ์
พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีความสนใจข้อมูลข่าวสารของมหาวิทยาลัยฯ มีจำนวน 317 คน (ร้อยละ79.3) ส่วนผู้ตอบแบบสอบถามที่ไม่สนใจข้อมูลข่าวสารของมหาวิทยาลัยฯ มีจำนวน 83 คน (ร้อยละ20.8
การได้ทราบว่ามหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี มีการประชาสัมพันธ์หลากหลายช่องทาง
พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่ไม่ทราบว่ามหาวิทยาลัยฯมีการประชาสัมพันธ์หลากหลายช่องทางมีจำนวน203 คน(ร้อยละ50.8)และผู้ตอบแบบสอบถามที่ทราบว่ามหาวิทยาลัยฯ มีการประชาสัมพันธ์หลากหลายช่องทาง มีจำนวน 196 คน (ร้อยละ 49)

ช่องทางในการได้รับข่าวสารการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามได้รับทราบข้อมูลข่าวสารจากนักเรียน/นักศึกษา/เจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยฯ มีจำนวน 242 คน (ร้อยละ60.5) จากป้ายประชาสัมพันธ์ จำนวน 231 คน (ร้อยละ57.8) จากอินเตอร์เน็ต จำนวน 162 คน (ร้อยละ40.5) สถานีวิทยุทั่วไปและสถานีวิทยุชุมชนของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จำนวน 137 คน (ร้อยละ34.3) สถานีวิทยุโทรทัศน์ทั่วไปและสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่น จำนวน 105 คน (ร้อยละ26.3) วารสาร/แผ่นพับ/ใบปลิว/สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ จำนวน 81 คน (ร้อยละ20.3) รถแห่โฆษณา จำนวน 10 คน (ร้อยละ2.5) และอื่นๆ จำนวน 9 คน (ร้อยละ2.3)
การเข้าถึงและครอบคลุมกลุ่มประชากรในท้องถิ่น
พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่เห็นว่าการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยฯไม่สามารถเข้าถึงและไม่ครอบคลุมกลุ่มประชากรในท้องถิ่น มีจำนวน 219 คน(ร้อยละ54.8) และผู้ที่เห็นว่าการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยฯ เข้าถึงและครอบคลุมกลุ่มประชากรในท้องถิ่น มีจำนวน 181 คน (ร้อยละ45.3)
ด้านการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยฯ
พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่เห็นว่าการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยฯ ควรปรับปรุง มีจำนวน 208 คน(ร้อยละ52.0) และผู้ที่เห็นว่าดีแล้วมีจำนวน 192 คน (ร้อยละ48.0)

ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ด้านตัวสถาบัน
พบว่า ความเหมาะสมของสถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัยฯ มีค่าเฉลี่ย 4.06 (จัดอยู่ในระดับดี) สภาพของอาคารเรียนละสิ่งก่อสร้างต่างๆ มีค่าเฉลี่ย 3.90 (จัดอยู่ในลำดับดี) ความสะดวกในการเดินทาง ไปยังมหาวิทยาลัยฯ มีค่าเฉลี่ย 3.76 (จัดอยู่ในระดับดี)สภาพภูมิทัศน์โดยรวมของมหาวิทยาลัยฯร่มรื่นสวยงาม มีค่าเฉลี่ย 3.66 (จัดอยู่ในระดับดี) เป็นสถาบันที่มีชื่อเสียงน่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับจากสังคม มีค่าเฉลี่ย 3.65(จัดอยู่ในระดับดี) หลักสูตรการเรียนการสอนที่หลากหลายและเหมาะสม มีค่าเฉลี่ย 3.55 (จัดอยู่ในระดับดี) สื่ออุปกรณ์การเรียนการสอนอย่างเพียงพอและทันสมัย มีค่าเฉลี่ย 3.50 (จัดอยู่ในระดับดี) ความสะดวกสบายในการติดต่อราชการกับมหาวิทยาลัยฯ มีค่าเฉลี่ย 3.11 (จัดอยู่ในระดับปานกลาง)
ด้านอาจารย์
พบว่า การแต่งกายสุภาพเหมาะสม มีค่าเฉลี่ย 3.73 (จัดอยู่ในระดับดี) มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีค่าเฉลี่ย 3.72 (จัดอยู่ในระดับดี) พูดจาดี สุภาพเรียบร้อยค่าเฉลี่ย 3.68(จัดอยู่ในระดับดี)การวางตัวเหมาะสมของอาจารย์ ค่าเฉลี่ย 3.65(จัดอยู่ในระดับดี)มีคุณธรรมในการประกอบอาชีพ ค่าเฉลี่ย 3.59 (จัดอยู่ในระดับดี)มีความทันสมัย วิสัยทัศน์กว้าง ทันสมัย ค่าเฉลี่ย 3.58 (จัดอยู่ในระดับดี)
ด้านนักศึกษา
พบว่า มีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าคิดกล้าแสดงออกในทางที่ถูกที่ควร ค่าเฉลี่ย 3.52(จัดอยู่ในระดับดี) มีมนุษยสัมพันธ์ดีค่าเฉลี่ย 3.49 (จัดอยู่ในระดับปานกลาง) มีความรับผิดชอบและขยันหมั่นเพียร ค่าเฉลี่ย 3.41 (จัดอยู่ในระดับปานกลาง) มีคุณภาพไม่ด้อยกว่านักศึกษาของสถาบันอื่น ค่าเฉลี่ย 3.36 (จัดอยู่ในระดับปานกลาง) ตั้งใจใฝ่ศึกษาเรียนรู้ ค่าเฉลี่ย 3.35 (จัดอยู่ในระดับปานกลาง)แต่งกายสุภาพ ค่าเฉลี่ย 3.23 (จัดอยู่ในระดับ ปานกลาง) พูดจาสุภาพ มีความอ่อนน้อมถ่อมตนมีความประพฤติเรียบร้อย ค่าเฉลี่ย 3.21 (จัดอยู่ในระดับปานกลาง) ประพฤติเป็นตัวอย่างที่ดีของเยาวชนในชุมชน ค่าเฉลี่ย 3.17 (จัดอยู่ในระดับปานกลาง)
ด้านการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมในชุมชน
พบว่า ข้อมูลข่าวสารมีสาระและเป็นประโยชน์ต่อคนในสังคม/ชุมชน ค่าเฉลี่ย 3.43 (จัดอยู่ในระดับดี) ข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่มีความชัดเจนถูกต้อง แม่นยำ และน่าเชื่อถือ ค่าเฉลี่ย 3.41 (จัดอยู่ในระดับดี) มีความรับผิดชอบต่อสังคม ตลอดจนมีบทบาทในการร่วมพัฒนาชุนชน ค่าเฉลี่ย 3.39 (จัดอยู่ในระดับปานกลาง) ให้ความร่วมมือสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆในชุมชน/สังคมค่าเฉลี่ย 3.38(จัดอยู่ในระดับปานกลาง) มีความ เป็นกลางในการมีส่วนร่วมกิจกรรมต่างๆของชุมชน/สังคม ค่าเฉลี่ย 3.38 (จัดอยู่ในระดับปานกลาง) มีความประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข่าวสารของมหาวิทยาลัยออกสู่สังคม/ชุมชน ค่าเฉลี่ย 3.34 (จัดอยู่ในระดับปานกลาง)มีการนำเสนอข่าวสารผ่านสื่อต่างๆได้หลากหลายช่องทาง ค่าเฉลี่ย 3.33 เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับรู้ข่าวสารต่างๆและแสดงความคิดเห็นต่อมหาวิทยาลัยได้อย่างเสรี ค่าเฉลี่ย 3.29(จัดอยู่ในระดับปานกลาง)รูปแบบการนำเสนอข่าวสารน่าสนใจและทันสมัย ค่าเฉลี่ย 3.27 (จัดอยู่ในระดับปานกลาง)มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆอย่างต่อและเหมาะสม ค่าเฉลี่ย 3.26 (จัดอยู่ในระดับปานกลาง)ข่าวสารการประชาสัมพันธ์ต่างๆของมหาวิทยาลัยสามารถเข้าถึงประชาชนได้ เป็นจำนวนมาก ค่าเฉลี่ย 3.17 (จัดอยู่ในระดับปานกลาง) ประชาชนทั่วไปสามารถรับทราบข้อมูลข่าวสารต่างๆของมหาวิทยาลัยฯได้อย่างสะดวก ง่ายดาย และรวดเร็ว ค่าเฉลี่ย 3.12 (จัดอยู่ในระดับปานกลาง)
สิ่งที่ได้จากงานวิจัยชิ้นนี้
ทำให้ทราบถึงแนวทางในการคิดสร้างสรรค์งานวิจัยชิ้นต่อไป
ได้ทราบถึงวิธีการในการสร้างงานวิจัย ซึ่งมีขั้นตอนต่างๆ ที่ปรากฏในงานวิจัย
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีในทัศนคติของประชาชนทั่วไปในเขตเทศบาลนครอุดรธานี ซึ่งผู้วิจัยก็ได้สรุปผลการวิจัย โดยการจำแนกข้อมูลในด้านต่างๆ อย่างละเอียด เช่น การให้ข้อมูลจากการสำรวจในด้านตัวสถาบัน ด้านอาจารย์ ด้านนักศึกษาและ ด้านการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมในชุมชน แล้วนำมาจัดลำดับข้อมูล
ได้ทราบข้อสรุปเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานีในทัศนคติของประชาชนทั่วไปในเขตเทศบาลนครอุดรธานี ในด้านต่างๆว่าประชาชนทั่วไป มีความคิดอย่างไรกับมหาวิทยาลัย เช่น ในด้านตัวสถาบัน ด้านอาจารย์ ด้านนักศึกษาและด้านการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมในชุมชน
ได้ทราบว่ามหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานีมีคุณภาพมากน้อยเพียงใดจากข้อมูลการสำรวจของงานวิจัย

วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

รายงานการวิจัยเรื่อง พฤติกรรมและการใช้ประโยชน์จากการใช้โปรแกรมสนทนาบนอินเทอร์เน็ตของนักเรียนนักศึกษาในเขตเทศบาลนครอุดรธานี

ชื่องานวิจัย
รายงานการวิจัยเรื่อง พฤติกรรมและการใช้ประโยชน์จากการใช้โปรแกรมสนทนาบนอินเทอร์เน็ตของนักเรียนนักศึกษาในเขตเทศบาลนครอุดรธานี


วัตถุประสงค์
๑. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้โปรแกรมสนทนาบนอินเทอร์เน็ตของนักเรียนนักศึกษาในจังหวัดอุดรธานี
๒. เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากโปรแกรมสนทนาบนอินเทอร์เน็ตของนักเรียนนักศึกษาในจังหวัดอุดรธานี

วิธีการดำเนินการวิจัย
คณะผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ โดยดำเนินการวิจัยตามลำดับขั้นตอน ดังนี้
๑. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรการวิจัย ได้แก่ นักเรียนนักศึกษาในเขตเทศบาลนครอุดรธานี
๑.๑ กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้วิธีเทียบกับจากตารางสำเร็จของเคร็กกีและมอร์แกน โดยกำหนดความเชื่อมั่น 95% เมื่อจำนวนประชากรเท่ากับ 142,445 คน จำนวนตัวอย่างควรจะเป็นจำนวนไม่ต่ำกว่า 384 คน และเพื่อให้การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นไปเท่าเทียมกันและเป็นสัดส่วนจึงใช้จำนวนตัวอย่าง 400 คน
๑.๒ พิจารณาจากร้านอินเทอร์เน็ตที่ตั้งอยู่ใกล้สถานศึกษา ในถนนสายหลัดต่างๆ ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี คณะผู้วิจัยได้กำหนดวิธีการสุ่มตัวอย่างการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก โดยเลือกสุ่มจากถนนต่างๆ 5 สาย ได้แก้ ถนนทหาร ถนนหมากแข้ง ถนนศรีสุข ถนนโพธิ์ศรี และถนนประจักษ์
๑.๓ กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนนักศึกษาในเขตเทศบาลนครอุดรธานี จำนวน 400 คน ที่มีอายุระหว่าง 13 – 22 ปีขึ้นไป





๒. เครื่องมือในการวิจัย
ในการสร้างเครื่องมือใช้ในการวิจัย มีขั้นตอนที่สำคัญดังนี้
๒.๑ ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแบบสอบถาม
๒.๒ นำผลการศึกษาข้อ 1 มากำหนดและสร้างแบบสอบถาม
๒.๓ นำแบบสอบถามเสนออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อตรวจแก้ไขตามข้อเสนอแนะของอาจารย์ที่ปรึกษา
๒.๔ แก้ไขแบบสอบถามก่อนนำไปใช้จริง
๒.๕ นำเครื่องมือไปทดลองใช้
๒.๖ นำผลการทดลองที่ใช้มาปรับปรุงเครื่องมือให้มีประสิทธิภาพ
๒.๗ จัดพิมพ์เครื่องมือสอบถามเพื่อใช้เก็บข้อมูล


๓. การเก็บรวบรวมข้อมูล
๓.๑ ดำเนินการเก็บข้อมูล โดยให้ประชากรตอบแบบสอบถามด้วยตัวเอง
๓.๒ ตรวจสอบความถูกต้อง ลงรหัสและนำไปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์


๔. เกณฑ์การให้คะแนนเพื่อการวิเคราะห์
การกำหนดค่าคะแนนคำตอบที่ได้จากแบบสอบถามในการวะดตัวแปรที่ต้องการในเรื่องของการนำไปใช้ประโยชน์ได้ถือตามเกณฑ์ของบุญชม (บุญชม ศรีสะอาด , 2538 : 55-64)
วิธีการตรวจให้คะแนนข้อความด้านบวก
มากที่สุด ตรวจให้ 5 คะแนน
มาก ตรวจให้ 4 คะแนน
ปานกลาง ตรวจให้ 3 คะแนน
น้อย ตรวจให้ 2 คะแนน
น้อยที่สุด ตรวจให้ 1 คะแนน






๕. การประมวลผลข้อมูล
หลังจากเก็บข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ผู้วิจัยจะทำการลงรหัสข้อมูล แล้วนำผลที่ได้ไปประมวลเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC

๖. การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลจะกระทำดังนี้
การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ใช้สถิติวิเคราะห์เชิงพรรณนา คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการนำเสนอข้อมูลในตาราง เพื่ออธิบายข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกลุ่มตัวอย่าง


สรุปผลการวิจัย
แบ่งได้ ดังนี้
๑. ลักษณะทางประชากรศาสตร์
๒. พฤติกรรมของนักเรียนนักศึกษาที่ใช้อินเทอร์เน็ต
๓. ความคิดเห็นต่อการใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตของนักเรียนนักศึกษา



สิ่งที่ได้รับจากงานวิจัย
๑. ทำให้ทราบถึงแนวทางการป้องกันการใช้โปรแกรมสนทนาบนอินเทอร์เน็ตที่อาจเป็นภัยต่อตนเองและสังคมได้
๒. ทำให้ทราบถึงปัญหาและผลกระทบของนักเรียนนักศึกษาที่ใช้โปรแกรมสนทนาบนอินเทอร์เน็ต
๓. ทำให้ทราบถึงการใช้โปรแกรมสนทนาบนอินเตอร์เน็ตของนักเรียนนักศึกษา






น.ส.รุ่งทิวา ดวงตาผา 4/1 รหัส 50040001101

เรื่อง ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเข้าพักในหอพัก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

เรื่องความพึ่งพอใจของนักศึกษาต่อการเข้าพักในหอพัก มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี


วัตถุประสงค์ในการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้ การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่ได้เข้าพักในหอพักมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี คณะผู้วิจัยได้สุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาที่ได้เข้ามาพักในหอพักมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี และได้สรุปผลอภิปรายผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ ดังต่อไปนี้
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าพักหอพักของทางมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี
2. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรค์เกี่ยวกับการเข้าพักในหอพักของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี
3. เพื่อศึกษาหาแนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค์ในการเข้าพักในหอพักของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี




วิธีการดำเนินการวิจัย


ในการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาในการเข้าพักในหอพักของมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี มีการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้
เป็นการวิจัยเชิงศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่เข้ามาพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีกลุ่มนักศึกษาเป็นเป้าหมายคือกลุ่มนักศึกษา ชาย/หญิง ทุกชั้นปีที่เข้าพักในหอพักของมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี โดยแบ่งเป็นหอชาย 100 และหอหญิง 100 วิธีสุ่มตัวอย่างใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple sampling) การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม (Question are) ประกอบด้วยคำถาม 3 กลุ่ม






การวิจัย เรื่อง ความพึงพอใจของนักศึกษาที่เข้าพักในหอพัก มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี การวิจัยครั้งนี้มี วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่เข้าพักในหอพัก มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี และนำข้อมูลที่ได้ จากการสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษามาวิเคราะห์ผลกระทบเพื่อเอาไปปรับปรุงพัฒนาหอพักให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
- ประชากร
- กลุ่มตัวอย่าง
- วิธีการสุ่มตัวอย่าง
3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย
3.3 ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือวิจัย
3.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล
3.5 การแปรผล – การวิเคราะห์ข้อมูล
3.6 เกณฑ์ที่ใช้ในการแปรผล
3.7 สถิติที่ใช้ในการวิจัย

3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

3.1.1 ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือนักเรียนและนักศึกษาที่เข้าพักในหอพักในจังหวัด อุดรธานี
3.1.2 กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย นักศึกษาที่เคยพักในหอพัก มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี จำนวน 200 คน ประกอบด้วย นักศึกษาที่พักในหอพักชาย จำนวน 100 คน นักศึกษาที่พักอยู่ในหอพักหญิง จำนวน 100 คน

กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย

ตัวอย่าง จำนวน
นักศึกษาที่พักในหอพักใน มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี (หอพักชาย) 100
นักศึกษาที่พักในหอพักใน มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี (หอพักหญิง) 100


3.1.3วิธีการสุ่มตัวอย่าง
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างในลักษณะแบบเฉพาะเจาะจงในการเลือกกลุ่มนักศึกษาที่เข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานีทั้งหอพักชายและหอพักหญิง เพราะมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการทำวิจัยในครั้งนี้

3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย

ผู้ทำวิจัยได้สร้างแบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประเภทปลายปิด/เปิด ที่ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เลือกตามที่ผู้วิจัยกำหนดซึ่งผู้วิจัยได้ทางแบบสอบถามขึ้นเอง โดยศึกษาจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะเรื่องความพึงพอใจของนักศึกษาที่เข้าพักในหอพักใน มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี แบบสอบถามประกอบด้วย 3 ตอน
ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม (ข้อมูลด้านประชากร) ซึ่งเกี่ยวกับ เพศ อายุ คณะศึกษาและภูมิลำเนา
ตอนที่ 2 ความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี จำนวน 13 ข้อ
ตอนที่ 3 ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี จำนวน 16 ข้อ
ข้อคิดเห็นต่อการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี จำนวน 2 ข้อ

3.3 ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างและพัฒนาเครื่องมือ ตามกรอบความคิดของการวิจัย มีขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยดังนี้
1. ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฏีเอกสาร ตำรา บทความทางวิชาการ ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2. กำหนดกรอบ เนื้อหา ความคิด และขอบข่ายในการสร้างเครื่องมือ จัดเป็นโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย เพื่อสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการวิจัยเสนออาจารย์ที่ปรึกษา
3. เครื่องมือการวิจัยนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษา
4. ทำแบบสอบถามความคิดเห็นที่ผ่านการตรวจมาปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์
5. สร้างเครื่องมือฉบับที่สมบูรณ์





3.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล


นำแบบสอบถาม จำนวน 200 ชุด ไปเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาที่พักในในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี และนักศึกษาที่พักในหอพักใน จ.อุดรธานี พร้อมรวบรวมแบบสอบถามทั้งหมด 200 ชุด โดยที่ผู้วิจัยควบคุมดารเก็บรวบรวมข้อมูลทุกขั้นตอน




3.5 การแปรผล – การวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ วิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป PC* เพื่อหาค่าสถิติดังต่อไปนี้
3.5.1 ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเข้าพักในหอพักใน มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี แบบสอบรายการ นำมาแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ
3.5.2 ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามเกี่ยวกับความหลากหลายของความคิดเห็นเกี่ยวกับการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี เป็นแบบตรวจสอบรายการ นำมาแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ
3.5.3 ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคต่อการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี นำมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
3.5.4 ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี ทำการรวบรวมและสรุปความคิดเห็น




3.6 เกณฑ์ที่ใช้ในการแปรผล

ในการวัดความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี ที่เกี่ยวกับความรู้สึกที่มีต่อคุณภาพบริการของสถานที่พัก การรับสื่อ รวมทั้งองค์ประกอบต่างๆ และประโยชน์หรือสิ่งต่างๆ ที่ได้รับจากการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี โดยใช้อัตราส่วนประมาณค่า (Raitng Scale) วัดแบบกำหนดเกณฑ์คะแนน ดังนี้


กำหนดคะแนนดังนี้

น้อยที่สุด = 1 คะแนน
น้อย = 2 คะแนน
ปานกลาง = 3 คะแนน
มาก = 4 คะแนน
มากที่สุด = 5 คะแนน


การแปลความหมายเพื่ออธิบายความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี ที่ได้จากแบบสอบถาม แบบมาตรส่วนประมาณค่าพิจารณาจากระดับค่าเฉลี่ยตามเกณฑ์ 5 ระดับ ดังต่อไปนี้

ค่าเฉลี่ย 4.51 – 5.00 หมายถึง ระดับความพึงพอใจมากที่สุด
ค่าเฉลี่ย 3.51 – 4.50 หมายถึง ระดับความพึงพอใจมาก
ค่าเฉลี่ย 2.51 – 3.50 หมายถึง ระดับความพึงพอใจปานกลาง
ค่าเฉลี่ย 1.51 – 2.50 หมายถึง ระดับความพึงพอใจน้อย
ค่าเฉลี่ย 1.00 – 1.50 หมายถึง ระดับความพึงพอใจน้อยที่สุด



3.7 สถิติที่ใช้ในการวิจัย

โปรแกรม SPSS for window มีดังนี้
สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) เป็นสถิติประเภทร้อยละ และค่าเฉลี่ยต่างๆ ดังนี้
- คุณลักษณะทางประชากรศาสตร์
- ความหลากหลายในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี
- ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่เข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี
- ปัญหาและอุปสรรคของนักศึกษาในเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี




ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี

แสดงค่าเฉลี่ยเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ส่วนใหญ่ความพึงพอใจระดับมากในการมีบริเวณจอดรถที่เหมาะสม ค่าเฉลี่ย 3.90 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.71 ระดับความพึงพอใจมากอันดับสอง พอใจในสวนพักผ่อนของทางหอพัก ค่าเฉลี่ย 3.56 ส่วนเบี่ยงเบน 0.31 มีความพึงพอใจระดับปานกลางต่อการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ค่าเฉลี่ย 3.46 ส่วนเบี่ยงเบน 0.34 ความพึงพอใจระดับปานกลางได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างต่อเนื่อง ค่าเฉลี่ย 3.40 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.73 ความพึงพอใจระดับปานกลางหอพักมีความปลอดภัยและ การบริการหอพักมีครบถ้วน ค่าเฉลี่ย 3.26 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.39 ความพึงพอใจระดับปานกลางอยากเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี ค่าเฉลี่ย 2.91 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.91 ความพึงพอใจระดับปานกลางกับห้องพักและเพื่อนร่วมห้องของตน ค่าเฉลี่ย 2.90 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.43 ความพึงพอใจระดับปานกลางได้รับความสะดวกสบายต่อการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี ค่าเฉลี่ย 2.86 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.53 ความพึงพอใจระดับปานกลางโดยรวมของภาพรวมองค์ประกอบทั้งหมด ค่าเฉลี่ย 2.81 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.52 ความพึงพอใจระดับปานกลางค่าห้องพักของหอพักใน มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี มีความเหมาะสม ค่าเฉลี่ย 2.74 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.55 ความพึงพอใจระดับปานกลางหอพักใน มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี มีระบบการให้บริการที่ทันสมัย ค่าเฉลี่ย 2.72 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.58 ความพึงพอใจระดับปานกลางนักศึกษามีความพึงพอใจกับสวัสดิการ ค่าเฉลี่ย 2.71 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.56 ความพึงพอใจระดับปานกลางนักศึกษามีความพึงพอใจกับกิจกรรมพัฒนาคุณภาพภายในหอพัก ค่าเฉลี่ย 2.71 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.55 ความพึงพอใจระดับปานกลางนักศึกษามีส่วนร่วมกับกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ที่ทางหอจัดขึ้น ค่าเฉลี่ย 2.71 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.53 ความพึงพอใจระดับปานกลางนักศึกษาได้รับและใช้บริการจากหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี ค่าเฉลี่ย 2.70 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.51 ความพึงพอใจระดับปานกลางนักศึกษาพอใจกับสภาพแวดล้อมบริเวณหอพักใน มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี ค่าเฉลี่ย 2.51 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.58




สรุปผลการวิจัย

จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวกับพฤติกรรมในความพึงพอใจในการพักหอพัก ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี พบประเด็นที่สมควรแก่การอภิปรายมีดังนี้





1. ข้อมูลส่วนตัว

ทำให้ทราบว่านักศึกษาที่เข้ามาพักในหอพักนั้นมีทั้งเพศชายและเพศหญิง มีอายุระหว่าง 18 – 21 ปี ส่วนใหญ่เป็นคณะมนุษย์ศาสตร์ และพักหอที่ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี เป็นประจำส่วนใหญ่จะมาจากต่างอำเภอ

2. ข้อมูลความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวการเข้าพักในหอพักมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี

ข้อมูลนักศึกษาที่เข้ามาพักในหอพักมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี สามารถวิเคราะห์หาข้อมูลความคิดเห็นของนักศึกษาเหล่านนี้ได้ว่า ความคิดเห็นของนักศึกษานั้นก่อนที่จะได้เข้ามาพักในหอของทางมหาวิทยาลัย ได้รับข้อมูลการเข้าพักจากหน่วยงานประชาสัมพันธ์ของทางมหาวิทยาลัยมากที่สุด นั้นทำให้ได้รู้ว่านักศึกษาเหล่านี้ได้เปิดรับสื่อทางด้านใดกันบ้าง ความต้องการที่จะพักต่อห้องนั้นนักศึกษาที่เข้ามาพักคิดว่าการที่ห้องพักหนึ่งห้องมีนักศึกษาพักรวมกัน 4 คน นั้นถือว่าเยอะเกินไปข้อมูลเหล่านี้ล้วนแล้วแต่สำคัญทั้งสิ้น จากการวิจัยพบว่า การที่มหาวิทยาลัยบังคับให้นักศึกษาเข้าพักนั้นส่วนใหญ่จะพักอยู่ 1 ปีการศึกษาหรือตามที่บังคับเอาไว้เท่านั้น และยังทราบถึงความต้องการของนักศึกษาเหล่านี้ว่ามีความต้องการด้านใดบ้างทั้งความต้องการภายในและภายนอก ความต้องการภายในอย่างเช่น เครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่อยู่ในห้อง และความต้องการภายนอก เช่น สถานที่จอดรถหรือสวนย่อมต่างๆ เป็นต้น อีกทั้งยังต้องการกิจกรรมเสริมต่างๆ ที่ทางหอพักจัดขึ้นหรือทางมหาวิทยาลัยจัดขึ้นทั้งข้อมูลเหล่านี้ ยังสามารถช่วยให้ทราบการตัดสินใจของนักศึกษาได้ง่ายยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นตัวบ่งบอกถึงภาพลักของมหาวิทยาลัยอีกด้วย

3. ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเข้าพักในหอพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี

นักศึกษามีความพึงพอใจที่เข้าพักในหอพักที่ทางมหาวิทยาลัยจัดให้นั้น มีหลายเหตุผลที่จะเป็นตัวตัดสินว่า จะเข้านานมากน้อยขนาดไหนนั้น ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจในด้านต่างๆ อย่างเช่นด้านสภาพแวดล้อมต้องมีสภาพแวดล้อมที่ดี มีที่จอดรถที่เหมาะสมและมีกฎเกณฑ์ที่ดีต่อนักศึกษาและภายในหอพักนั้นก็ควรมีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อที่จะเป็นแรงจูงใจ ให้กับนักศึกษาเหล่านี้ เพื่อที่จะเป็นการสร้างความประทับใจให้กับนักศึกษาอีกทั้งยังเป็น การส่งเสริมภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยไปในทางที่ดีขึ้นและยังทำให้ผู้ปกครองของนักศึกษาเหล่านี้ได้ให้ความเชื่อมั่นกับทางมหาวิทยาลัยในการดูแลบุตรหลานของตนเอง ยังเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือและเป็นการยกระดับไปสู่สากลในอนาคตได้






สิ่งที่ได้จากการวิจัยเรื่องนี้

จากการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่เข้ามาพักในมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี ผลการวิจัยทำให้ทราบถึงความพึงพอใจของนักศึกษาที่เข้าพักในหอพักมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง พัฒนา และแก้ไขส่วนที่บกพร่องต่างๆ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาที่ดีขึ้น ดังนั้นควนมีการศึกษาความต้องการของนักศึกษาที่เข้ามาพักในหอพักของทางมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี และควรให้รายละเอียดเกี่ยวกับการเข้าพักในหอพักอย่างชัดเจนเพื่อที่จะได้ความชัดเจนแก่นักศึกษามากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะทำให้นักศึกษาปรับตัวและเข้าใจกฎระเบียบที่ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี ได้ตั้งไว้ทั้งนี้ เพื่อให้นักศึกษาได้ความรู้ความเข้าใจมากขึ้นในการเตรียมตัวที่จะเข้ามาพักในหอพักของทาง มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี







ข้อเสนอแนะจากการศึกษาวิจัย

1. ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการวิจัยไปใช้
1.1 หน่วยงานหรือสถาบันที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยต่างๆ สามารถรู้ถึงความต้องการหรือความพึงพอใจ ในด้านต่างๆ ของนักศึกษาที่เข้ามารับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี สามารถนำข้อมูลของการวิจัยที่ได้มาพัฒนาปรับปรุงสถาบันของตนเอง
2. ข้อเสนอสำหรับการศึกษาวิจัยครั้งต่อไป
1.2 ในการศึกษาครั้งต่อไปควรจะมีการศึกษาในด้านอื่นๆ เพิ่มขึ้นอีกทั้งในด้านความคิดเห็น ความพึงพอใจ ผลกระทบ ปัญหาต่างๆ ให้ครอบคลุมถึงสภาพของความพึงพอใจของนักศึกษาเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการแก้ไขของทุกฝ่ายต่อไป
1.3 การสร้างแบบสอบถามควรศึกษาให้ดีใช้คำถามที่กระชับ เข้าใจง่าย และเหมาะสมกับผู้ตอบแบบสอบถาม











ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้

1. ผลการวิจัยครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความพึงพอใจของนักศึกษาทีมีต่อการเข้าพักของมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี สามารถนำไปเป็นแนวทางการศึกษาเพื่อที่จะใช้วางแผนในการพัฒนาหอพักให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. ผลการวิจัยยังสามารถแสดงให้เห็นถึงรูปแบบพฤติกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี ที่เข้ามาพักในหอทั้งภายในและภายนอก ซึ่งจะเป็นการนำไปสู่การวางแผนการจัดการที่ดีมากยิ่งขึ้น
3. การที่ได้ทราบถึงความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเข้าพักในหอพักทางมหาวิทยาลัยนั้น ทำให้เห็นว่ามีความจำเป็นอย่างที่ผู้ที่เป็นผู้ประกอบทางด้านนี้หรือสถาบันต่างๆ เองนั้น จะต้องให้ความสำคัญในการศึกษาและติดตามผลเกี่ยวกับความพึงพอใจหลังจากที่มีการเลือกที่จะเข้าพักในหอพักซึ่งหากพบว่าเกิดช่องว่าง ทางสถาบันหรือผู้ประกอบการก็สามารถปรับปรุงคุณภาพ ความสะดวก สบาย ให้เป็นไปตามความต้องการของนักศึกษาเองและบุคคลทั่วไป ซึ่งจะเป็นการลดช่องว่างความพึงพอใจซึ่งจะนำไปสู่ระดับความพึงพอใจมากที่สุด ซึ่งความพึงพอใจเหล่านี้จะก่อให้เกิดความพึงพอใจในการบริการทั้งนี้จะนำไปสู่ความพึงพอใจระยะยาวได้